Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ
ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ (อังกฤษ: Essential Hypertension) หรือ ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (อังกฤษ: Primary Hypertension) เป็นความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน เป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ราวร้อยละ 95 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด มีแนวโน้มที่จะเป็นกรรมพันธุ์ และน่าจะเป็นผลจากความสัมพันธ์ซับซ้อนระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ความชุกของความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุเพิ่มขึ้นตามอายุ และผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงเมื่ออายุน้อยจะมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงของโรคสมอง หัวใจ และไตตามมา
การจำแนกความรุนแรง
การจำแนกประเภทความดันเลือดโดย JNC7 | ||||
---|---|---|---|---|
ประเภท | ความดันช่วงหัวใจบีบ (Systolic pressure; SBP) |
ความดันช่วงหัวใจคลาย (Diastolic pressure; DBP) |
||
มม.ปรอท (mmHg) |
กิโลปาสกาล (kPa) |
มม.ปรอท (mmHg) |
กิโลปาสกาล (kPa) |
|
ปกติ | 90–119 | 12–15.9 | 60–79 | 8.0–10.5 |
ก่อนความดันโลหิตสูง | 120–139 | 16.0–18.5 | 80–89 | 10.7–11.9 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 | 140–159 | 18.7–21.2 | 90–99 | 12.0–13.2 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 | ≥160 | ≥21.3 | ≥100 | ≥13.3 |
ความดันโลหิตเฉพาะ ช่วงหัวใจบีบสูง |
≥140 | ≥18.7 | <90 | <12.0 |
การจำแนกประเภทความดันเลือดโดย ESH-ESC BHS IV และสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย | |||
---|---|---|---|
ประเภท | ความดันช่วงหัวใจบีบ (มม.ปรอท) |
ความดันช่วงหัวใจคลาย (มม.ปรอท) |
|
เหมาะสม | <120 | และ | <80 |
ปกติ | 120–129 | และ/หรือ | 80–84 |
ปกติค่อนสูง | 130–139 | และ/หรือ | 85–89 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 | 140–159 | และ/หรือ | 90-99 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 | 160-179 | และ/หรือ | 100-109 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 3 | ≥180 | และ/หรือ | ≥110 |
ความดันโลหิตเฉพาะ ช่วงหัวใจบีบสูง |
≥140 | และ/หรือ | <90 |
การจำแนกความรุนแรงของความดันเลือดออกในปัจจุบันเป็นความดันเลือดปกติ ก่อนความดันโลหิตสูง (prehypertension) ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 และ 2 และความดันโลหิตเฉพาะช่วงหัวใจบีบสูง (isolated systolic hypertension) ที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ การอ่านค่าความดันใช้ค่าเฉลี่ยของการวัดความดันโลหิตในท่านั่งที่สบายและควรวัดอย่างน้อย 2 ครั้งที่มาตรวจในระยะเวลาที่ห่างกัน ในผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี จะวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูงเมื่อมีความดันเลือดมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ 2 หรือโรคไตและมีความดันโลหิตมากกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอทควรได้รับการรักษา
ความดันโลหิตสูง "ชนิดดื้อ" (resistant) หมายถึงการใช้ยาไม่สามารถลดความดันเลือดกลับมาอยู่ในระดับปกติได้หลังจากใช้ยา 3 ชนิด แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงชนิดดื้อได้รับการตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
แหล่งข้อมูลอื่น
- ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ ที่เว็บไซต์ Curlie
- สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย
- แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555 โดยสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2014-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
หลอดเลือดแดง หลอดเลือดแดงย่อย และหลอดเลือดฝอย |
|
||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หลอดเลือดดำ |
|
||||||||||||||||
Arteries or veins | |||||||||||||||||
ความดันเลือด |
|
||||||||||||||||
|