Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

หล่อฮังก๊วย

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
หล่อฮังก๊วย
Fructus Momordicae.jpg
ผลหลอฮังก๊วยสด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Cucurbitales
วงศ์: Cucurbitaceae
วงศ์ย่อย: Cucurbitoideae
เผ่า: Joliffieae
เผ่าย่อย: Thladianthinae
สกุล: Siraitia
สปีชีส์: S.  grosvenorii
ชื่อทวินาม
Siraitia grosvenorii
(Swingle) C.Jeffrey ex A.M.Lu & Zhi Y.Zhang
ชื่อพ้อง
  • Momordica grosvenorii Swingle
  • Thladiantha grosvenorii (Swingle) C.Jeffrey

หล่อฮังก๊วย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Siraitia grosvenorii) เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) เป็นพืชพื้นเมืองของทางตอนใต้ของจีนและภาคเหนือของไทย

หล่อฮังก๊วยจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ผลของหล่อฮังก๊วยมีลักษณะกลมเหมือนไข่เป็ด มีเปลือกแข็งล้อมรอบเนื้อผลไม้แต่มีความเปราะ ในช่วงที่ยังไม่สุกผลจะมีสีเขียวและเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสีเขียวเข้มแกมดำและผลจะรีลง ในการแพทย์แผนจีนจะนำผลของหล่อฮังก๊วยไปตากแห้งหรือลนไฟจนแห้ง จากนั้นจะทำการเคาะหากใช้ได้แล้วจะมีเสียงกังวาน สามารถนำมาต้มหรือผสมกับจับเลี้ยงเพื่อปรุงเครื่องดื่มแก้ร้อนในได้

ชื่อ

"หล่อฮังก๊วย" มาจากภาษาจีนซึ่งสำเนียงกลางว่า "หลัวฮั่นกั่ว" (จีน: 羅漢果; พินอิน: luóhàn guǒ) คำว่า "หลัวฮั่น" กร่อนจาก "อาหลัวฮั่น" (จีน: 阿羅漢; พินอิน: āluóhàn) ซึ่งทับศัพท์จากสันสกฤตว่า "อรฺหนฺต" และชื่อในภาษาสันสกฤตของหล่อฮั่งก๊วย คือ "อรฺหนฺตผล" แปลว่า ผลไม้ของอรหันต์

ชื่อสามัญของหล่อฮังก๊วยในภาษาอังกฤษ คือ arhat fruit, Buddha fruit, monk fruit หรือ longevity fruit ส่วนในภาษาญี่ปุ่นใช้ว่า "ระกังกะ" (ญี่ปุ่น: ラカンカโรมาจิrakanka)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หล่อฮังก๊วยเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Monordica grosvenoril Swingle หล่อฮังก๊วยจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ผลของหล่อฮังก๊วยมีลักษณะกลมเหมือนไข่เป็ด มีเปลือกแข็งล้อมรอบเนื้อผลไม้แต่มีความเปราะ ในช่วงที่ยังไม่สุกผลจะมีสีเขียวและเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสีเขียวเข้มแกมดำและผลจะรีลง

ผลหลอฮังก๊วยแห้งผ่าซีกนำไปต้มกับน้ำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร

สรรพคุณ

หล่อฮังก๊วยเมื่อนำมาสกัดจะให้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยสารให้ความแทนน้ำตาลที่สกัดได้นี้ให้ความหวานถึง 250-300 เท่าของน้ำตาลทราย จึงนิยมนำมาเป็นสารเพิ่มความหวานในอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานในอุตสาหกรรมอาหาร โดยที่ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มของน้ำตาลในกระแสเลือด

การแพทย์แผนจีนจะนำผลของหล่อฮังก๊วยไปตากแห้งหรือลนไฟจนแห้ง จากนั้นจะทำการเคาะหากใช้ได้แล้วจะมีเสียงกังวาน สามารถนำมาต้มหรือผสมกับจับเลี้ยงเพื่อปรุงเครื่องดื่มแก้ร้อนในได้ ซึ่งสรรพคุณที่ได้กล่าวมานี้ช่วยผู้ป่วยที่มีอาการไอ เสียงแหบแห้ง บรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ และโรคทางเดินหายใจ ในสมัยโบราณผู้ป่วยที่มีโรคไอกรนแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำที่มีหล่อฮังก๊วยผสมอยู่เพราะสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร หล่อฮังก๊วยยังมีสรรพคุณในการบำรุงระบบทางเดินอาหารช่วงล่าง เช่น ภาวะลำไส้ใหญ่ไม่มีแรงบีบตัว และอาการทวารหย่อน เป็นต้น

บทบาททางการแพทย์

หล่อฮังก๊วยเมื่อนำมาสกัดจะให้สารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลชื่อว่า "โมโกรไซด์ (Mogrosides)" เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มไกลโคไซด์ ซึ่ง (Triterpene Glycosides) เป็นสารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลประมาณ 250-300 เท่า แต่กลับไม่ให้พลังงาน ดังนั้นจึงไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด (อินซูลิน) ของผู้ป่วย โดยแพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานได้ แต่เครื่องดื่มต้องไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบสำคัญอยู่ภายใน

งานวิจัยเกี่ยวข้อง

นักวิจัยชาวญี่ปุ่นที่ทำการวิจัยที่ มหาวิทยาลัยนิฮอน ในประเทศญี่ปุ่น ค้นพบว่าหล่อฮังก๊วยมีสารประกอบบางชนิดในการต่อต้านเนื้องอก และมหาวิทยาลัยในเมืองฮิโรชิม่าค้นพบว่าสารโมโกรไซด์ (Mogrosides) มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเนื้องอกใต้ผิวหนังของผู้ป่วยได้

นอกจากนี้ในประเทศไทยยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการนำสรรพคุณของหล่อฮังก๊วยมาทำเป็นลูกอมให้กับบุคคลทั่วไปและผู้ป่วยได้รับประทานอีกด้วยในงานวิจัยชื่อว่า น้ำสมุนไพรอัดเม็ด ของภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยในงานวิจัยฉบับนี้ระบุว่าได้นำสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ บัวบก หล่อฮั้งก๊วย และ เก๊กฮวย มาผ่านกระบวนการอัดเม็ด ผลปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้รับประทานและสามารถคงสรรพคุณของหล่อฮังก๊วยไว้ในลูกอมไว้ได้

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Siraitia grosvenorii ที่วิกิสปีชีส์


Новое сообщение