Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
สถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น

สถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
สถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น
中国科学院武汉病毒研究所
Wuhan Institute of Virology main entrance.jpg
ชื่อย่อ WIV
ก่อนหน้า
  • ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาอู่ฮั่น
  • สถาบันจุลชีววิทยาจีนตอนใต้
  • สถาบันจุลชีววิทยาอู่ฮั่น
  • สถาบันจุลชีววิทยามณฑลหูเป่ย์
ก่อตั้ง พ.ศ. 2499
ผู้ก่อตั้ง เฉิน หฺวากุ่ย (陈华癸), เกา ช่างอิน (高尚荫)
สํานักงานใหญ่ 44 เสี่ยวหงชาน (小洪山中区), เขตอู่ชาง (武昌区), อู่ฮั่น, หูเป่ย์
พิกัด 30°22′35″N 114°15′45″E / 30.37639°N 114.26250°E / 30.37639; 114.26250พิกัดภูมิศาสตร์: 30°22′35″N 114°15′45″E / 30.37639°N 114.26250°E / 30.37639; 114.26250
ผู้อำนวยการใหญ่
หวัง เหยียนอี้ (王延轶)
เลขาธิการคณะกรรมการพรรค
เซี่ยว เกิงฟู่ (肖庚富)
รองผู้อำนวยการใหญ่
กง เผิง (龚鹏), กวน อู่เสียง (关武祥), เซี่ยว เกิงฟู่ (肖庚富)
องค์กรปกครอง
สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
เว็บไซต์ whiov.cas.cn
สถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น
อักษรจีนตัวย่อ 中国科学院武汉病毒研究所
อักษรจีนตัวเต็ม 中國科學院武漢病毒研究所

สถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น, สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (WIV; จีน: 中国科学院武汉病毒研究所) เป็นสถาบันวิจัยที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการวิจัยวิทยาไวรัสพื้นฐานและนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการโดยสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS; จีน: 中国科学院) ตั้งอยู่ในเขตอู่ชาง นครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ได้เปิดดำเนินการห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 (BSL–4) เป็นแห่งแรกของจีนในปี พ.ศ. 2558 สถาบันมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับห้องปฏิบัติการแห่งชาติกัลเวสตัน (GNL; Galveston National Laboratory) ในสหรัฐ, ศูนย์วิจัยโรคติดเชื้อนานาชาติ (CIRI; Centre International de Recherche en Infectiologie) ในฝรั่งเศส และห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาแห่งชาติในแคนาดา

สถาบันแห่งนี้เป็นศูนย์การวิจัยเชิงรุกสำหรับการศึกษาไวรัสโคโรนา จากการระบาดของโรคโควิด-19 มีเรื่องของทฤษฎีสมคบคิดหลายประการอ้างถึงสถาบันเกี่ยวกับต้นกำเนิดของไวรัส อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานสนับสนุนการกล่าวอ้างดังกล่าว

ประวัติ

สถาบันก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2499 ในฐานะห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาอู่ฮั่น ภายใต้สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น (武汉大学) และวิทยาลัยการเกษตรหฺวาจง (华中农学院) ในปี พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งเป็นสถาบันจุลชีววิทยาของจีนตอนใต้ และในปีต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันจุลชีววิทยาอู่ฮั่น ในปี พ.ศ. 2513 เมื่อคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมณฑลหูเป่ย์เข้ามาบริหาร จึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นสถาบันจุลชีววิทยาของมณฑลหูเป่ย์ ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2521 สถาบันได้ถูกโอนคืนไปยัง CAS และเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น

ในปี พ.ศ. 2558 ห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติของสถาบันได้เสร็จสมบูรณ์ในงบประมาณก่อสร้าง 300 ล้านหยวน (44 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยความร่วมมือกับห้องปฏิบัติการ CIRI ของรัฐบาลฝรั่งเศส และเป็นห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 (BSL–4) แห่งแรกที่สร้างขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ การจัดตั้งห้องปฏิบัติการได้รับเงินทุนบางส่วนจากรัฐบาลสหรัฐ และใช้เวลากว่าทศวรรษกว่าจะเสร็จสมบูรณ์หลังจากการริเริ่มแนวคิดในปี พ.ศ. 2546

ห้องปฏิบัติการมีความผูกพันกับห้องทดลองแห่งชาติกัลเวสตัน (GNL) ในสังกัดมหาวิทยาลัยเท็กซัส ของสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาแห่งชาติ (NML; National Microbiology Laboratory) ของแคนาดา

สถาบันเป็นหัวข้อของความขัดแย้งในช่วงเวลาเริ่มมีรายงานการระบาดของโรคโควิด-19 ในปี พ.ศ. 2563 มีการกล่าวอ้างจากนักชีววิทยาในสหรัฐ ว่าสถาบันเป็น "สถาบันวิจัยระดับโลกที่ทำการวิจัยระดับโลกในด้านวิทยาไวรัสและภูมิคุ้มกันวิทยา" และเขาได้ตั้งข้อสังเกตว่า สถาบันเป็นผู้นำในการศึกษาไวรัสโคโรนาในค้างคาว

การวิจัยไวรัสโคโรนา

ในปี พ.ศ. 2548 กลุ่มวิจัยซึ่งนักวิจัยจากสถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่นมีส่วนร่วม ได้ตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดของไวรัสโคโรนาโรคซาร์ส ซึ่งค้นพบว่าค้างคาวสกุล ค้างคาวมงกุฎ ในจีนนั้นเป็นแหล่งรังโรคตามธรรมชาติของไวรัสโคโรนาที่คล้ายคลึงกับโรคซาร์ส (SARS-like) งานวิจัยได้ทำต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี โดยนักวิจัยจากสถาบันได้เก็บตัวอย่างค้างคาวมงกุฎ นับพันตัวอย่างในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศจีน โดยแยกลำดับของสารพันธุกรรมของไวรัสจากค้างคาวได้มากกว่า 300 ลำดับ

ในปี พ.ศ. 2558 ทีมงานนานาชาติซึ่งรวมถึงนักวิทยาศาสตร์สองคนจากสถาบันได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยว่า ประสบความสำเร็จสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสโคโรนาจากค้างคาว (SHC014-CoV) ในเซลล์เฮลา (HeLa) ได้ ทีมวิจัยอ้างว่าได้สร้างไวรัสลูกผสม ซึ่งประกอบไปด้วยไวรัสโคโรนาจากค้างคาวกับไวรัสโรคซาร์ส ซึ่งได้รับการดัดแปลงให้ก่อโรคที่เกิดในมนุษย์ ขึ้นในหนูและเซลล์เลียนแบบระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ (MIMIC) และไวรัสไฮบริดนั้นสามารถติดเชื้อในเซลล์ของมนุษย์ได้

ในปี พ.ศ. 2560 ทีมจากสถาบันประกาศว่าไวรัสโคโรนาที่พบในค้างคาวมงกุฎในถ้ำในมณฑลยูนนานนั้น มีชิ้นส่วนทั้งหมดของรหัสพันธุกรรมของไวรัสโรคซาร์ส ทีมที่ใช้เวลาห้าปีเก็บตัวอย่างค้างคาวในถ้ำได้สังเกตเห็น การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านแห่งหนึ่งห่างออกไปเพียงหนึ่งกิโลเมตร และได้เตือนว่า "มีความเสี่ยงของการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปสู่ผู้คนและอุบัติการณ์ของโรคที่คล้ายกับโรคซาร์ส"

ในปี พ.ศ. 2561 เอกสารจากทีมสถาบันรายงานผลการศึกษาทางวิทยาเซรุ่มของตัวอย่างจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ถ้ำที่อาศัยของค้างคาวเหล่านี้ (ใกล้กับตำบลซีหยาง (夕阳乡) ในเขตจินหนิง เมืองคุนหมิง ยูนนาน) จากรายงานนี้พบว่าจากผู้อาศัยในพื้นที่ทั้งหมด 218 คน มี 6 คนที่มีแอนติบอดีต่อไวรัสโคโรนาจากค้างคาวในตัวอย่างเลือดของพวกเขา ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นไปได้ในการแพร่เชื้อจากค้างคาวสู่คน

การระบาดทั่วของโควิด-19

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 มีการรายงานผู้ป่วยโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรนาต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในนครอู่ฮั่น สถาบันได้ทำการตรวจสอบฐานข้อมูลของไวรัสโคโรนา และพบว่าไวรัสตัวใหม่นั้นมีสารพันธุกรรม 96 เปอร์เซ็นต์ที่เหมือนกับตัวอย่างที่นักวิจัยได้นำมาจากค้างคาวมงกุฎจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน

เมื่อไวรัสแพร่กระจายไปทั่วโลกสถาบันได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานว่าทีมที่นำโดยฉือ เจิ้งลี่ (石正丽) จากสถาบันเป็นคณะแรกที่วิเคราะห์และระบุลำดับทางพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (ขณะนั้นเรียกว่า 2019-nCoV) และอัปโหลดไปยังฐานข้อมูลสาธารณะสำหรับการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก และเผยแพร่เป็นบทความในนิตยสารเนเจอร์ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ห้องปฏิบัติการเผยแพร่จดหมายข่าวบนเว็บไซต์อธิบายว่า พวกเขาประสบความสำเร็จในการถอดรหัสจีโนมของไวรัสทั้งหมดได้อย่างไร: "ในตอนเย็นของวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2562 หลังจากได้รับตัวอย่างจากโรคปอดบวมที่ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมมาจากโรงพยาบาลอู่ฮั่นจินอินถาน (武汉市金银潭医院) สถาบันดำเนินการด้วยความเข้มแข็งตลอดคืนและทำงานต่อเนื่องเป็นเวลา 72 ชั่วโมงเพื่อแก้ปัญหา ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563 ลำดับจีโนมทั้งหมดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้ถูกระบุ" ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 สถาบันได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรในประเทศจีนเพื่อใช้ยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งเป็นยาทดลองที่เป็นของบริษัทกิลเลียด ไซแอนเซส (Gilead Sciences) ซึ่งสถาบันพบว่ามีการยับยั้งไวรัสในหลอดทดลอง เป็นการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา. สถาบันกล่าวว่าจะไม่บังคับใช้สิทธิ์ในสิทธิบัตรใหม่ในประเทศจีน "หากบริษัทต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ตั้งใจจะมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในจีน"

ข้อกังวลในฐานะการเป็นแหล่งกำเนิด

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ทฤษฎีสมคบคิดแพร่หลายในวงสังคมว่าโควิด-19 เป็นโรคระบาดที่เกิดจากไวรัสที่ได้รับการออกแบบโดยสถาบัน WIV ซึ่งได้ถูกหักล้างบนพื้นฐานของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าไวรัสมีต้นกำเนิดจากธรรมชาติ ในช่วงกลางเดือนมกราคมสำนักข่าวกรองของสหรัฐรายงานต่อเจ้าหน้าที่ว่า พวกเขาไม่ได้ตรวจพบสัญญาณเตือนใด ๆ ภายในรัฐบาลจีนที่จะชี้นำให้เกิดการระบาดขึ้นจากห้องปฏิบัติการของรัฐบาล จอช โรกิน (Josh Rogin) เขียนในคอลัมน์ความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ว่า จดหมายข่าวของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในปี พ.ศ. 2561 ได้หยิบยกประเด็นด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับงานวิจัยของสถาบัน WIV เกี่ยวกับการตรวจไวรัสโคโรนาในค้างคาว ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ตามคำร้องขอของเจ้าหน้าที่บริหารของประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ หน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐเริ่มตรวจสอบว่า การระบาดเกิดจากอุบัติเหตุรั่วไหลโดยไม่ตั้งใจโดยนักวิทยาศาสตร์ของสถาบัน WIV ที่ศึกษาไวรัสโคโรนาตามธรรมชาติในค้างคาวหรือไม่ หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลทรัมป์ กำลังกดดันหน่วยงานข่าวกรองเพื่อให้หาหลักฐานสำหรับทฤษฎีที่ไม่ยืนยันว่าไวรัสรั่วจากห้องปฏิบัติการ ซึ่งนำไปสู่ความกังวลในหมู่นักวิเคราะห์ข่าวกรองบางส่วนว่า การประเมินข่าวกรองจะถูกบิดเบือนเพื่อใช้ในการรณรงค์ทางการเมือง เพื่อตำหนิประเทศจีนสำหรับการระบาดของโรค ประธานาธิบดี ทรัมป์ และรัฐมนตรีต่างประเทศ ไมเคิล พอมเพโอ อ้างว่ามีหลักฐานของทฤษฎีแล็บ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม

นักวิทยาไวรัสชั้นนำได้โต้แย้งความคิดที่ว่าเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 รั่วไหลออกมาจากสถาบัน นักวิทยาไวรัส ปีเตอร์ ดาสซัค (Peter Daszak) ประธานองค์กร EcoHealth Alliance (ซึ่งศึกษาโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นใหม่และมีความร่วมมือกับนักวิทยาไวรัสชั้นนำของ WIV เพื่อศึกษาไวรัสโคโรนาในค้างคาว) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในแต่ละปีมีผู้คนหลายล้านคนที่อาศัยหรือทำงานในบริเวณใกล้เคียงกับค้างคาว ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ในการให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ข่าว Vox ดาสซัคให้ความเห็นว่า "อาจมี 6 คนที่ทำงานในห้องปฏิบัติการเหล่านั้นดังนั้นลองเปรียบเทียบจำนวน 1 ถึง 7 ล้านคนต่อปี กับคน 6 คน มันไม่สมเหตุสมผล" จานนา แมเซต์ (Jonna Mazet) ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส และผู้อำนวยการโครงการ PREDICT ซึ่งเป็นโครงการเฝ้าระวังไวรัสที่เกิดขึ้นใหม่ได้แสดงความคิดเห็นว่า เจ้าหน้าที่ของสถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่นได้รับการฝึกอบรมจากนักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ PREDICT และมีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่มีความปลอดภัยสูง เธอกล่าวว่า "หลักฐานทั้งหมดชี้ให้เห็นว่านี่ไม่ใช่อุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ"

ศูนย์วิจัย

สถาบันประกอบด้วยศูนย์วิจัยดังต่อไปนี้:

  • ศูนย์วิจัยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (新发传染病研究中心)
  • ศูนย์ทรัพยากรไวรัสจีนและชีวสารสนเทศ (中国病毒资源与生物信息中心)
  • ศูนย์วิจัยจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อมและการประยุกต์ (应用环境与微生物研究中心)
  • ห้องปฏิบัติการชีวเคมีวิเคราะห์และเทคโนโลยีชีวภาพ (分析生物技术研究室)
  • ห้องปฏิบัติการวิทยาไวรัสโมเลกุล (分子病毒学研究室)

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น



Новое сообщение