Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
เบาหวาน
โรคเบาหวาน (diabetes mellitus) | |
---|---|
สัญลักษณ์สากลของโรคเบาหวานของสหประชาชาติ
| |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | E10–E14 |
ICD-9 | 250 |
MedlinePlus | 001214 |
eMedicine | med/546 emerg/134 |
MeSH | C18.452.394.750 |
โรคเบาหวาน (อังกฤษ: diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา
เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก่
- เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ แบบนี้อดีตเคยเรียกว่า "เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน" หรือ "เบาหวานวัยแรกรุ่น" สาเหตุยังไม่ทราบ
- เบาหวานชนิดที่ 2 เริ่มขึ้นจากการดื้อต่ออินซูลิน คือ ภาวะที่เซลล์ไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินอย่างเหมาะสม เมื่อโรคดำเนินไป อาจมีการขาดอินซูลินด้วย แบบนี้อดีตเคยเรียก เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน หรือ "เบาหวานที่เกิดในผู้ใหญ่" สาเหตุหลักเกิดจากน้ำหนักกายเกินและออกกำลังกายไม่เพียงพอ
- เบาหวานระหว่างมีครรภ์ เป็นแบบหลักชนิดที่สาม และเกิดเมื่อหญิงมีครรภ์ซึ่งไม่เคยมีประวัติเบาหวานมาก่อนมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
การป้องกันและรักษารวมถึงการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ, การออกกำลังกาย, การงดสูบบุหรี่ และการรักษาน้ำหนักกายให้ปกติ. การควบคุมความดันโลหิตและการดูแลเท้าอย่างเหมาะสมก็สำคัญต่อผู้ป่วยเช่นกัน เบาหวานชนิดที่ 1 ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน เบาหวานชนิดที่ 2 อาจรักษาด้วยยาพร้อมกับอินซูลินด้วยหรือไม่ก็ได้ อินซูลินและยากินบางชนิดสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงได้ การผ่าตัดลดน้ำหนักในผู้ป่วยโรคอ้วนเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานระหว่างมีครรภ์โดยปกติหายได้เองหลังทารกคลอด
ณ ปี 2013 ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 382 ล้านคน โดยมีเบาหวานชนิดที่ 2 ถึง 90% ซึ่งเท่ากับ 8.3% ของประชากรผู้ใหญ่ โดยมีอัตราเท่ากันในหญิงและชาย ในปี 2012 และ 2013 โรคเบาหวานเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1.5 ถึง 5.1 ล้านคนต่อปี. เป็นสาเหตุการตายสูงสุดอันดับ 8 โดยรวมแล้วเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงการตายอย่างน้อยสองเท่า จำนวนผู้ป่วยเบาหวานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 592 ล้านคนในปี 2035 มูลค่าทางเศรษฐกิจของเบาหวานทั่วโลกที่ประเมินในปี 2013 อยู่ที่ 548 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 245 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในสหรัฐอเมริกาในปี 2012
สัญญาณและอาการ
อาการคลาสสิกของโรคเบาหวานที่ยังไม่ได้รับการรักษาคือน้ำหนักลด, ปัสสาวะบ่อย, ดื่มน้ำบ่อย, และกินบ่อย อาการเหล่านี้อาจแย่ลงอย่างรวดเร็ว (เป็นสัปดาห์หรือเดือน) ในโรคเบาหวานชนิดที่ 1, แต่อาการมักแย่ลงอย่างช้ามาก ๆ และอาจเบาลงหรือหายไปในโรคเบาหวานชนิดที่ 2
สัญญาณและอาการอื่น ๆ อีกหลายอย่างสามารถบ่งบอกถึงการเริ่มมีอาการของโรคเบาหวาน, แม้ว่าพวกมันจะไม่บ่งบอกเฉพาะโรคโดยตรง นอกเหนือจากสัญญาณและอาการที่รู้จักกันข้างต้น, พวกมันรวมถึงการมองเห็นไม่ชัด, ปวดศีรษะ, อ่อนเพลีย, รักษาแผลหายช้า, และคันที่ผิวหนัง. ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการดูดซึมกลูโคสในเลนส์ของตา, ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปร่างของเลนส์, เป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสายตา ผื่นผิวหนังจำนวนมากที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น dermadromes ของโรคเบาหวาน
กรณีฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ยังอาจประสบกับปัญหากรดเกินเนื่องจากสารคีโตนจากโรคเบาหวาน (diabetic ketoacidosis), ปัญหาการเผาผลาญอาหารประเภทหนึ่งที่มีลักษณะที่โดดเด่นด้วยอาการคลื่นไส้, อาเจียนและปวดท้อง, กลิ่นของอะซิโตนออกมากับลมหายใจ, การหายใจลึกแบบที่เรียก การหายใจคุสส์เมาล์ (Kussmaul), และในกรณีที่รุนแรง ระดับการรู้สึกตัวลดลง
อาการที่หาได้ยากแต่รุนแรงเท่ากันคือสภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากจนทำให้หมดสติ (hyperosmolar nonketotic state) ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดามากในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขาดน้ำ โรคนี่ถ้าเป็นคนใดคนหนึ่งอาจตกมาอยู่ในช่วงลูกหลานสืบไป
ภาวะแทรกซ้อน
ทุกรูปแบบของโรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างในระยะยาว. ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้มักจะพัฒนาเป็นเวลาหลายปี (10-20 ปี) แต่อาจจะเป็นอาการแรกในบรรดาผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอย่างอื่นก่อนเวลานั้น
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในระยะยาวจะเกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดกับหลอดเลือด โรคเบาหวานมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดถึงสองเท่า และประมาณ 75% ของการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โรค "หลอดเลือด" อื่น ๆ ก็คือโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดส่วนปลาย
ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจาก microvascular หลักของโรคเบาหวานรวมถึงความเสียหายต่อตา, ไต, และเส้นประสาท ความเสียหายที่เกิดกับดวงตาหรือที่เรียกว่า diabetic retinopathy เกิดจากความเสียหายของหลอดเลือดในจอประสาทตาและสามารถส่งผลให้ค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นและอาจตาบอดในที่สุด. ความเสียหายที่เกิดกับไตหรือที่เรียกว่า diabetic nephropathy อาจนำไปสู่การเกิดแผลบนเนื้อเยื่อ, สูญเสียโปรตีนในปัสสาวะ, และโรคไตเรื้อรังในที่สุด, บางครั้งต้องฟอกไตหรือการปลูกถ่ายไต. ความเสียหายที่เกิดกับเส้นประสาทของร่างกายที่เรียกว่า diabetic neuropathy เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดของโรคเบาหวาน. อาการเหล่านี้อาจรวมถึงอาการชา, อาการเป็นเหน็บ, ความเจ็บปวด, และความรับรู้ในความเจ็บปวดมีการเปลี่ยนแปลง, ซึ่งจะนำไปสู่ความเสียหายกับผิวหนัง. ปัญหาเท้าที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน (เช่นแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน) อาจเกิดขึ้น, และอาจเป็นเรื่องยากในการรักษา, บางครั้งต้องมีการตัดแขนขา. นอกจากนี้โรคเส้นประสาทเนื่องจากเบาหวาน (อังกฤษ: proximal diabetic neuropathy) ยังทำให้เกิดการเจ็บปวดเนื่องจากการสูญเสียและความอ่อนแอของกล้ามเนื้อ
มีการเชื่อมโยงกันระหว่างการขาดองค์ความรู้กับโรคเบาหวาน. เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน, พวกที่เป็นโรคมีอัตราการลดลงในการทำงานของปัญญามากกว่า 1.2–1.5 เท่า
สาเหตุ
ลักษณะอาการ | โรคเบาหวานชนิดที่ 1 | โรคเบาหวานชนิดที่ 2 |
---|---|---|
การเริ่มต้น | ทันที | ค่อย ๆ เป็น |
อายุที่เริ่มมีอาการ | ส่วนใหญ่ในเด็ก | ส่วนใหญ่ในผู้ใหญ่ |
ขนาดร่างกาย | ผอมหรือปกติ | มักจะน้ำหนักเกิน |
กรดเกินเนื่องจากสารคีโตน (Ketoacidosis) |
พบทั่วไป | พบได้ยาก |
ภูมิคุ้มกันต่อเนื้อเยื่อตนเอง (autoantibodies) |
มักจะปรากฏ | ไม่ปรากฏ |
อินซูลินเกิดขึ้นภายในเนื้อเยื่อ | ต่ำหรือไม่ปรากฏ | ปกติ, ลดลง หรือเพิ่มขึ้น |
เป็นโรคเหมือนกันในคู่แฝดเหมือน (Concordance in identical twins) |
50% | 90% |
ความชุกของโรค | ~10% | ~90% |
โรคเบาหวานแบ่งออกเป็นสี่ประเภทกว้าง ๆ ได้แก่ ชนิดที่ 1, ชนิดที่ 2, เบาหวานขณะตั้งครรภ์และ "ประเภทเฉพาะอื่น ๆ". "ประเภทเฉพาะอื่น ๆ" เป็นการรวบรวมของสาเหตุไม่กี่โหลของผู้ป่วยแต่ละคน
ชนิดที่ 1
บทความหลัก: เบาหวานชนิดที่ 1
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นลักษณะของการสูญเสียเบต้าเซลล์ของเกาะเล็กเกาะน้อยของ Langerhans ในตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินซึ่งนำไปสู่การขาดอินซูลิน. ประเภทนี้สามารถแบ่งต่อไปเป็นแบบภูมิคุ้มกันหรือแบบไม่ทราบสาเหตุ. ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นโดยธรรมชาติเมื่อภูมิคุ้มกันที่สร้างโดยอัตโนมัติเข้าโจมตีทำให้เกิดการสูญเสียของเบต้าเซลล์และทำให้สูญเสียอินซูลินไปด้วย มันเป็นสาเหตุให้เกิดประมาณ 10% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป. ผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่กลับกลายเป็นว่ามีสุขภาพดีและมีน้ำหนักที่มีสุขภาพดีเมื่อเริ่มต้นมีอาการของโรค. ความไวและการตอบสนองต่ออินซูลินมักจะปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นเริ่มต้น. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะมีผลต่อเด็กหรือผู้ใหญ่ แต่ถูกเรียกตามประเพณีว่า "โรคเบาหวานเด็กและเยาวชน" เพราะส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคเบาหวานเหล่านี้เป็นในเด็ก
โรคเบาหวานแบบ "เปราะ", หรือที่เรียกว่าโรคเบาหวานเแบบไม่แน่นอนหรือไม่คงที่, เป็นคำที่ใช้แบบดั้งเดิมที่จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงไปมาของระดับน้ำตาลที่มักจะเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นอยู่กับอินซูลิน. อย่างไรก็ตาม คำนี้ไม่มีพื้นฐานทางชีววิทยาและไม่ควรใช้ ยังเป็นเช่นเดิม, โรคเบาหวานชนิดที่ 1 สามารถมาพร้อมกับความผิดปกติและคาดเดาไม่ได้ของสภาวะน้ำตาลในเลือดสูง, มักมีสารพวกคีโทนในเลือดและปัสสาวะ, และบางครั้งมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างรุนแรง. ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ รวมถึงการตอบสนองเพื่อต่อต้านความไม่แน่นอน ของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงบกพร่อง, การติดเชื้อ, อัมพาตกระเพาะ (อังกฤษ: gastroparesis) (ซึ่งนำไปสู่การดูดซึมผิดปกติของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต) และความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ (อังกฤษ: endocrinopathies) (เช่นโรคแอดดิสัน). ปรากฏการณ์เหล่านี้เชื่อว่าจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนักเพียง 1% ถึง 2% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะสืบทอดได้บางส่วน, ด้วยยีนหลาย ๆ ตัว, รวมทั้งยีนรูปแบบพันธุกรรม HLA บางอย่าง, ที่รู้จักกันว่ามีผลต่อความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน. ในคนที่ไวต่อทางพันธุกรรม, การเริ่มมีอาการของโรคเบาหวานสามารถถูกกระตุ้นโดยปัจจัยสิ่งแวดล้อมหนึ่งอย่างหรือมากกว่า, เช่นการติดเชื้อไวรัสหรืออาหาร. มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวานชนิดที่ 1 กับ Coxsackie B4 virus. ซึ่งแตกต่างจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2, อาการเริ่มต้นของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต
ชนิดที่ 2
บทความหลัก: เบาหวานชนิดที่ 2
เบาหวานชนิดที่ 2 มีลักษณะที่ต้านทานอิอิต่ออินซูลิน, ซึ่งอาจรวมกับการลดลงที่สัมพันธ์กันของการหลั่งอินซูลิน. การตอบสนองที่บกพร่องของเนื้อเยื่อของร่างกายต่ออินซูลินเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับตัวรับอินซูลิน. อย่างไรก็ตาม ข้อบกพร่องที่เฉพาะเจาะจงไม่เป็นที่รู้จัก. กรณีของโรคเบาหวานอันเนื่องมาจากข้อบกพร่องที่เคยรู้จักกันจะถูกจัดแยกต่างหาก. เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นประเภทที่พบมากที่สุด
ในช่วงต้นของชนิดที่ 2, ความผิดปกติที่โดดเด่นคือความไวต่ออินซูลินจะลดลง. ในขั้นตอนนี้ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงสามารถกลับทางด้วยความหลากหลายของมาตรการและยาที่เพิ่มความไวต่ออินซูลินหรือลดการผลิตกลูโคสโดยตับ
เบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นเพราะปัจจัยการดำเนินชีวิตและพันธุกรรม ปัจจัยการดำเนินชีวิตหลายอย่างเป็นที่รู้กันว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวมทั้งโรคอ้วน (ที่กำหนดโดยดัชนีมวลกายมากกว่าสามสิบ), การขาดกิจกรรมออกกำลังกาย, อาหารที่ไม่ดี, ความเครียด, และความสะดวกสบายในเมือง. ไขมันในร่างกายส่วนเกินจะเกี่ยวข้องกับ 30% ของกรณีสำหรับผู้สืบเชื้อสายจากจีนและญี่ปุ่น, 60-80% ของกรณีในบรรดาผู้สืบเชื้อสายจากยุโรปและแอฟริกัน, และ 100% ของชาวอินเดียและชาวเกาะแปซิฟิก. ผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคอ้วนมักจะมีอัตราส่วนเอวต่อสะโพกสูง
ปัจจัยของอาหารยังมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. การบริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวานด้วยน้ำตาลส่วนเกินจะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ชนิดของไขมันในอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญ, ด้วยไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันทรานส์จะเพิ่มความเสี่ยงและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและหลายเชิงช่วยลดความเสี่ยง. การบริโภคข้าวขาวจำนวนมากดูเหมือนจะยังมีบทบาทในการเพิ่มความเสี่ยง การขาดการออกกำลังกายเชื่อว่าจะทำให้เกิด 7% ของกรณี
เบาหวานขณะตั้งครรภ์
บทความหลัก: โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) คล้ายกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในหลายประการ, มันเกี่ยวข้องกับการรวมกันของการหลั่งอินซูลินและการตอบสนองที่ค่อนข้างไม่เพียงพอ. มันเกิดขึ้นในประมาณ 2-10% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมดและอาจปรับปรุงหรือหายไปหลังคลอด อย่างไรก็ตามหลังจากการตั้งครรภ์, ประมาณ 5-10% ของผู้หญิงที่มีโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะพบว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ชนิดที่พบมากที่สุดคือชนิดที่ 2. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์สามารถรักษาให้หายขาดได้, แต่ต้องมีการดูแลทางการแพทย์อย่างระมัดระวังตลอดการตั้งครรภ์. การบริหารจัดการอาจรวมถึงการเปลี่ยนแปลงอาหาร, การตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด, และในบางกรณีอินซูลินอาจจำเป็นต้องใช้
แม้ว่ามันอาจจะเป็นชั่วคราว, เบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถสร้างความเสียหายต่อสุขภาพของทารกในครรภ์หรือมารดา. ความเสี่ยงทั้งหลายต่อเด็กรวมถึงภาวะทารกตัวโต (macrosomia), การเต้นของหัวใจขณะเกิดและระบบประสาทกลางมีความผิดปกติ, และกล้ามเนื้อโครงร่างผิดรูป. การเพิ่มอินซูลินให้กับทารกในครรภ์อาจยับยั้งการผลิตสารลดแรงตึงผิวของทารกและก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ. ภาวะตัวเหลืองอาจเกิดขึ้นจากการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง. ในกรณีที่รุนแรง การตายของทารกก่อนคลอดหรือแรกเกิดอาจเกิดขึ้น, ส่วนใหญ่เป็นผลจากการกระจายของรก (อังกฤษ: placental perfusion) ที่ไม่ดีเนื่องจากการบกพร่องของหลอดเลือด. การกระตุ้นการคลอดแบบประดิษฐ์ (อังกฤษ: Labor induction) อาจจะแสดงให้เห็นการทำงานของรกที่ลดลง. การคลอดแบบผ่าออก (อังกฤษ: Caesarean section) อาจต้องดำเนินการถ้าเห็นความทุกข์ทรมาณของทารกในครรภ์หรือความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับ macrosomia (น้ำหนักแรกเกิดสูง) เช่นการคลอดยากเพราะติดไหล่ (อังกฤษ: shoulder dystocia)
ประเภทอื่น ๆ
สภาวะก่อนเบาหวาน (อังกฤษ: prediabetes) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของคนที่สูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอสำหรับจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. มีหลายคนที่ถูกลิขิตว่าจะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะใช้เวลาหลายปีในสภาวะ prediabetes
โรคเบาหวานภูมิแฝงของผู้ใหญ่ (อังกฤษ: Latent autoimmune diabetes of adults (LADA)) เป็นสภาวะที่เบาหวานชนิดที่ 1 ได้พัฒนาขึ้นในผู้ใหญ่. ผู้ใหญ่ที่มี LADA มักจะได้รับการวินิจฉัยผิดพลาดบ่อยครั้งในตอนแรกว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2, โดยพิจารณาจากอายุมากกว่าสาเหตุและต้นกำเนิดของโรค
บางกรณีของโรคเบาหวานจะเกิดจากตัวรับเนื้อเยื่อของร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน (แม้เมื่อระดับอินซูลินเป็นปกติ, ซึ่งเป็นสิ่งที่แยกมันออกจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2); รูปแบบนี้เป็นเรื่องไม่ธรรมดามาก. การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม (autosomal หรือ mitochondrial) สามารถนำไปสู่ข้อบกพร่องในการทำงานของเซลล์เบต้า. การกระทำของอินซูลินที่ผิดปกติก็อาจได้รับการกำหนดทางพันธุกรรมในบางกรณี. โรคใด ๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อบริเวณตับอ่อนอาจนำไปสู่โรคเบาหวาน (เช่นตับอ่อนอักเสบเรื้อรังและพังผืดในถุงน้ำดี). โรคที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งที่มากเกินไปของฮอร์โมนอินซูลินปฏิปักษ์ (อังกฤษ: insulin-antagonistic hormone) สามารถทำให้เกิดโรคเบาหวาน (ซึ่งโดยทั่วไปจะได้รับการแก้ไขเมื่อฮอร์โมนส่วนเกินถูกลบออก). ยาจำนวนมากจะทำให้การหลั่งอินซูลินบกพร่องและสารพิษบางอย่างทำให้เกิดความเสียหายต่อเบต้าเซลล์ของตับอ่อน. กิจการการวินิจฉัย ICD-10 (1992) ชื่อ โรคเบาหวานที่เกี่ยวข้องกับการขาดสารอาหาร (MRDM หรือ MMDM, ICD-10 รหัส E12), ถูกคัดค้านโดยองค์การอนามัยโลกเมื่ออนุกรมวิธาน(วิชาที่ว่าด้วยการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต)ปัจจุบันได้รับการแนะนำในปี 1999
รูปแบบอื่น ๆ ของโรคเบาหวานรวมถึงโรคเบาหวานแต่กำเนิด, ซึ่งเกิดจากการบกพร่องทางพันธุกรรมของการหลั่งอินซูลิน, โรคเบาหวานที่เกี่ยวข้องกับพังผืดในถุงน้ำดี, เบาหวานสเตียรอยด์ที่เกิดจากฮอร์โมนส์ glucocorticoids ปริมาณสูง, และหลายรูปแบบของโรคเบาหวานแบบ monogenic
ต่อไปนี้เป็นรายการที่ครอบคลุมของสาเหตุอื่น ๆ ของโรคเบาหวาน
|
|
พยาธิสรีรวิทยา
อินซูลินเป็นฮอร์โมนหลักที่ควบคุมการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคสจากเลือดเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย, โดยเฉพาะตับ, กล้ามเนื้อ, และเนื้อเยื่อไขมัน. ดังนั้นการขาดอินซูลินหรือการไม่รับรู้ของตัวรับของมันมีบทบาทที่เป็นศูนย์กลางในทุกรูปแบบของโรคเบาหวาน
ร่างกายได้รับน้ำตาลกลูโคสจากสามแหล่งหลัก ได้แก่ (1) การดูดซึมอาหารของลำไส้, (2) การแตกตัวของไกลโคเจน (คาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากการรวมตัวของน้ำตาลกลูโคสหลายโมเลกุลที่ร่างกายของสัตว์สะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ จะถูกนำออกมาใช้เมื่อร่างกายต้องการ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]), และ (3) gluconeogenesis (การผลิตกลูโคสจากสารตั้งต้นที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรตในร่างกาย) อินซูลิน มีบทบาทที่วิกฤตในการสมดุลระดับน้ำตาลในร่างกาย. อินซูลินสามารถยับยั้งการแตกตัวของไกลโคเจนหรือกระบวนการของการ gluconeogenesis, มันสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้ำตาลกลูโคสให้เป็นไขมันและเซลล์กล้ามเนื้อ, และมันสามารถกระตุ้นให้เกิดการสะสมของน้ำตาลกลูโคสในรูปแบบของไกลโคเจน
อินซูลินจะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดโดยเซลล์เบต้า (β-cells), ที่พบในเกาะเล็กเกาะน้อยของ Langerhans ในตับอ่อน, ในการตอบสนองกับระดับที่เพิ่มขึ้นของน้ำตาลกลูโคสในเลือด, ปกติหลังจากการรับประทานอาหาร. อินซูลินจะถูกใช้โดยเซลล์ของร่างกายประมาณสองในสามของเซลล์ทั้งหมดในการดูดซึมกลูโคสจากเลือดเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง, เพื่อใช้สำหรับการแปลงให้เป็นโมเลกุลที่จำเป็นอื่น ๆ, หรือเพื่อการสะสม. ระดับน้ำตาลที่ลดลงส่งผลในการปล่อยอินซูลินจากเบต้าเซลล์ลดลงและส่งผลในการแตกตัวไกลโคเจนให้เป็นน้ำตาลกลูโคส. กระบวนการนี้จะถูกควบคุมส่วนใหญ่โดยฮอร์โมน glucagon ซึ่งทำหน้าที่ในลักษณะที่ตรงข้ามกับอินซูลิน
ถ้าปริมาณของอินซูลินที่มีอยู่ไม่เพียงพอ, ถ้าเซลล์ตอบสนองกับผลกระทบของอินซูลินได้ไม่ดี (การไม่รับรู้อินซูลินหรือความต้านทานอินซูลิน), หรือถ้าตัวอินซูลินเองมีข้อบกพร่อง, ดังนั้นน้ำตาลจะไม่ถูกดูดซึมได้อย่างเหมาะสมโดยเซลล์ของร่างกายที่ต้องการใช้มัน, และมันจะไม่ถูกเก็บสะสมไว้อย่างเหมาะสมในตับและกล้ามเนื้อ. ผลกระทบสุทธิก็คือระดับที่สูงของน้ำตาลในเลือด, การสังเคราะห์โปรตีนไม่ดีและการเผาผลาญอาหารอื่น ๆ ผิดปกติ เช่นภาวะเลือดเป็นกรด. ผลกระทบสุทธิดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคสในเลือดยังคงสูงตลอดช่วงเวลา, ไตจะเข้าสู่เส้นแบ่งของการดูดซึมซ้ำ (อังกฤษ: threshold of reabsorption), และน้ำตาลกลูโคสจะถูกขับออกมาในปัสสาวะ (glycosuria) ปรากฏการณ์นี้จะเพิ่มแรงดันของสารละลายที่ไหลผ่านเนื้อเยื่อ (อังกฤษ: osmotic pressure) ของปัสสาวะและยับยั้งการดูดซึมซ้ำของน้ำโดยไต, ส่งผลในการผลิตปัสสาวะเพิ่มขึ้น (polyuria) และเพิ่มการสูญเสียน้ำ. ปริมาณเลือดที่หายไปจะถูกแทนที่แบบแช่อิ่มจากน้ำที่ถูกเก็บไว้ในเซลล์ร่างกายและช่องอื่น ๆ ของร่างกายทำให้เกิดการคายน้ำและกระหายเพิ่มขึ้น (polydipsia)
การวินิจฉัย
สภาวะ | กลูโคส 2 ชม. | กลูโคสอดอาหาร | HbA1c |
---|---|---|---|
หน่วย | mmol/l(mg/dl) | mmol/l(mg/dl) | % |
ปกติ | <7.8 (<140) | <6.1 (<110) | <6.0 |
กลูโคสบกพร่องขณะอดอาหาร | <7.8 (<140) | ≥ 6.1(≥110) & <7.0(<126) | 6.0–6.4 |
ความทนทานต่อกลูโคสบกพร่อง | ≥7.8 (≥140) | <7.0 (<126) | 6.0–6.4 |
เบาหวานโดยสมบูรณ์ | ≥11.1 (≥200) | ≥7.0 (≥126) | ≥6.5 |
โรคเบาหวานเป็นสภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะ ๆ หรือสม่ำเสมอ, และได้รับการวินิจฉัยโดยแสดงให้เห็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้:
- ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดขณะอดอาหาร ≥7.0 มิลลิโมล/ลิตร (126 mg/dl)
- พลาสม่ากลูโคส ≥11.1 มิลลิโมล/ลิตร (200 mg/dl) สองชั่วโมงหลังจากป้อนกลูโคส 75 g ในปากในการทดสอบความทนทานต่อกลูโคส
- อาการที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงและพลาสม่ากลูโคสขณะสบาย ≥11.1 มิลลิโมล/ลิตร (200 mg/dl)
- Glycated hemoglobin (Hb A1C) ≥ 6.5%
ผลที่เป็น positive, ในกรณีที่ขาดความชัดเจนของการมีน้ำตาลในเลือดสูงหรือไม่, จึงควรได้รับการยืนยันโดยการทำซ้ำในวิธีการใด ๆ ข้างต้นในวันที่แตกต่างกัน. มันเป็นที่นิยมในการวัดระดับน้ำตาลหลังการอดอาหารเพราะความสะดวกในการวัดและความมุ่งมั่นของเวลาที่จะต้องใช้ที่นานมากของการทดสอบความทนทานต่อกลูโคสอย่างเป็นทางการซึ่งจะใช้เวลาสองชั่วโมงกว่าจะเสร็จสมบูรณ์และไม่ได้นำเสนอประโยชน์ที่ดีกว่าการทดสอบแบบการอดอาหาร ตามความหมายปัจจุบัน , การวัดค่าน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหารที่สูงกว่า 126 mg/dl (7.0 มิลลิโมล/ลิตร)สองครั้งจะมีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก, บุคคลที่มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารที่ 6.1-6.9 มิลลิโมล/ลิตร (110-125 mg/dl) จะมีการพิจารณาที่จะมีน้ำตาลในเลือดบกพร่อง คนที่มีน้ำตาลในเลือดที่ 7.8 มิลลิโมล/ลิตร (140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)หรือสูงกว่า แต่ไม่เกิน 11.1 มิลลิโมล/ลิตร (200 mg/dl) สองชั่วโมงหลังจาก 75 กรัมโหลดกลูโคสในช่องปากได้รับการพิจารณาว่ามีความทนทานต่อกลูโคสบกพร่อง. ในทั้งสองสภาวะก่อนเบาหวานดังกล่าว, โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาวะตัวหลังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการพัฒนาไปสู่โรคเบาหวานเต็มตัว, และเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย สมาคมโรคเบาหวานอเมริกันตั้งแต่ปี 2003 ใช้ช่วงที่แตกต่างกันเล็กน้อยสำหรับกลูโคสบกพร่องขณะอดอาหารที่ 5.6 ถึง 6.9 มิลลิโมล/ลิตร (100-125 mg/dl)
Glycated hemoglobin จะดีกว่ากลูโคสการอดอาหารสำหรับการกำหนดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและการเสียชีวิตจากสาเหตุใดๆ
โรคที่หายาก, โรคเบาจืด, เป็นโรคที่มีอาการคล้ายกับโรคเบาหวาน แต่ไม่มีการรบกวนการเผาผลาญน้ำตาล (เบาจืด หมายถึง "ไม่มีรส" ในภาษาละติน) และไม่เกี่ยวข้องกับกลไกการเกิดโรคแบบเดียวกัน
การป้องกัน
ไม่มีมาตรการป้องกันที่รู้จักกันดีสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1. เบาหวานชนิดที่ 2 มักจะสามารถป้องกันได้โดยการเป็นคนน้ำหนักปกติ, การออกกำลังกาย, และรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพต่อเนื่อง. การเปลี่ยนอาหารที่รู้จักกันว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคเบาหวานจะเป็นอาหารที่อุดมด้วยธัญพืชและเส้นใย, และเลือกไขมันที่ดีเช่นไขมันไม่อิ่มตัวหลายจุดที่พบในถั่ว, น้ำมันพืชและปลา การจำกัดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและการกินเนื้อแดงและแหล่งไขมันอิ่มตัวอื่น ๆ ให้น้อยลงก็สามารถช่วยในการป้องกันโรคเบาหวานได้อีกด้วย. การสูบบุหรี่ก็เกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ดังนั้นการเลิกสูบบุหรี่จะเป็นมาตรการป้องกันที่สำคัญเช่นกัน
การดูแลและป้องกันโรคเบาหวานขึ้นตานั้นทำได้ไม่ยาก หากเราใส่ใจกับการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ร่วมกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิต ไขมันในเส้นเลือด โรคไต หรือการสูบบุหรี่ เป็นต้น ควรตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง และหากมีอาการผิดปกติ เช่น ตามัว มีเงาดำลอยไปมา ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
การบริหารจัดการ
บทความหลัก: การจัดการโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่การรักษาไม่เป็นที่รู้จักกันยกเว้นในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงมาก ๆ การบริหารจัดการจะมุ่งเน้นที่การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับปกติ ("euglycemia") ที่จะเป็นไปได้, โดยไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง. สิ่งนี้สามารถทำได้ด้วยอาหาร, การออกกำลังกาย, และการใช้ยาที่เหมาะสม (อินซูลินในกรณีของโรคเบาหวานชนิดที่ 1; การให้ยาทางปาก, เช่นเดียวกับที่อาจจะเป็นอินซูลิน, ในโรคเบาหวานชนิดที่ 2)
การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคและการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการรักษามีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน, เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานอยู่ห่างไกลน้อยลงและน้อยลงอย่างรุนแรงสำหรับคนที่มีการบริหารจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดที่ดี เป้าหมายของการรักษาคือระดับ HbA1C ที่ 6.5%, แต่ไม่ควรจะต่ำกว่านั้น, และอาจจะตั้งค่าให้สูงขึ้น. การให้ความสนใจจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจจะเร่งผลที่อันตรายต่อโรคเบาหวาน. เหล่านี้รวมถึงการสูบบุหรี่, ระดับคอเลสเตอรอลสูง, โรคอ้วน, ความดันโลหิตสูง, และขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รองเท้าพิเศษถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดแผล, หรือการเกิดแผลซ้ำ, สำหรับเท้าที่มีความเสี่ยงของโรคเบาหวาน. อย่างไรก็ตาม หลักฐานสำหรับประสิทธิภาพของการปฏิบัติแบบนี้ยังคงคลุมเครือ
วิถีการดำเนินชีวิต
ดูเพิ่มเติม: อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถได้รับประโยชน์จากการศึกษาเกี่ยวกับโรคและการรักษา, ภาวะโภชนาการที่ดีเพื่อให้บรรลุน้ำหนักตัวปกติ, และการออกกำลังกายที่เหมาะสม, ที่มีเป้าหมายของการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้อยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้. นอกจากนี้ โรคเบาหวานมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเลือด, การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจึงได้รับการแนะนำให้ควบคุมความดันโลหิต
ยา
ดูเพิ่มเติม: ยาต้านโรคเบาหวาน
ตัวยา metformin โดยทั่วไปได้รับการแนะนำให้รักษาขั้นตอนแรกสำหรับโรคเบาหวานชนิดที่ 2, เนื่องจากมีหลักฐานที่ดีที่มันช่วยจะลดอัตราการตาย อย่างไรก็ตาม การใช้ยาแอสไพรินเป็นประจำไม่ได้พบว่ามีส่วนช่วยให้ดีขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สารยับยั้งเอนไซม์เพื่อแปลง Angiotensin (อังกฤษ: Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACEIs)) มีส่วนช่วยให้ได้ผลการรักษาดีขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในขณะที่ยาที่คล้ายกันเช่น angiotensin receptor blockers (ARBs) ไม่สามารถทำได้
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โดยทั่วไปจะได้รับการบำบัดด้วยการรวมกันของอินซูลินปกติและอินซูลินที่ไม่ผ่านทางปาก (อังกฤษ: Nothing by Mouth (NPH)) หรือ analogs อินซูลินสังเคราะห์. เมื่ออินซูลินถูกใช้ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2, สูตรที่ออกฤทธิ์นานมักจะถูกเพิ่มเข้าไปในระยะเริ่ม, ในขณะที่ยังคงใช้ยาในช่องปาก จากนั้น ปริมาณของอินซูลินจะเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีผล
ในผู้ที่มีโรคเบาหวาน, บางครั้งมีการแนะนำให้มีระดับความดันโลหิตที่ต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท อย่างไรก็ตาม หลักฐานเพียงแค่สนับสนุนให้มีความดันที่น้อยกว่าหรือเท่ากับที่ไหนสักแห่งระหว่าง 140/90 มิลลิเมตรปรอทจนถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอท
การปลูกถ่ายตับอ่อน
การปลูกถ่ายตับอ่อนบางครั้งได้รับการพิจารณาสำหรับคนที่มีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของโรค, รวมถึงโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องปลูกถ่ายไต
การสนับสนุน
ในหลายประเทศที่ใช้ระบบแพทย์รักษาโรคทั่วไปหรือแพทย์ประจำบ้าน (อังกฤษ: general practitioner) เช่นสหราชอาณาจักร, การดูแลอาจเกิดขึ้นส่วนใหญ่นอกโรงพยาบาล, การดูแลจากผู้เชี่ยวชาญตามโรงพยาบาลจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนหรือการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทำได้ยากหรือโครงการวิจัยเท่านั้น. ในสถานการณ์อื่นๆ แพทย์ประจำบ้านและผู้เชี่ยวชาญจะทำงานร่วมกันเป็นทีม. การสนับสนุนระยะไกลที่บ้าน (อังกฤษ: home telehealth) สามารถเป็นเทคนิคการจัดการที่มีประสิทธิภาพ
ระบาดวิทยา
บทความหลัก: ระบาดวิทยาของโรคเบาหวาน
ณ ปี 2013, มี 382 ล้านคนที่มีโรคเบาหวานทั่วโลก. เป็นชนิดที่ 2 ประมาณ 90% ของทั้งหมด. ในจำนวนนี้จะเท่ากับ 8.3% ของประชากรผู้ใหญ่ ที่มีอัตราเท่ากันในทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
ในปี 2012 มี 1.5 ล้านคนเสียชีวิตทั่วโลกทำให้มันเป็นสาเหตุของการตายลำดับที่ 8. มากกว่า 80% ของการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง
โรคเบาหวานเกิดขึ้นทั่วโลก และเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่ 2) ในประเทศที่พัฒนามากขึ้น. อัตราที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดคาดว่าจะเกิดขึ้นในเอเชียและแอฟริกา, ในที่ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานอาจจะอาศัยอยู่ในปี 2030. การเพิ่มขึ้นของอัตราในประเทศกำลังพัฒนาเป็นไปตามแนวโน้มของการขยายตัวของเมืองและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต, รวมทั้งอาหาร "สไตล์ตะวันตก". นี้ได้แสดงให้เห็นผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (เช่นอาหาร), แต่มีความเข้าใจน้อยด้านกลไกทั้งหลายในปัจจุบัน
ประวัติ
บทความหลัก: ประวัติของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคแรกที่อธิบายไว้, กับต้นฉบับภาษาอียิปต์ราว 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราชที่พูดถึง "ตะกอนมากเกินไปของปัสสาวะ". กรณีแรกที่ได้อธิบายไว้เชื่อว่าจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แพทย์อินเดียประมาณเวลาเดียวกันได้ระบุโรคและจัดเป็น "madhumeha" หรือ "ปัสสาวะน้ำผึ้ง" จากการสังเกตว่าปัสสาวะจะดึงดูดมด. คำว่า "โรคเบาหวาน" หรือ "ผ่านตลอด" ถูกใช้ครั้งแรกในปี 230 ก่อนคริสต์ศักราชโดยชาวกรีก Appollonius (แพทย์)แห่งเมมฟิส. โรคได้รับการพิจารณาว่าหายากในช่วงเวลาของจักรวรรดิโรมัน, ด้วยการแสดงความคิดเห็นของ Galen เขาพบแค่สองกรณีในอาชีพของเขา. นี่คืออาจจะเป็นเพราะการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตในรูปแบบของคนโบราณ, หรือเพราะอาการทางคลินิกได้ถูกพบในระหว่างขั้นก้าวหน้าของโรคไปแล้ว. Galen ตั้งชื่อโรคว่า "โรคท้องร่วงของปัสสาวะ" (diarrhea urinosa). งานกู้ชีพที่เก่าแก่ที่สุดที่มีการอ้างอิงอย่างละเอียดถึงโรคเบาหวานเป็นของ Aretaeus แห่ง Cappadocia (ศตวรรษที่ 2 หรือต้นศตวรรษที่ 3 คริสต์ศักราช). เขาได้อธิบายถึงอาการและทิศทางของโรค, ซึ่งเขาให้น้ำหนักไปที่ความชื้นและความเย็น, เป็นการสะท้อนความเชื่อของ "โรงเรียนลม". เขาตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ลึกซึ้งของโรคเบาหวานที่มีกับโรคอื่น ๆ และเขากล่าวถึงการวินิจฉัยแยกแยะโรคจากงูกัดที่กระตุ้นให้เกิดความกระหายมากเกินไปเช่นเดียวกัน. ผลงานของเขายังไม่รู้จักในประเทศตะวันตกจนกระทั่งกลางศตวรรษที่ 16 เมื่อ, ในปี 1552, บทความภาษาละตินฉบับแรกได้รับการตีพิมพ์ในเวนิซ
เบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ถูกระบุว่าเป็นสภาวะที่แยกต่างหากเป็นครั้งแรกโดยแพทย์อินเดีย Sushruta และ Charaka ในปีค.ศ. 400-500, ด้วยชนิดที่ 1 เกี่ยวข้องกับเยาวชนและชนิดที่ 2 กับการมีน้ำหนักเกิน. คำว่า "mellitus" หรือ "จากน้ำผึ้ง "ถูกเติมเข้าไปโดยชาวอังกฤษ จอห์น Rolle ในปลายปีค.ศ. 1700s เพื่อแยกสภาวะออกจากสภาพที่เป็นโรคเบาจืด (อังกฤษ: diabetes insipidus) ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะบ่อยเช่นกัน. การรักษาที่มีประสิทธิภาพไม่ได้รับการพัฒนาจนถึงช่วงต้นของศตวรรษที่ 20, เมื่อชาวแคนาดา Frederick Banting และ Charles Herbert Best ได้แยกและทำอินซูลินให้บริสุทธิ์ในปี 1921 และปี 1922. งานนี้ตามด้วยการพัฒนาของอินซูลินที่ไม่ผ่านปากและออกฤทธิ์ได้นานในปี 1940s.
นิรุกติศาสตร์
คำว่าโรคเบาหวาน (อังกฤษ: diabetes (ไดอะบี'ทิส)) มาจากภาษาลาติน diabētēs, ซึ่งรับต่อมาจากภาษากรีกโบราณ διαβήτης (diabētēs) ซึ่งหมายความว่า "สัญจรผ่าน; กาลักน้ำ" แพทย์ชาวกรีกโบราณ Aretaeus แห่ง Cappadocia (Floruit คริสต์ศตวรรษที่ 1) ใช้คำนั้น, ด้วยความหมายที่ตั้งใจให้เป็น "ปล่อยมากเกินไปของปัสสาวะ" เป็นชื่อของโรคนี้ ในที่สุดคำก็มาจากภาษากรีก διαβαίνειν ("diabainein") มีความหมายว่า "ที่ผ่านตลอด" ซึ่งประกอบด้วย δια- (dia-) ความหมาย "ตลอด" และ βαίνειν (bainein) ความหมาย "ที่ไป". คำว่า "diabetes" ถูกบันทึกเป็นครั้งแรกไว้ในภาษาอังกฤษในรูปแบบ diabete ในข้อเขียนทางการแพทย์ราวปี 1425
คำว่า mellitus (อ่าน เมล'ลิทัส หรือ เมล'ไลทัส) มาจากคำภาษาละตินคลาสสิก mellītus หมายถึง "mellite" (เช่นถูกทำให้หวานด้วยน้ำผึ้ง; หวานน้ำผึ้ง). คำภาษาลาตินมาจาก mell ซึ่งมาจาก mel หมายถึง "น้ำผึ้ง"; ความหวาน; สิ่งที่น่าพอใจ, และคำต่อท้าย -ītus, ที่มีความหมายเหมือนกับคำต่อท้ายในภาษาอังกฤษ "-ite" เป็นเพราะ Thomas Willis ที่ในปี 1675 ได้เพิ่มคำว่า "mellitus" เข้ากับคำว่า "diabetes" เพื่อกำหนดสำหรับโรค, เมื่อเขาสังเกตเห็นปัสสาวะของผู้ป่วยเบาหวานที่มีรสหวาน (glycosuria). รสหวานนี้ได้รับการสังเกตเห็นในปัสสาวะโดยชาวกรีกโบราณ, จีน, อียิปต์, อินเดียและเปอร์เซีย
สังคมและวัฒนธรรม
"ประกาศของนักบุญวินเซนต์" ปี 1989 เป็นผลมาจากความพยายามของนานาชาติในการปรับปรุงการดูแลที่ให้กับผู้เป็นโรคเบาหวาน. การทำเช่นนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญไม่เพียงแต่ในแง่ของคุณภาพของชีวิตและความคาดหวังในชีวิต, แต่ยังประหยัดค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากโรคเบาหวานที่ได้รับการแสดงที่จะเป็นท่อระบายทรัพย์ที่สำคัญในแหล่งทรัพยากรที่เกี่ยวกับสุขภาพและความสามารถในการผลิตสำหรับระบบการดูแลสุขภาพและรัฐบาล
มีหลายประเทศที่ได้จัดตั้งโครงการโรคเบาหวานแห่งชาติขึ้นมามากขึ้นเพื่อปรับปรุงการรักษาโรคนี้แต่ประสบความสำเร็จน้อย
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาการทางระบบประสาทเช่นอาการชาหรือเสียวซ่าในเท้าหรือมือมีแนวโน้มที่จะตกงานเป็นสองเท่าของผู้ที่ไม่มีอาการ
ในปี 2010, อัตราการเข้ารักษาในแผนกฉุกเฉิน (ED) ที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สูงขึ้นในจากชุมชนรายได้ต่ำสุด (526 ต่อประชากร 10,000) สูงกว่าหมู่คนจากชุมชนรายได้สูงที่สุด (236 ต่อประชากร 10,000). ประมาณ 9.4% ของการเข้ารักษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานที่ ED เป็นพวกไม่มีประกัน
การตั้งชื่อ
คำว่า "โรคเบาหวานชนิดที่ 1" ได้เข้ามาแทนที่คำในอดีตหลายคำ, เช่นโรคเบาหวานเริ่มมีอาการในวัยเด็ก, โรคเบาหวานเยาวชน, และโรคเบาหวานที่ขึ้นอยู่กับอินซูลิน (IDDM). ในทำนองเดียวกัน คำว่า "โรคเบาหวานชนิดที่ 2" ได้แทนที่คำในอดีตหลายคำ, เช่นโรคเบาหวานที่เริ่มมีอาการในผู้ใหญ่, โรคเบาหวานที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน, และโรคเบาหวานที่ไม่ขึ้นอยู่กับอินซูลิน (NIDDM) นอกเหนือไแจากทั้งสองประเภทนี้ไม่มีศัพท์มาตรฐานที่ได้ตกลงกัน
สัตว์อื่น ๆ
บทความหลัก: โรคเบาหวานในสุนัขและโรคเบาหวานในแมว
ในสัตว์ทั้งหลาย, โรคเบาหวานที่พบมากที่สุดคือในสุนัขและแมว. สัตว์วัยกลางสัตว์ได้รับผลกระทบมากที่สุด. สุนัขเพศเมียมีแนวโน้มเป็นสองเท่าที่จะได้รับผลกระทบมากกว่าเพศผู้, ในขณะที่บางแหล่งอ้างอิง, แมวเพศชายยังมีแนวโน้มมากกว่าเพศเมีย. ในสัตว์ทั้งสองชนิด, ทุกสายพันธุ์อาจได้รับผลกระทบ, แต่บางสายพันธุ์ของสุนัขขนาดเล็กที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานเช่นพุดเดิ้ลขนาดเล็ก อาการต่าง ๆ อาจเกี่ยวข้องกับการสูญเสียน้ำและภาวะปัสสาวะมาก, แต่ทิศทางอาจจะร้ายกาจ. สัตว์ที่เป็นโรคเบาหวานมีแนวโน้มสูงที่จะติดเชื้อ. ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวที่ได้รับการยอมรับในมนุษย์หาได้ยากกว่าในสัตว์. หลักการของการรักษา (การสูญเสียน้ำหนัก, ยาต้านโรคเบาหวานทางปาก, การให้อินซูลินใต้ผิวหนัง) และการจัดการของกรณีฉุกเฉิน (เช่น กรดเกินเนื่องจากสารคีโตน) มีความคล้ายคลึงกับในมนุษย์
การวิจัย
อินซูลินแบบสูดดมได้รับการพัฒนา ผลิตภัณฑ์เดิมถูกถอดถอนเนื่องจากผลข้างเคียง. ตัวยา AFREZZA ภายใต้การพัฒนาโดย บริษัทยา MannKind คอร์ปอเรชั่น ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและการขายทั่วไปในเดือนมิถุนายนปี 2014 มีหลายข้อดีของอินซูลินแบบสูดดม เช่นพวกมันมีความสะดวกและง่ายต่อการใช้และให้การรักษาแบบทางเลือกที่มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้อินซูลินทางหลอดเลือดดำ
อาการแทรกซ้อน
- ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)
เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของ หลอดเลือดเล็ก ๆ ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane มากขึ้น ทำให้ Basement membrane หนา แต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ Macula บวม ซึ่งจะทำให้เกิด Blurred vision หลอดเลือดที่ฉีกขาดจะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมายจนบดบังแสงที่มาตกกระทบยัง Retina ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง
- ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)
พยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่ Glomeruli จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubule จึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 2- 3 ปี นับเข้าสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้าย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
- ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy)
หากหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation ในที่สุด
- โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease)
- โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease)
- โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)
- แผลเรื้อรังจากเบาหวาน (Diabetic ulcer)
การรักษา
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งไม่มีหนทางรักษายกเว้นในบางกรณี การรักษามุ่งรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงเกณฑ์ปกติให้มากที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจบรรลุโดยอาหาร การออกกำลังกายและการใช้ยาที่เหมาะสม
- ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ การรักษาจำเป็นจะต้องทำงานร่วมกันระหว่างผู้ป่วย แพทย์ ผู้ให้คำแนะนำเรื่องโรคเบาหวาน โภชนาการและยา การรักษานี้จะช่วยให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยารักษา
- ควรเจาะระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ ให้ปรึกษาแพทย์ว่าควรเจาะช่วงใด และบ่อยแค่ไหนถึงจะดีที่สุด
การรักษาโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ มีเป้าหมาย คือ
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดชีวิต คือประมาณ 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด ใช้ค่าน้ำตาลแบบฮีโมโกลบินเอวันซีในการประเมินผู้ป่วยเบาหวาน ค่าฮีโมโกลบินเอวันซี ที่เหมาะสมคือต่ำกว่าร้อยละ 7
- ป้องกันหรือชะลอโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
- เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย คือให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขและมีคุณภาพ
- ควบคุมระดับความดันโลหิต โดยระดับความดันโลหิตที่เหมาะสม คือ น้อยกว่า 130/90 มิลลิเมตรปรอท และระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติอีกด้วย โดยดูจากระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ ต้องน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ดังนั้นการรักษาโรคเบาหวานจะต้องอาศัยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยา ซึ่งทั้งนี้ต้องการกำลังใจของผู้สูงอายุและความร่วมมือจากญาติพี่น้องหรือผู้ดูแล การใช้ยารักษาจะเริ่มเมื่อผู้ป่วยสูงอายุไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้บรรลุเป้าหมายด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาที่เหมาะสมคือออกฤทธิ์ไม่แรงและหมดฤทธิ์เร็ว เริ่มจากขนาดยาต่ำ ๆ ก่อน มีวิธีการใช้ยาที่ง่ายและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด ผู้ป่วยที่ใช้ยาจะต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกายร่วมด้วยเสมอ
ผู้ป่วยต้องใช้ยาตลอดชีวิตเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและอาการของโรคเบาหวานตามเป้าหมายที่กำหนด
มีสมุนไพรไทยหลายชนิด ที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ได้แก่ ตำลึง มะระขี้นก ว่านหางจระเข้ กะเพรา ใบหม่อนหญ้าหวาน ปอกะบิด เจียวกู่หลาน ผักจินดา
แหล่งข้อมูลอื่น
Disease of the pancreas and glucose metabolism
| |
---|---|
Diabetes |
|
Abnormal blood glucose levels | |
Insulin disorders | |
Other pancreatic disorders |
ตับอ่อน/ เมแทบอลิซึมของ คาร์โบไฮเดรต |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Hypothalamic/ pituitary axes |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
Height | |||||||||||||||||||||||||||||||||
Multiple | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|