Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

มะเร็งลำไส้ใหญ่

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
Stomach colon rectum diagram-th.svg
แผนภาพของทางเดินอาหารส่วนล่าง
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10 C18-C20/C21
ICD-9 153.0-154.1
ICD-O: M8140/3 (95% of cases)
OMIM 114500
DiseasesDB 2975
MedlinePlus 000262
eMedicine med/413 med/1994 ped/3037
NCI มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (รู้จักในชื่อของมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไส้ตรงหรือมะเร็งลำไส้) คือโรคมะเร็งที่เกิดในลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรง (ส่วนของ ลำไส้ใหญ่) เกิดจากการเติบโตอย่างผิดปกติของเซลล์ซึ่งสามารถลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ สัญญาณและอาการของโรคอาจได้แก่การอุจจาระเป็นเลือด การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่เปลี่ยนแปลงไป น้ำหนักลดและมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียตลอดเวลา

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงส่วนใหญ่เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตและอายุที่มากขึ้น รวมทั้งจากความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแต่ปัจจัยนี้จะพบได้ในน้อยราย ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ การรับประทานอาหาร โรคอ้วน การสูบบุหรี่ และการขาดการออกกำลังกาย ปัจจัยที่เกี่ยวกับอาหารซึ่งจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือ การรับประทาน เนื้อแดงและเนื้อที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง และการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งก็คือ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบซึ่งได้แก่ โรคโครห์นและลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ภาวะของความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงบางภาวะได้แก่ ติ่งเนื้องอกที่เกิดจากพันธุกรรม และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบไม่พบติ่งเนื้อ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยจากสาเหตุนี้มีน้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับกลุ่มสาเหตุอื่น ๆ โดยทั่วไปในเบื้องต้นจะพบเนื้องอกชนิดไม่เป็นอันตรายซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อ เมื่อเวลาผ่านไปติ่งเนื้อนี้จะกลายเป็นมะเร็ง

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจทำได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อตัวอย่างที่ตัดจากลำไส้ใหญ่ในระหว่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ส่วนปลายหรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด แล้วตามด้วยขั้นตอนการฉายแสงเพื่อตรวจวิเคราะห์ว่ามีการแพร่กระจายหรือไม่การคัดกรองหรือการตรวจหาโรคก่อนที่จะมีอาการเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อการลดโอกาสของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จึงแนะนำให้มีการเข้ารับตรวจหาโรคเมื่ออายุ 50 ปีและรับการตรวจหาโรคต่อไปจนอายุ 75 ปี ระหว่างการส่องกล้องตรวจสำไส้ใหญ่ทั้งหมดจะมีการตัดติ่งติ่งเนื้อออก ยาแอสไพรินและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ลดความเสี่ยงได้ แต่โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ยาเพื่อวัตถุประสงค์นี้เนื่องจากมีผลข้างเคียง

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอาจใช้วิธีการรักษาแบบผสมวิธีต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ การผ่าตัด การบำบัดด้วยรังสี เคมีบำบัดและการรักษาแบบมุ่งเป้า มะเร็งที่งอกอยู่ในผนังลำไส้ใหญ่อาจรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่หากมีการกระจายของเชื้อมะเร็งไปทั่วแล้วโดยปกติไม่สามารถรักษาได้ด้วยการรักษาแบบเน้นที่การปรับปรุงคุณภาพของชีวิตให้ดีดีขึ้นและการบำบัดตามอาการอัตรารอดที่ห้าปีในประเทศสหรัฐอเมริกามีอยู่ที่ประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามนี่ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้ลุกลามไปมากน้อยเท่าไร ได้รับการผ่าตัดมะเร็งออกไปหรือไม่และสุขภาพโดยรวมของบุคคลนั้น มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับที่สามโดยคิดเป็น 10% จากทั้งหมด ในปี 2012 พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 1.4 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้จำนวน 694,000 ราย โรคนี้มักจะพบได้มากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งคิดเป็นจำนวนที่มากกว่า 65 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง


Новое сообщение