Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ลำไส้เล็กอักเสบจากเชื้อโรตาไวรัส
ลำไส้เล็กอักเสบจากเชื้อโรตาไวรัส (Rotaviral gastroenteritis) | |
---|---|
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแสดงให้เห็นเชื้อโรตาไวรัสชนิดเอจากอุจจาระของผู้ป่วย
| |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | A08.0 |
ICD-9 | 008.61 |
DiseasesDB | 11667 |
MedlinePlus | 000252 |
eMedicine | emerg/401 |
MeSH | D012400 |
ลำไส้เล็กอักเสบจากเชื้อโรตาไวรัส (อังกฤษ: rotavirus enteritis) เป็นสาเหตุของภาวะท้องร่วงรุนแรงในทารกและเด็กเล็กที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการติดเชื้อโรตาไวรัส ซึ่งเป็นจีนัสหนึ่งของไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอสายคู่ในแฟมิลีรีโอวิริดี เด็กแทบทุกคนบนโลกเมื่ออายุครบ 5 ปีจะเคยติดเชื้อโรตาไวรัสมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่ละครั้งที่ติดเชื้อร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้การติดเชื้อครั้งถัดๆ ไปมีความรุนแรงลดลง ทำให้โรคนี้พบได้น้อยในผู้ใหญ่ ไวรัสนี้มีสปีชีส์ย่อยอยู่ 5 สปีชีส์ ได้แก่ เอ บี ซี ดี และอี ที่พบบ่อยที่สุดคือโรตาไวรัส เอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อโรตาไวรัสในมนุษย์ถึง 90%
เชื้อนี้ติดต่อผ่านทางการกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระ เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เล็กที่ติดเชื้อจะถูกทำลายทำให้เกิดกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (บางประเทศนิยมเรียกอาการเช่นนี้ว่า ไข้หวัดใหญ่ลงกระเพาะ (stomach flu) แม้เชื้อนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับเชื้อไข้หวัดใหญ่แต่อย่างใดก็ตาม) เชื้อไวรัสนี้ถูกค้นพบตั้งแต่ ค.ศ. 1973 และเป็นสาเหตุเกือบ 50% ของการเกิดท้องร่วงรุนแรงในทารกและเด็กเล็กที่ถึงขั้นต้องรักษาในโรงพยาบาล อย่างไรก็ดี แม้ในปัจจุบัน ความสำคัญของเชื้อนี้ก็ยังไม่เป็นที่รับทราบแพร่หลายในกลุ่มบุคลากรทางสาธารณสุข โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา นอกจากเชื้อนี้จะส่งผลต่อมนุษย์แล้วยังส่งผลต่อสัตว์ด้วย โดยเฉพาะเป็นเชื้อก่อโรคในปศุสัตว์
โรคติดเชื้อโรตาไวรัสโดยทั่วไปแล้วรักษาได้ไม่ยาก แต่ถึงกระนั้นทั่วโลกก็ยังมีเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อนี้ถึงปีละเกือบ 500,000 คน และป่วยหนักเกือบสองล้านคน แม้ในประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนจะมีโครงการให้วัคซีนโรตาไวรัสอย่างแพร่หลาย จำนวนผู้ป่วยกระเพาะและลำไส้อักเสบรุนแรงจากโรตาไวรัสก็ยังสูงถึงปีละ 2.7 ล้านคน ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล 60,000 และเสียชีวิต 37 คน ยุทธศาสตร์ทางสาธารณสุขที่สำคัญต่อการรับมือโรคนี้คือการบำบัดด้วยการให้สารน้ำชดเชยผ่านการกินในผู้ที่ป่วยแล้ว และการให้วัคซีนต่อโรตาไวรัสเพื่อป้องกันโรคในผู้ที่ยังไม่ป่วย ในประเทศที่มีนโยบายให้วัคซีนต่อโรตาไวรัสเป็นส่วนหนึ่งของวัคซีนมาตรฐานระดับประเทศ ต่างมีอุบัติการณ์และความรุนแรงของการติดเชื้อโรตาไวรัสลงเป็นอย่างมากทั้งสิ้น
อาการและอาการแสดง
โรคลำไส้อักเสบจากโรตาไวรัสเป็นโรคที่มีอาการได้ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ต่ำ อาเจียน และถ่ายเหลวเป็นน้ำ หลังจากติดเชื้อแล้วจะมีระยะฟักตัวประมาณ 2 วันก่อนมีอาการ อาการแรกเริ่มมักเป็นอาการอาเจียน หลังจากนั้นจึงมีอาการถ่ายเหลวอย่างมาก ซึ่งจะเป็นอยู่ 4-8 วัน หลังจากนั้นจึงเริ่มมีอาการดีขึ้นได้เอง สามารถพบภาวะขาดน้ำได้บ่อยกว่าโรคท้องร่วงจากเชื้อแบคทีเรีย และภาวะขาดน้ำนี้เองที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยติดเชื้อโรตาไวรัส
การติดเชื้อโรตาไวรัสชนิดเอสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต โดยการติดเชื้อครั้งแรกมักทำให้เกิดอาการอย่างชัดเจน แต่การติดเชื้อครั้งหลังๆ มักมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลย เนื่องจากร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นจากการติดเชื้อครั้งแรกๆ แล้ว ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อที่มีอาการมักเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และพบน้อยลงๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้นไปจนถึง 45 ปี ส่วนการติดเชื้อในทารกแรกเกิดแม้จะพบบ่อยแต่มักมีอาการเล็กน้อยหรืออาจไม่มีอาการเลย ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากที่สุดจะอยู่ที่ช่วงอายุประมาณ 6 เดือน - 2 ปี ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในผู้ใหญ่ปกติจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนี้แล้วจากการเคยติดเชื้อในวัยเด็ก เมื่อป่วยด้วยอาการท้องร่วงจึงมักเกิดจากเชื้ออื่นที่ไม่ใช่โรตาไวรัส อย่างไรก็ดีผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อโดยไม่มีอาการก็ยังสามารถแพร่เชื้อได้อยู่
พยาธิสรีรวิทยา
โรตาไวรัสนี้ทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ด้วยหลายกลไก การที่เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ถูกทำลายจะทำให้การดูดซึมสารอาหารบกพร่อง สารอาหารที่ไม่ถูกดูดซึมจึงผ่านลำไส้ออกมากลายเป็นอุจจาระร่วง สารพิษโปรตีนบนไวรัสชื่อ NSP4 จะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งคลอไรด์ผ่านไอออนแชนเนล (chloride channel) ทั้งชนิดอิงแคลเซียมไอออน (calcium ion-dependent) และชนิดอิงอายุ (age-dependent), ขัดขวางกระบวนการดูดน้ำกลับผนังลำไส้ที่อาศัยช่องทาง SGLT1 ทรานสพอร์เตอร์, ลดประสิทธิภาพของเอนไซม์ไดแซคคาไรเดสบนเยื่อขนแปรงของเซลล์ผนังลำไส้, และส่วนหนึ่งอาจเป็นจากการกระตุ้นรีเฟลกซ์การหลั่งสารน้ำของระบบประสาทส่วนลำไส้ ผ่านกลไกแบบอิงแคลเซียมไอออน เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ที่ปกติจะหลั่งเอนไซม์แลคเตส เมื่อถูกทำลายจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการไม่ทนต่อน้ำตาลแลคโตสชั่วคราว ซึ่งเป็นอาการสำคัญที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของการติดเชื้อโรตาไวรัส ภาวะนี้อาจคงอยู่ได้หลายสัปดาห์ก่อนจะกลับมาเป็นปกติเมื่อเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เจริญกลับขึ้นมา ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการดีขึ้นแล้วหากกินนมทั่วไปซึ่งมีน้ำตาลแลคโตสอาจมีอาการท้องร่วงได้เล็กน้อย เนื่องจากน้ำตาลแลคโตสที่รับเข้าไปหากไม่ถูกย่อยจนสมบูรณ์ด้วยเอนไซม์แลคเตสของร่างกาย จะถูกย่อยโดยแบคทีเรียผ่านกระบวนการหมัก
ทางเดินอาหารส่วนบน |
|
||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทางเดินอาหารส่วนล่าง: ลำไส้ |
|
||||||||||
เลือดออกใน กระเพาะอาหารและลำไส้/ เลือดในอุจจาระ |
|||||||||||
ต่อมช่วยย่อยอาหาร |
|
||||||||||
ช่องท้องร่วมอุ้งเชิงกราน |
|
||||||||||
|