Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ภาวะเป็นพิษคาร์บอนมอนอกไซด์
ภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์พิษ (Carbon monoxide poisoning) | |
---|---|
ชื่ออื่น | ภาวะพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide intoxication), ความเป็นพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon monoxide toxicity), การได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์เกินขนาด (carbon monoxide overdose) |
โมเลกุลของคาร์บอนมอนอกไซด์ | |
สาขาวิชา | พิษวิทยา, การแพทย์ฉุกเฉิน |
อาการ | ปวดหัว, วิงเวียน, อ่อนแรง, อาเจียน, เจ็บแน่นหน้าอก, สับสน |
ภาวะแทรกซ้อน | ขาดการรับรู้, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ชัก |
สาเหตุ | การหายใจคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไป |
วิธีวินิจฉัย | ระดับคาร์บอกซิล-เฮโมโกลบิน: 3% (ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่) 10% (ผู้ที่สูบบุหรี่) |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | การเป็นพิษจากไซยาไนด์, คีโตเอซิดอซิสจากแอลกอฮอล์, ภาวะพิษแอสไพริน, ติดเชื้อที่ท่อหายใจตอนบน |
การป้องกัน | ตัวตรวจจับคาร์บอนมอนอกไซด์, ช่องระบายอากาศของอุปกรณ์แก๊ส, การดูแลรักษาระบบถ่ายเวียนอากาศ |
การรักษา | รักษาตามอาการ, บำบัดด้วยออกซิเจน 100%, บำบัดด้วยไฮเปอร์บาริกออกซิเจน |
พยากรณ์โรค | โอกาสเสี่ยงเสียชีวิต 1–31%. |
ความชุก | เข้าห้องฉุกเฉิน >20,000 กรณี ซึ่งไม่เกี่ยวกับเพลิงไหม้ต่อปี (สหรัฐอเมริกา) |
การเสียชีวิต | >400 ต่อปี ซึ่งไม่เกี่ยวกับเพลิงไหม้ (สหรัฐอเมริกา) |
ภาวะพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ (อังกฤษ: Carbon monoxide poisoning) โดยทั่วไปแล้วเกิดจากการหายใจเอาคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เข้าไปในปริมาณที่มากเกิน อาการที่แสดงออกมักอธิบายว่า "คล้ายหวัด" และโดยทั่วไปมักประกอบด้วยปวดหัว, วิงเวียน, อ่อนแรง, อาเจียน, เจ็บแน่นหน้าอก และ มึนงง หากได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ในจำนวนมากอาจทำให้เสียการรับรู้, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ชัก, จนถึงเสียชีวิต ลักษณะ "ผิวแดงเป็นผลเชอรี่" (cherry red skin) ที่นิยมใช้อธิบายภาวะนี้ที่จริงพบได้ยาก ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวอาจมีอาการเหนื่อย, ความทรงจำมีปัญหา, และการเคลื่อนไหวผิดปกติ ในกรณีที่พบว่าได้รับควันบุหรี่นั้น ควรต้องพิจารณากรณีการเป็นพิษจากไซยาไนด์ไปด้วย
ภาวะพิษคาร์บอนมอนอกไซด์อาจเกิดได้โดยบังเอิญ ทั้งในกรณีของความพยายามฆ่าตัวตายหรือความพยายามฆ่าผู้อื่น คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและไม่มีกลิ่นซึ่งไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองในระยะแรก คาร์บอนมอนอกไซด์นั้นเกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของสารอินทรีย์ อาจพบในทั้งยานยนต์, เครื่องทำความร้อน ไปจนถึงอุปกรณ์ทำครัวที่ใช้เชื้อเพลิงกลุ่มคาร์บอน นอกจากคาร์บอนมอนอกไซด์แล้ว ภาวะพิษนี้ยังเกิดจากการได้รับเมธิลีนคลอไรด์เช่นกัน คาร์บอนมอนอกไซด์ หลัก ๆ ทำให้เกิดผลกระทบในทางอันตราย (adverse effects) ผ่านการจับกับเฮโมโกลบิน เป็นคาร์บอกซีเฮโมโกลบิน (HbCO) ซึ่งกันไม่ให้เลือดขนส่งออกซิเจนได้ นอกจากนี้ไมโยโกลบิน และ ไซโทโครมออกซิเดสในไมโทคอนเดรีย ล้วนได้รับผลกระทบ การวินิจฉัยโรคใช้ผลจากการตรวจระดับ HbCO ซึ่งจะอยู่ที่สูงกว่า 3% ในผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ และสูงกว่า 10% ในผู้ที่สูบบุหรี่
ความพยายามในการป้องกันภาวะพิษนี้ประกอบด้วยเครื่องตรวจจับคาร์บอนมอนอกไซด์, ระบบการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสมของอุปกรณ์แก๊ส, การทำความสะอาดปล่องไฟอย่างสม่ำเสมอ และการตรวจสอบการทำงานของระบบถ่ายเทอากาศในยานพาหนะให้ปลอดภัยอยู่เสมอ การดูแลรักษาอาการภาวะพิษนั้นทำได้โดยการใช้ออกซิเจน 100% บำบัด ควบคู่ไปกับการรักษาตามอาการ โดยทั่วไปจะรักษาต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าไม่แสดงอาการและระดับ HbCO ลดต่ำลงกว่า 10% ในขณะที่อาจมีการใช้การบำบัดด้วยไฮเปอร์บาริกออกซิเจนในกรณีที่ร้ายแรง โอกาสเสี่ยงเสียชีวิตของผู้ที่ประสบภาวะพิษนี้อยู่ที่ 1 ถึง 30%
แหล่งข้อมูลอื่น
- Centers for Disease Control and Prevention (CDC) – Carbon Monoxide – NIOSH Workplace Safety and Health Topic
- International Programme on Chemical Safety (1999). Carbon Monoxide เก็บถาวร 2018-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Environmental Health Criteria 213, Geneva: WHO
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
สารอนินทรีย์ |
|
||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สารอินทรีย์ |
|
||||||||||
ยาและเภสัชภัณฑ์ |
|
||||||||||
สารชีวภาพ (รวมถึง พิษสัตว์, ชีวพิษ, ภาวะอาหารเป็นพิษ) |
|
||||||||||
อื่นๆ | |||||||||||
|