Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

มะเร็งกล่องเสียง

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
มะเร็งกล่องเสียง
(Laryngeal cancer)
Tumor Laryngis-01.jpg
ภาพส่องกล้องของมะเร็งกล่องเสียง
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10 C32.c
ICD-9 161
NCI มะเร็งกล่องเสียง
MeSH D007822

มะเร็งกล่องเสียง (อังกฤษ: laryngeal cancer, cancer of the larynx, laryngeal carcinoma) เป็นมะเร็งของ squamous cell ซึ่งเป็นเซลล์เยื่อบุผิวในร่างกายอย่างหนึ่งในสามอย่าง โดยมะเร็งอาจเกิดที่ส่วนไหนก็ได้ของกล่องเสียง และความสำเร็จในการรักษาจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็ง ในการจัดระยะโรค กล่องเสียงจะแบ่งตามกายวิภาคออกเป็น 3 ส่วนคือ

  • ชุดสายเสียง (glottis) รวมสายเสียงแท้ แนวเชื่อม (commissure) ทั้งด้านหน้าด้านหลัง
  • เหนือชุดสายเสียง (supraglottis) รวมทั้งฝากล่องเสียง, arytenoids, aryepiglottic folds, และสายเสียงไม่แท้
  • ใต้ชุดสายเสียง (subglottis)

มะเร็งกล่องเสียงโดยมากจะเกิดที่ชุดสายเสียง ตามด้วยมะเร็งเหนือชุดสายเสียง และท้ายสุด มะเร็งใต้ชุดสายเสียง

มะเร็งกล่องเสียงอาจกระจายต่อไปยังโครงสร้างใกล้ ๆ แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้ ๆ ที่คอ หรือแพร่กระจายตามกระแสเลือดไปที่ไกล ๆ การแพร่กระจายแบบไกลไปยังปอดจะสามัญที่สุด ในปี 2013 มันทำให้คนไข้เสียชีวิต 88,000 รายโดยเพิ่มจาก 76,000 รายในปี 1990 อัตราการรอดชีวิตหลัง 5 ปีในสหรัฐอยู่ที่ 60%

อาการ

อาการของมะเร็งกล่องเสียงจะขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของก้อนมะเร็ง อาการอาจรวม

  • เสียงแหบและการเปลี่ยนแปลงเสียงอื่น ๆ
  • มีก้อนที่คอ
  • เจ็บคอหรือรู้สึกว่ามีอะไรติดอยู่ที่คอ
  • ไอเรื้อรัง
  • หายใจมีเสียงฮื๊ดเป็นเสียงแหลมที่แสดงว่า ทางเดินลมแคบลงหรือถูกขัดขวาง
  • ลมหายใจเหม็น
  • เจ็บหู (เป็นอาการปวดต่างที่)
  • กลืนลำบาก

การรักษาอาจทำให้ลักษณะภายนอกเปลี่ยนไปในภายหลัง ทานอาหารลำบาก และไม่มีเสียงซึ่งทำให้ต้องหัดพูดโดยวิธีอื่น

ปัจจัยเสี่ยง

การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดสำหรับโรคนี้ ผู้สูบบุหรี่จัดมีโอกาสเสียชีวิตเพราะโรค 20 เท่าเทียบกับผู้ไม่สูบบุหรี่ การติดสุราก็มีผลสำคัญ และถ้ามีปัจจัยทั้งสอง ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงยิ่งกว่าถ้าเพียงแค่ทั้งสองร่วมกัน และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อ้างจริง ๆ ก็อาจเนื่องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นระยะยาว รวมทั้งทางฐานะทางสังคม-เศรษฐกิจต่ำ เพศชาย และอายุมากกว่า 55 ปี

ผู้ที่มีประวัติมะเร็งที่ศีรษะและคอก็มีความเสี่ยงสูงกว่า (ประมาณ 25%) ในการมีมะเร็งอีกที่ศีรษะ คอ หรือปอด โดยหลักก็เพราะในคนไข้โดยมาก เนื้อเยื่อบุผิวของทางเดินอาหาร-ลมหายใจและของปอดจะได้รับผลก่อมะเร็งของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ในกรณีนี้ เนื้อเยื่อบุผิวอาจจะเจริญผิดปกติ (dysplasia) อย่างกระจายไปทั่ว ทำให้อ่อนแอในการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อร้าย แต่ก็อาจลดความเสี่ยงนี้ได้โดยหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และหยุดสูบบุหรี่

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้อาศัยประวัติคนไข้ การตรวจร่างกาย และวิธีการตรวจอื่น ๆ รวมทั้งเอ็กซ์เรย์หน้าอก เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ เอ็มอาร์ไอ และการตัดเนื้อออกตรวจ การตรวจกล่องเสียงอาจต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทาง

การตรวจร่างกายรวมการตรวจสุขภาพโดยทั่วไปและการสืบหาสภาพต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับโรคและมะเร็งที่ได้กระจายแล้ว แพทย์จะคลำคอเหนือกระดูกไหปลาร้าเพื่อตรวจโรคต่อม ก้อนอื่น ๆ และเสียงกรอบแกรบที่กล่องเสียง ส่องดูช่องปากและคอหอยที่มองเห็นได้โดยตรง ส่วนกล่องเสียงสามารถส่องดูโดยใช้กระจกเล็ก ๆ ที่ติดเป็นมุมกับด้ามยาว (indirect laryngoscopy) คล้ายกับที่ทันตแพทย์ใช้บวกกับแสงสว่าง ซึ่งสามารถมีประสิทธิผลดี แต่แพทย์จะต้องมีฝีมือเพื่อให้ได้ผลที่คงเส้นคงวา เพราะเหตุนี้ แพทย์เฉพาะทางจำนวนหนึ่งปัจจุบันจึงใช้กล้องส่องติดเส้นใยนำแสงชนิดอ่อนงอได้ ซึ่งสอดผ่านจมูกเพื่อให้เห็นคอหอยและกล่องเสียงได้อย่างชัดเจน เป็นหัตถการที่ทำได้ง่ายและเร็วในห้องตรวจ โดยอาจใช้ยาชาเฉพาะที่

ถ้าแพทย์สงสัยว่าอาจมีมะเร็ง ก็จะต้องตัดเนื้อออกตรวจ โดยปกติจะให้ยาสลบ ซึ่งจะเป็นข้อยืนยันทางมิญชวิทยาว่า เป็นมะเร็งประเภทใดและเป็นแค่ไหน และถ้ารอยโรคดูจะเล็กและอยู่เฉพาะที่ แพทย์อาจจะตัดเนื้องอกทั้งหมดออกเมื่อตัดเนื้อออกตรวจในคราวเดียวกัน ในกรณีนี้ พยาธิแพทย์จะไม่เพียงแต่ยืนยันวินิจฉัย แต่สามารถแสดงความเห็นว่า ได้ตัดเนื้องอกออกทั้งหมดแล้วหรือไม่ ในช่วงตัดเนื้องอกออกตรวจ บ่อยครั้งแพทย์จะส่องดูกล่องเสียง ท่อลม และหลอดอาหารทั้งหมด

สำหรับเนื้องอกเล็ก ๆ ที่กล่องเสียง การส่องดูอีกอาจไม่จำเป็น ในกรณีโดยมาก การตรวจระยะของมะเร็งจะทำโดยตรวจดูบริเวณศีรษะและคอทั้งหมด เพื่อดูขนาดของเนื้องอกและต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอที่โตขึ้นผิดปกติ

แผนการรักษาขั้นสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ระยะ (ขนาดเนื้องอก การแพร่กระจายทั้งไกลและใกล้) และประเภทเนื้อเยื่อ โดยพิจารณาสุขภาพและความต้องการของคนไข้ด้วย การแยกแยะโรคแบบ prognostic multigene classifier อาจมีประโยชน์เพื่อแยกแยะมะเร็งกล่องเสียงว่า มีโอกาสเกิดอีกมากหรือน้อย ซึ่งอาจมีผลต่อทางเลือกในการรักษาในอนาคต

ระยะ

เนื้องอกเนื้อเยื่อบุผิวอาจจัดระยะตามแนวทางขององค์กรสหภาพเพื่อควบคุมมะเร็งสากล (UICC) โดยมีเกณฑ์ 3 อย่างคือ ขนาด (T) การแพร่กระจายเฉพาะพื้นที่ (N) และการแพร่กระจายไปในที่ไกล ๆ (M)

ขนาด: T

หมวดนี้พิจารณาขนาดของก้อนเนื้องอกหลัก

เหนือชุดสายเสียง
  • T1 - มีเนื้องอกข้างหนึ่งเหนือชุดสายเสียงโดยสายเสียงยังขยับได้ปกติ
  • T2 - เนื้องอกที่สายเสียงโดยยังไม่ยึดกับกล่องเสียง
  • T3 - เนื้องอกที่กล่องเสียงโดยยึดกับสายเสียง และ/หรือการกระจายเข้าไปยัง postcricoid area ไปยังเนื้อเยื่อก่อนฝากล่องเสียง (preepiglottic) หรือกินเข้าไปในกระดูกอ่อนไทรอยด์
  • T4
    • a - กระจายผ่านกระดูกอ่อนไทรอยด์เข้าไปยังท่อลมและเนื้อเยื่ออ่อนที่คอ/ลิ้น
    • b - กระจายเข้าไปในช่องหน้ากระดูกสันหลัง ไปยังโครงสร้างตรงกลาง หรือไปยังหลอดเลือดแดงแครอทิด
ที่ชุดสายเสียง
  • T1 - สายเสียงยังขยับได้ตามปกติ
    • a - เนื้องอกที่สายเสียงเดียว
    • b - เนื้องอกที่สายเสียงทั้งสอง
  • T2 - เนื้องอกขึ้นไปเหนือหรือใต้ชุดสายเสียง และ/หรือขยับสายเสียงได้อย่างพิการ
  • T3 - เนื้องอกที่กล่องเสียงโดยยึดกับสายเสียง หรือยื่นเข้าไปในช่องข้าง ๆ สายเสียง หรือกินเข้าไปในกระดูกอ่อนไทรอยด์
  • T4
    • a - กระจายผ่านกระดูกอ่อนไทรอยด์เข้าไปยังท่อลมและเนื้อเยื่ออ่อนที่คอ/ลิ้น
    • b - กระจายเข้าไปในช่องหน้ากระดูกสันหลัง ไปยังโครงสร้างตรงกลาง หรือไปยังหลอดเลือดแดงแครอทิด
ใต้ชุดสายเสียง

มีน้อย

การแพร่กระจายเฉพาะพื้นที่ (N)

หมวดนี้พิจารณาการแพร่กระจายเข้าไปในต่อมน้ำเหลืองที่คอใกล้ ๆ กำหนดโดยเส้นผ่าศูนย์กลางที่กว้างสุด

  • N0 - ไม่แพร่กระจาย
  • N1 - แพร่กระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวกันต่อมเดียวโดยมีขนาด ≤ 3 ซม.
  • N2
    • a - แพร่กระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวกันต่อมเดียวโดยมีขนาด > 3 ซม. และ ≤ 6 ซม.
    • b - แพร่กระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวกันหลายต่อมโดยมีขนาด ≤ 6 ซม.
    • c - แพร่กระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองทั้งสองข้างหรือในข้างตรงกันข้ามโดยมีขนาด ≤ 6 ซม.
  • N3 - แพร่กระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองโดยมีขนาด > 6 ซม.

การแพร่กระจายไปในที่ไกล ๆ (M)

หมวดนี้พิจารณาระยะการแพร่กระจายจากเนื้องอกหลัก

  • M0 - แพร่กระจายไปที่ใกล้ ๆ
  • M1 - แพร่กระจายไปที่ไกล

การรักษา

การรักษาจะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิด และระยะของเนื้องอก ซึ่งอาจรวมการผ่าตัด รังสีบำบัด หรือเคมีบำบัด ไม่ว่าจะเดี่ยว ๆ หรือร่วมกัน ซึ่งอาจต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทางด้านต่าง ๆ รวมทั้งหมอหูคอจมูกและหมอโรคมะเร็ง คนไข้ที่มีอาการรุนแรงอาจต้องตัดกล่องเสียง ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด

ในสหรัฐอเมริกา

อุบัติการณ์ของโรคในสหรัฐอยู่ที่ 5 รายต่อประชากรแสนคน หรือมีคนไข้ใหม่ 12,500 คนทุกปีสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (ACS) ประเมินว่าชาย 7,700 คนและหญิง 1,810 คน (รวม 9,510 คน) จะได้วินิจฉัยว่าเป็นโรค และ 3,740 คนจะเสียชีวิตเพราะโรคในปี 2006

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) (NIH) จัดมะเร็งกล่องเสียงว่าเป็นโรคที่มีน้อย คือมีประชากรน้อยกว่า 200,000 คนที่เป็นโรคในสหรัฐ

เชิงอรรถ

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение