Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ภาวะหูไวเกิน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ภาวะหูไวเกิน (Hyperacusis)
สาขาวิชา โสตศอนาสิกวิทยา

ภาวะหูไวเกิน (อังกฤษ: Hyperacusis) เป็นความผิดปกติทางการได้ยินที่สร้างความพิการ โดยคนไข้จะไวเสียงที่ความถี่หนึ่ง ๆ เพิ่มขึ้นคือสามารถทนต่อเสียงที่ความถี่นั้น ๆ ได้น้อยลง คนไข้ที่มีอาการรุนแรงอาจมีปัญหาทนต่อเสียงในชีวิตประจำวันไม่ได้ คือเสียงบางอย่างอาจจะรู้สึกดังอย่างไม่น่าชอบใจ โดยที่คนอื่นก็ไม่ได้เป็นด้วย ภาวะหูไวเกินมักจะเกิดร่วมกับอาการเสียงในหู โดยทั้งสองมีความชุกที่ประมาณ 10-15% และมีการเสียการได้ยินเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก อย่างไรก็ดี ก็ยังมีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างกลไกของอาการทั้งสอง

อาการ

อาการก็คือเจ็บปวดหู รำคาญ และทนไม่ได้โดยทั่วไปต่อเสียงหลายอย่างที่คนโดยมากไม่รู้สึกเป็นไร การร้องไห้อย่างยับยั้งไม่ได้และความตื่นตระหนกอาจเป็นผลของเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกเช่นนั้น อาการอาจเกิดที่หูข้างเดียวหรือหูทั้งสองข้าง อาจเกิดร่วมกับการมีเสียงในหู อาจมีผลเป็นความวิตกกังวล ความเครียด และความกลัวเสียง การหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมต่าง ๆ บ่อยครั้งจะเป็นการตอบสนองเพื่อป้องกันผลของอาการ แล้วทำให้คนไข้หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม

เหตุ

เหตุสามัญที่สุดของอาการนี้ก็คือการได้รับเสียงดังมากเกินไป แต่บางคนก็อาจเริ่มมีอาการอย่างฉับพลันหลังจากใช้ยาที่ทำให้หูไว มีโรคไลม์ โรคเมนิแยร์ บาดเจ็บที่ศีรษะ หรือได้รับการผ่าตัด บางคนอาจจะเกิดมาไวเสียง, เกิดโรค superior canal dehiscence syndrome, มีประวัติติดเชื้อที่หู, หรือมีประวัติปัญหาการได้ยินในครอบครัว

ยาที่มีผลต่อจิตใจเช่น แอลเอสดี, methaqualone, หรือเฟนไซคลิดีน ก็อาจเป็นเหตุของอาการด้วย และยาปฏิชีวนะคือซิโปรฟลอกซาซินก็พบว่าเป็นเหตุอย่างหนึ่ง

ภาวะอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กัน

อาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะหูไวเกินรวมทั้ง

กลไกทางสรีรภาพ-ประสาท

กระบวนการปรับการตอบสนองของประสาทที่สำคัญต่อการได้ยินเชื่อว่า จะทำงานบิดเบือนไปเมื่อได้รับข้อมูลเสียงที่ผิดปกติจากหูชั้นใน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหูชั้นในเสียหายและมีผลให้เสียการได้ยิน

ระดับความดังที่รู้สึกไม่สบาย (LDL) ของกลุ่มคนไข้ภาวะหูไวเกินที่ไม่เสียการได้ยิน (เส้นบน) ขีดเริ่มเปลี่ยนการได้ยินปกติ (เส้นล่างยาว) LDL ของคนไข้กลุ่มนี้ (เส้นล่างสั้น) LDL ของคนปกติ

วินิจฉัย

วิธีการตรวจสอบพื้นฐานจะคล้าย ๆ กับการตรวจการได้ยินธรรมดา (audiogram) แต่ที่ต่างก็คือนอกจากกจะวัดขีดเริ่มเปลี่ยนการได้ยินที่เสียงความถี่ต่าง ๆ ก็ยังวัดระดับเสียงดังที่ทำให้รู้สึกไม่สบายที่ความถี่เหล่านั้นด้วย เป็นระดับที่เรียกว่า loudness discomfort level (LDL, ระดับความดังที่รู้สึกไม่สบาย) หรือ uncomfortable loudness level (ULL) ในคนไข้อาการหูไวเกิน ระดับนี้จะต่ำกว่าคนปกติพอสมควร และปกติจะเป็นตลอดพิสัยการได้ยินโดยมาก

การรักษา

การรักษาวิธีหนึ่งก็คือ การให้ฟังเสียงแบบแถบความถี่กว้าง เป็นการรักษาที่เรียกว่า retraining therapy เป็นวิธีที่ได้มาจากการรักษาเสียงในหู คือ Tinnitus retraining therapy อนึ่ง เสียงแบบพิงก์ (pink noise) ก็สามารถใช้ได้ด้วยเหมือนกัน

การฟังเสียงแถบความถี่กว้างค่อย ๆ แต่ละวันตามระยะที่กำหนด อาจทำให้ทนเสียงต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้ แม้อาจจะไม่สามารถฟื้นสภาพได้อย่างสมบูรณ์ แต่อาการก็อาจดีขึ้นอย่างสำคัญ โดยเฉพาะถ้าทำพร้อมกับการบำบัดจิตใจด้วย

วิธีอีกอย่างหนึ่งก็คือการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) ซึ่งสามารถร่วมใช้กับ retraining therapy

คนไข้ผู้มีชื่อเสียง

วลาดิมีร์ เลนิน ผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิสต์คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต หัวหน้าพรรคบอลเชวิก นายกรัฐมนตรีคนแรกและเป็นเจ้าของแนวคิดส่วนใหญ่ในลัทธิเลนิน ได้รายงานว่าป่วยหนักในปลายปี ค.ศ. 1921 โดยมีอาการหูไวเสียง ปวดหัว และนอนไม่หลับเป็นประจำ

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Andersson, David M. Baguley, Gerhard (2007). Hyperacusis : mechanisms, diagnosis, and therapies. San Diego: Plural Pub. ISBN 978-1597561044.
  • "Decreased Sound Tolerance", by Pawel J. Jastreboff and Margaret J Jastreboff, in: "Tinnitus: theory and management", ed. James Byron Snow, 2004,

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค

Новое сообщение