Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

คาร์ดิแอกไกลโคไซด์

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โอลีนดริน (Oleandrin) หนึ่งในสารกลุ่มคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ที่พบในยี่โถ

คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ (อังกฤษ: Cardiac Glycoside) เป็นสารในกลุ่มสเตอรอยด์ไกลโคไซด์จากธรรมชาติ มักพบในเมตาบอลึซึมขั้นที่สองของพืชหรือเป็นสารอินทรีย์ทุติยภูมิ โครงสร้างโดยทั่วไปประกอบด้วยสองส่วน คือส่วนอะไกลโคนที่มีคาร์บอนเป็นองคร์ประกอบทั้ง 23 อะตอมที่เรียกว่าคาร์ดีโนไลด์ (Cardinolide) และ 24 อะตอม เรียกว่าบูฟาดีอีโนไลด์ (Bufanolide) และส่วนน้ำตาลที่มีตำแหน่งพันธะและโครงสร้างแตกต่างกันไปในหลายรูปแบบ

คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ช่วยออกฤทธิ์ต่อการเพิ่มแรงบีบของหัวใจ ทำให้มี cardiac output ดีขึ้นในผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย และลดอาการบวมน้ำลงได้ ทั้งนี้ต้องมีการควบคุมปริมาณยาในเลือดอย่างใกล้ชิด เนื่องจากระดับยาที่ต่ำที่สุดที่ให้ผลทางการรักษามีความใกล้เคียงกับระดับต่ำสุดที่ทำให้เกิดพิษอย่างมาก อาจส่งผลต่อการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจหรือหยุดเต้นได้

คาร์ดิแอกไกลด์โคไซด์สามารถตรวจสอบได้โดยใช้วิธีการของ Liebermann-Burchard test และพบได้ทั่วไปในธรรมชาติโดยเฉพาะในวงศ์สำคัญคือวงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) และวงศ์นมตำเลีย (Asclepiadaceae) ตัวอย่างพืชที่มีสารกลุ่มนี้เป็นองค์ประกอบในประเทศไทยได้แก่ แย้มปีนัง, รำเพย, ยี่โถ, รัก เป็นต้น

โครงสร้าง

คาร์ดิแอกไกลโคไซด์มีลักษณะโครงสร้างโดยทั่วไปเหมือนไกลโคไซด์ทั่วไป นั่นคือมีส่วนอะไกลโคนและน้ำตาล แต่เนื่องจากคาร์ดิแอกไกลโคไซด์เป็นสารจำพวกสเตอรอยด์ไกลโคไซด์ประเภทหนึ่ง จึงมีเสตียรอยด์นิวเคลียส (steroid nucleus) เป็นอีกหนึ่งแกนกลางและมีส่วนของแลกโตนริงที่ไม่อิ่มตัว (unsaturated lactone ring) ต่อกับคาร์บอนตำแหน่ง 17 ของเสตียรอยด์นิวเคลียส และมีน้ำตาลอาจอยู่ในรูปของ Normal sugars พวกกลูโคสและ deoxy-sugar เช่นดิจิทูโซส (Digitoxose) ต่อในตำแหน่งต่าง ๆ

คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ยังจำแนกสารออกเป็นสองกลุ่มตามส่วนอะไกลโคน ได้แก่ คาร์ดิโนไลด์ (Cardenolide) เป็นคาร์ดิแอกไกลโคไซด์มี alpha,beta-unsaturated-gamma-lactone ring (5-membered lactone ring) เป็นส่วนประกอบและบูฟาโนไลด์ (Bufanolide) เป็นคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ที่ประกอบด้วย diene-sigma-lactone ring (6-membered lactone ring)

ประวัติ

คาร์ดิแอกไกลโคไซด์มีการใช้มานานตั้งแต่ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งมีการใช้พืชในกลุ่มที่มีคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ในหลายรูปแบบ อาทิ การนำไปทำเป็นธนูอาบยาพิษ, ยาช่วยอาเจียน, ยาระบาย และโรคหัวใจ ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในผู้ป่วยภาวะหัวใจวายโดยเพิ่มแรงบีบของหัวใจเพื่อให้มีระยะพักเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีพิษของสารกลุ่มนี้ยังคงเป็นปัญหาสืบเนื่องถึงปัจจุบัน การใช้ยาของสารกลุ่มนี้จึงต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์และเภสัชกร


Новое сообщение