Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ

พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
พลานทาร์ฟาสซีอีทิส
ชื่ออื่น โรครองช้ำ, Plantar fasciosis, plantar fasciopathy, jogger's heel, heel spur syndrome
PF-PainAreas.jpg
บริเวณที่พบอาการปวดบ่อยที่สุดในพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ
สาขาวิชา ออร์โธพีดิกส์, แพทยศาสตร์การกีฬา, ศัลยศาสตร์พลาสติก, พอเดียทริกส์
อาการ อาการเจ็บปวดในส้นเท้าและใต้เท้า
การตั้งต้น ค่อยเป็นค่อยไป
สาเหตุ ไม่ทราบชัดเจน
ปัจจัยเสี่ยง การใช้งานมากเกิน (เช่นยืนนาน), โรคอ้วน, การโพรเนทเท้า
วิธีวินิจฉัย ตามอาการ, อัลตราซาวด์
โรคอื่นที่คล้ายกัน โรคข้อกระดูกอักเสบ, ankylosing spondylitis, heel pad syndrome, reactive arthritis
การรักษา จัดการแบบอนุรักษ์
ความชุก ~4%

พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือ พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้า(อังกฤษ: plantar fasciitis) หรือ โรครองช้ำ เป็นโรคที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดที่ส้นเท้าและฝ่าเท้า ส่วนใหญ่จะเจ็บมากที่สุดในการลงน้ำหนักที่เท้าครั้งแรกของวันหลังตื่นนอนหรือหลังจากการได้พักเป็นระยะเวลาหนึ่ง อาการเจ็บอาจถูกกระตุ้นได้โดยการกระดกเท้าขึ้น และอาจเจ็บมากขึ้นกรณีที่ผู้ป่วยมีเอ็นร้อยหวายที่แข็งตึง อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะค่อยๆ เป็น ผู้ป่วยหนึ่งในสามจะเป็นที่เท้าทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่ภาวะนี้ไม่ทำให้มีไข้และไม่ทำให้มีเหงื่อออกตอนกลางคืน

สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญเช่นการยืนนานๆ การออกกำลังกายมาก และความอ้วน นอกจากนี้ยังพบว่าสัมพันธ์กับการมีเท้าบิดเข้าใน และพฤติกรรมที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย แม้จะมีการพบปุ่มงอกกระดูกส้นเท้าร่วมกับภาวะนี้บ่อยครั้งแต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าปุ่มงอกนี้มีบทบาทในการทำให้เกิดภาวะนี้หรือไม่ ภาวะพังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้านี้ถือเป็นโรคของจุดเกาะเส้นเอ็นที่มีการฉีกขาดขนาดเล็ก คอลลาเจนเสื่อมสภาพ และเกิดแผลเป็น ดังนั้นการอักเสบจึงมีบทบาทน้อยในการเกิดภาวะนี้ จึงมีการเสนอให้เปลี่ยนชื่อภาวะนี้จาก plantar fasciitis เป็น plantar fasciosis ("โรคของพังผืดที่ฝ่าเท้า") การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำได้โดยการอาศัยประวัติและผลการตรวจร่างกาย บางครั้งอาจทำอัลตราซาวนด์ช่วยในการวินิจฉัย ภาวะอื่นๆ ที่อาจมีอาการคล้ายกันได้เช่น โรคข้อเสื่อม กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด กลุ่มอาการแผ่นไขมันฝ่าเท้า โรคข้อแบบปฏิกิริยา เป็นต้น

ภาวะนี้ส่วนใหญ่หายได้โดยใช้เวลาและการรักษาแบบอนุรักษ์ ในช่วงสองถึงสามสัปดาห์แรกแพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยพักการใช้เท้า เปลี่ยนกิจกรรม ใช้ยาแก้ปวดเมื่อจำเป็น และยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น หากยังบรรเทาอาการไม่ได้อาจพิจารณาทางเลือกอื่น เช่น กายภาพบำบัด การใช้กายอุปกรณ์ การดาม หรือการฉีดสเตียรอยด์ เป็นต้น หากยังไม่ได้ผลอีก อาจจำเป็นต้องพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการรักษาด้วยคลื่นกระแทก


แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение