Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

เตมือร์

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ระวังสับสนกับ ติมอร์ หรือ เตมูร์ ข่าน
เตมือร์
Timur reconstruction03.jpg
รูปปั้นเตมือร์ที่ทำรูปแบบจากกะโหลกโดยMikhail Mikhaylovich Gerasimov
อะมีรแห่งจักรวรรดิเตมือร์
ครองราชย์ 9 เมษายน ค.ศ. 1370 – 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405
ราชาภิเษก 9 เมษายน ค.ศ. 1370, บัลค์
ก่อนหน้า อะมีร ฮุซัยน์ (ในฐานะผู้นำแห่งแทรนโซเซียนา)
ถัดไป เคาะลีล ซุลตอน
พระมเหสี ซารัย มุลก์ คานุม
มเหสีรอง
  • Chulpan Mulk Agha
  • Aljaz Turkhan Agha
  • Tukal Khanum
  • Dil Shad Agha
  • Touman Agha
  • มเหสีองค์อื่น
พระราชบุตร
รายละเอียด
พระนามเต็ม
ชุญาอุดดีน ตีมูร์
ราชวงศ์ เตมือร์
พระราชบิดา Amir Taraghai
พระราชมารดา Tekina Khatun
ประสูติ 9 เมษายน ค.ศ. 1336
เกช, จักรวรรดิข่านจักกาไท (ปัจจุบันคือชาฮ์รือซัปส์, ประเทศอุซเบกิสถาน)
สวรรคต 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405(1405-02-18) (68 ปี)
ฟารับ, จักรวรรดิเตมือร์ (ปัจจุบันคือโวตรอร์, ประเทศคาซัคสถาน)
ฝังพระศพ Gur-e-Amir, ซามาร์กันต์, ประเทศอุซเบกิสถาน
ศาสนา อิสลามนิกายซุนนี

เตมือร์ (Chagatay: تيمور Temür, แปลว่า 'เหล็ก'; 9 เมษายน ค.ศ. 1336 – 17–19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405) ภายหลังมีพระนามว่า ทีมูร์กูร์คอนี (Chagatay: تيمور کورگن Temür Küregen) เป็นขุนศึกเชื้อสายผสมระหว่างมองโกลกับเติร์ก และเป็นผู้พิชิตดินแดนส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง และยังเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิเตมือร์และราชวงศ์เตมือร์ พระองค์ถือเป็นหนึ่งในผู้นำทหารและนักกลยุทธ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เตมือร์ยังเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ตอนที่ติดต่อกับปัญญาชนอย่างอิบน์ ค็อลดูนกับฮอฟีซี แอบรูและนำรัชสมัยของพระองค์ไปสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเตมือร์

เตมือร์เสด็จพระราชสมภพที่สมาพันธรัฐแบร์ลอสในแทรนโซเซียนา (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน) เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1336 ต่อมาได้ควบคุมจักรวรรดิข่านจักกาไทตะวันตกใน ค.ศ. 1370 นับจากนั้น พระองค์เริ่มพิชิตทั่วเอเชียตะวันตก, ใต้ และกลาง, คอเคซัส และรัสเซียใต้ และกลายเป็นผู้นำที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกมุสลิมหลังเอาชนะมัมลูกแห่งอียิปต์และซีเรีย, จักรวรรดิออตโตมันที่กำลังเติบโต และรัฐสุลต่านเดลีที่กำลังเสื่อมสลายในอินเดีย หลังจากการพิชิต พระองค์ก่อตั้งจักรวรรดิเตมือร์ขึ้น แต่หลังสวรรคตไม่นาน จักรวรรดิของพระองค์จึงแตกเป็นเสี่ยง ๆ

เตมือร์เป็นผู้พิชิตชนร่อนเร่คนสุดท้ายแห่งทุ่งหญ้าสเตปป์ยูเรเซีย และจักรวรรดิของพระองค์อยู่ในช่วงขาขึ้นของจักรวรรดิดินปืนอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17 เตมือร์สืบเชื้อสายจากเติร์กและมองโกล และแม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงในสองฝั่ง พระองค์มีบรรพบุรุษทางฝั่งพระราชบิดาเป็นคนเดียวกันกับเจงกิสข่าน ในขณะที่นักเขียนบางส่วนกล่าวแนะว่า พระราชมารดาของพระองค์อาจเป็นลูกหลานของข่าน เห็นได้ชัดว่าพระองค์พยายามที่จะใช้มรดกนี้ในการทัพช่วงหลังของพระองค์ เตมือร์จินตนาการถึงการฟื้นฟูจักรวรรดิมองโกลของเจงกิสข่าน (สวรรคตใน ค.ศ. 1227) และGérard Chaliandรายงานว่าพระองค์ทอดพระเนตรตัวพระองค์เป็นทายาทของเจงกิสข่าน

กองทัพของเตมือร์มีหลายเชื้อชาติและเป็นที่หวาดกลัวทั่วเอเชีย แอฟริกา และยุโรป ส่วนที่พระองค์พิชิตได้กลับทำให้มันเสียเปล่า นักวิชาการประมาณการว่าการทัพของพระองค์ทำให้มีผู้เสียชีวิต 17 ล้านคน ซึ่งเท่ากับประชากรโลกประมาณร้อยละ 5 ในเวลานั้น ในดินแดนที่พิชิตทั้งหมด ฆวอแรซม์ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมีการก่อกบฏหลายครั้งในบริเวณนี้

เตมือร์เป็นพระอัยกาของอูลุฆ เบก ผู้ปกครองเอเชียกลางใน ค.ศ. 1411 ถึง 1449 และพระอัยกาของพระปัยกาของจักรพรรดิบาบูร์ (ค.ศ. 1483–1530) ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิโมกุล ซึ่งปกครองเกือบทั่วอนุทวีปอินเดีย

เตมือร์เป็นคนที่ได้รับทั้งการยกย่องและเกลียดชัง ผู้คนในแถบเอเชียกลางยกย่องเขาในฐานะที่เป็นผู้ปกครองที่นำความร่ำรวย ความมั่งคั่ง และอำนาจมาสู่ภูมิภาคนี้อย่างมาก แต่ผู้คนในโลกอาหรับ เปอร์เซีย และอินเดียสาปแช่งเขาในฐานะที่เขาเป็นผู้ทำลายอารยธรรมและได้ฆ่าผู้คนไปเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ทุกวัฒนธรรมต่างก็ยอมรับในความสามารถในการศึกของเขา โดยในเปอร์เซียเขามักถูกเรียกว่า Teymour The Conqueror of The World

ชีวิตช่วงต้น

งานเลี้ยงของเอมีร์เตมือร์ในสวนที่ซามาร์กันต์

เตมือร์เสด็จพระราชสมภพที่แทรนโซเซียนาใกล้กับเมืองเคช (ปัจจุบันคือชาฮ์รือซัปส์ ประเทศอุซเบกิสถาน) ซึ่งอยู่ทางใต้ของซามาร์กันต์ 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) ในจักรวรรดิข่านจักกาไท พระนามของพระองค์ในภาษาชะกะไตหมายถึง "เหล็ก" (เปรียบเทียบกับอุซเบก: Temir, ตุรกี: Demir) ซึ่งคล้ายกับพระนามเจงกิสข่านตอนเสด็จพระราชสมภพว่า เตมือจิน (Temüjin) นักประวัติศาสตร์ราชวงศ์เตมือร์ช่วงหลังอ้างว่าพระองค์เสด็จพระราชสมภพในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1336 แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ให้วันพระราชสมภพของพะรองค์อยู่ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1320 Beatrice Forbes Manz นักประวัติศาสตร์สงสัยว่าปี 1336 ถูกออกแบบให้เชื่อมเตมือร์กับอะบูซะอีด บะฮาดูร์ ข่าน ผู้ปกครององค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิข่านอิลที่สืบมาจากฮูลากู ข่าน ผู้สวรรคตในปีนั้น

พระองค์อยู่ในตระกูลแบร์ลอส เผ่ามองโกลที่ถูกแผลงเป็นเติร์กในหลายรูปแบบ Taraghai พระราชบิดาของพระองค์ถูกกล่าวถึงเป็นขุนนางรองของเผ่า แต่ Manz เชื่อว่าในภายหลังเตมือร์อาจประเมินตำแหน่งสังคมของพระราชบิดาต่ำเกินจริง เพื่อทำให้ความสำเร็จของพระองค์เป็นที่จดจำมากกว่า เธอกล่าวว่า แม้ไม่เชื่อว่าพระองค์มีอำนาจมาก แต่ Taraghai ยังมีทรัพย์สินและมีอิทธิพลอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งแสดงให้เห็นจากการที่เตมือร์เสด็จกลับไปยังที่ที่พระองค์เสด็จพระราชสมภพหลังพระราชบิดาสวรรคตใน ค.ศ. 1360 ซึ่งกล่าวแนะถึงความกังวลต่ออสังหาริมทรัพย์

ในช่วงวัยเด็ก เตมือร์กับผู้ติดตามกลุ่มเล็กไปปล้นสะดมนักเดินทางเพื่อเอาสินค้า โดยเฉพาะสัตว์ต่าง ๆ เช่นแกะ, ม้า และวัว ในช่วง ค.ศ. 1363 เชื่อกันว่าในตอนที่เตมือร์พยายามขโมยแกะจากคนเลี้ยงแกะ แต่กลับถูกยิงธนูใส่สองดอก โดยดอกแรกยิงโดนที่พระเพลาข้าวขวา ส่วนดอกที่สองยิงโดนที่พระหัตถ์ข้างขวา ทำให้เสียนิ้วไปสองนิ้ว บาดแผลทั้งสองอันในครั้งนั้นส่งผลต่อพระองค์ทั้งชีวิต บางส่วนเชื่อว่าเตมือร์ได้รับบาดเจ็บสาหัสตอนเป็นทหารรับจ้างให้กับข่านแห่งซีซทอนในโฆรอซอนซึ่งปัจจุบันอยู่ในภาคตวันตกเฉียงใต้ของประเทศอัฟกานิสถาน การบาดเจ็บของเตมือร์ทำให้ชาวยุโรปให้ชื่อเขาว่าเตมือร์ขากะเผลก (Timur the Lame) และแทเมอร์เลน (Tamerlane)

สวรรคต

เตมือร์ประสงค์ที่จะสู้ในฤดูใบไม้ผลิ อย่างไรก็ตาม พระองค์สวรรคตขณะเสด็จไปสู้รบในฤดูหนาว ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1404 เตมือร์เริ่มการทัพต่อจีนสมัยราชวงศ์หมิงและกักขังราชทูตหมิง พระองค์ทรงพระประชวรตอนตั้งค่ายที่ Syr Daria และสวรรคตที่ฟารับในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405 ก่อนที่จะถึงชายแดนประเทศจีน หลังสวรรคต เคาะลีล ซุลตอน พระราชนัดดาของพระองค์ ได้ปล่อยตัวทูตหมิงและคณะผู้ติดตามไปClements Markham นักภูมิศาสตร์ กล่าวถึงรายงานของทูตจาก Clavij ว่า หลังเตมือร์สวรรคต พระวรกายของพระองค์ "ถูกอาบด้วยชะมดและน้ำกุหลาบ ห่อด้วยผ้าลินิน ตั้งในโลงไม้มะเกลือ และถูกส่งไปฝังที่ซามาร์กันต์"Gur-e-Amir สุสานของพระองค์ ยังคงตั้งตระหง่านอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ตาม

มุมมองศาสนา

พระบรมสาทิสลักษณ์เตมือร์ในปัจจุบันที่ Gur-e-Amir, ซามาร์กันต์

เตมือร์นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี อาจอยู่ในสำนักแนกช์แบนดี ซึ่งมีอิทธิพลในแทรนโซเซียนา หัวหน้าที่ปรึกษาและที่ปรึกษาทางศาสนาของพระองค์เป็นนักวิชาการสำนักฮะนะฟี อับดุลญับบาร ควาร็อซมี ตอนประทับที่ติรมิซ พระองค์อยู่ภายใต้อิทธิพลของที่ปรึกษาทางจิตวิญญาณ ซัยยิด บะเราะกะฮ์ ผู้นำจากบัลค์ที่ฝังข้าง ๆ เตมือร์ในGur-e-Amir

เตมือร์เป็นที่รู้จักจากการยกย่องอะลีและอะฮ์ลุลบัยต์อย่างสูงและนักวิชาการหลายคนกล่าวถึงพระองค์ว่า "สนับสนุนชีอะฮ์" อย่างไรก็ตาม พระองค์ลงโทษชีอะฮ์จากการดูหมิ่นเศาะฮาบะฮ์ และยังเป็นที่รู้จักจากการโจมตีชีอะฮ์ด้วยคำแก้ต่างของซุนนี แล้วบางช่วงก็โจมตีซุนนีเช่นเดียวกัน

ดูเพิ่ม

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่ม

  • Abazov, Rafis. "Timur (Tamerlane) and the Timurid Empire in Central Asia." The Palgrave Concise Historical Atlas of Central Asia. Palgrave Macmillan US, 2008. 56–57.
  • Lamb, Harold (1929). Tamerlane: The Earth Shaker (Hardback). London: Thorndon Butterworth.
  • Marlowe, Christopher. Tamburlaine the Great. Ed. J. S. Cunningham. Manchester University Press, Manchester 1981.
  • Manz, Beatrice Forbes. "Temür and the Problem of a Conqueror's Legacy," Journal of the Royal Asiatic Society, Third Series, Vol. 8, No. 1 (Apr. 1998)
  • Marozzi, Justin. Tamerlane: sword of Islam, conqueror of the world, London: HarperCollins, 2004
  • Marozzi, Justin. "Tamerlane", in: The Art of War: great commanders of the ancient and medieval world, Andrew Roberts (editor), London: Quercus Military History, 2008. ISBN 978-1-84724-259-4
  • Novosel'tsev, A. P. "On the Historical Evaluation of Tamerlane." Soviet studies in history 12.3 (1973): 37–70.
  • Shterenshis, Michael V. "Approach to Tamerlane: Tradition and Innovation." Central Asia and the Caucasus 2 (2000).
  • Sykes, P. M. "Tamerlane" Journal of the Central Asian Society 2.1 (1915): 17–33.
  • YÜKSEL, Musa Şamil. "Timur’un Yükselişi ve Batı’nın Diplomatik Cevabı, 1390–1405." Selçuk Üniversitesi Türkiyat Araştırmaları Dergisi 1.18 (2005): 231–243.

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение