Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

เบาหวานชนิดที่ 2

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
เบาหวานชนิดที่ 2
ชื่ออื่น Noninsulin-dependent diabetes mellitus (NIDDM), adult-onset diabetes
Blue circle for diabetes.svg
สัญลักษณ์วงกลมสีน้ำเงินซึ่งเป็นสากลสำหรับโรคเบาหวาน
สาขาวิชา วิทยาต่อมไร้ท่อ
อาการ กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะมาก น้ำหนักลดที่อธิบายสาเหตุไม่ได้ หิวบ่อย
ภาวะแทรกซ้อน ภาวะน้ำตาลสูงในเลือดและออสโมลาริตีสูง ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคจอตาเหตุเบาหวาน ไตวาย การตัดอวัยวะออก
การตั้งต้น วัยกลางคนหรือสูงอายุ
ระยะดำเนินโรค ระยะยาว
สาเหตุ โรคอ้วน การขาดการออกกำลังกาย พันธุกรรม
วิธีวินิจฉัย การตรวจเลือด
การป้องกัน การรักษาน้ำหนักปกติ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม
การรักษา การเปลี่ยนแปลงอาหาร เมตฟอร์มิน อินซูลิน การผ่าตัดโรคอ้วน
พยากรณ์โรค การคาดหมายคงชีพสั้นลง 10 ปี
ความชุก 392 ล้านคน (พ.ศ. 2558)

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นความผิดปกติของเมแทบอลิซึมระยะยาวซึ่งมีลักษณะคือ ภาวะน้ำตาลสูงในเลือด การดื้ออินซูลิน และการขาดอินซูลินโดยสัมพัทธ์ อาการโดยทั่วไปได้แก่ กระหายน้ำเพิ่มขึ้น ปัสสาวะมากและน้ำหนักลดที่อธิบายสาเหตุไม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการหิวบ่อย รู้สึกเหนื่อย และปวดไม่หาย อาการมักมาอย่างช้า ๆ ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากภาวะน้ำตาลสูงในเลือดรวมถึงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคจอตาเหตุเบาหวานซึ่งอาจเป็นเหตุให้ตาบอด ไตวายและมีการไหลเวียนโลหิตในแขนขาน้อยซึ่งอาจทำให้ต้องตัดอวัยวะออก อาจเกิดภาวะน้ำตาลสูงในเลือดและออสโมลาริตีสูง (hyperosmolar hyperglycemic state) ทว่า ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน (ketoacidosis) พบไม่บ่อย

เบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่เกิดจากโรคอ้วนและการขาดการออกกำลังกาย บางคนมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมมากกว่าคนทั่วไป มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คิดเป็นประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด ส่วนอีก 10% ที่เหลือเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานแห่งครรภ์เป็นหลัก ในเบาหวานชนิดที่ 1 มีระดับอินซูลินทั้งหมดลดลงเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด เนื่องจากการเสียเซลล์บีตาที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อนเหตุภาวะภูมิต้านตนเอง การวินิจฉัยโรคเบาหวานทำได้โดยการตรวจเลือดซึ่งมีหลายวิธี เช่น การตรวจระดับกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหาร (fasting plasma glucose) การทดสอบความทนกลูโคสทางปาก (oral glucose tolerance test) หรือการตรวจระดับฮีโมโกลบินไกลเคต (glycated hemoglobin, A1C)

เบาหวานชนิดที่ 2 ป้องกันได้ส่วนหนึ่งโดยการรักษาน้ำหนักให้ปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม การรักษามีการออกกำลังกายและเปลี่ยนแปลงอาหาร หากระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลงอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้ใช้ยาเมตฟอร์มิน (metformin) หลายคนอาจลงเอยด้วยการฉีดอินซูลิน ในผู้ที่ต้องใช้อินซูลิน แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ทว่า อาจไม่จำเป็นในรายที่รับประทานยา การผ่าตัดโรคอ้วน (bariatric surgery) มักทำให้โรคเบาหวานดีขึ้นในผู้ป่วยอ้วน

อัตราเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นมากนับแต่ปี พ.ศ. 2503 ในทำนองเดียวกับโรคอ้วน ในปี พ.ศ. 2558 มีประชากรประมาณ 392 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อเทียบกับประมาณ 30 ล้านคนในปี พ.ศ. 2528 ตรงแบบโรคเริ่มในวัยกลางคนหรือสูงอายุ แม้อัตราเบาหวานชนิดที่ 2 กำลังเพิ่มขึ้นในคนหนุ่มสาว เบาหวานชนิดที่ 2 สัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพสั้นลงสิบปี

สาเหตุ

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นผลจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกัน ทั้งส่วนที่เป็นจากพันธุกรรม และส่วนที่เป็นจากวิถีชีวิต ซึ่งบางปัจจัยก็สามารถควบคุมได้ เช่น อาหาร ความอ้วน บางปัจจัยก็ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อายุมาก เพศหญิงพบบ่อยกว่าเพศชาย และพันธุกรรม ภาวะโภชนาการของมารดาขณะตั้งครรภ์ก็อาจมีส่วน โดยอาจผ่านกลไกการเติมหมู่เมทิลให้กับดีเอ็นเอของทารกในครรภ์ แบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้บางชนิดถูกพบว่ามีความเชื่อมโยงกับเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ Prevotella copri และ Bacteroides vulgatus

วิถีชีวิต

ปัจจัยจากวิถีชีวิตมีความสัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมาก โดยปัจจัยที่โดดเด่นที่สุดคือ โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน การขาดกิจกรรมทางกาย กินอาหารไม่เหมาะสม ความเครียด และการใช้ชีวิตแบบสังคมเมือง

พันธุกรรม

มียีนหลายยีนที่สัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 โดยไม่ได้มียีนใดยีนหนึ่งที่ทำให้เป็นเบาหวาน แต่ความผิดปกติของยีนแต่ละตัวต่างเพิ่มโอกาสที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 72% ที่มีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม

โรคและยาต่าง ๆ

มียาและโรคบางอย่างที่เพิ่มโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ เช่น กลูโคคอร์ติคอยด์ ไทอะไซด์ เบตาบล็อกเกอร์ ยาต้านจิตเวชนอกแบบ และสแตติน คนที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นเบาหวานที่ชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้น โรคอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับเบาหวานชนิดที่ 2 เช่น สภาพโตเกินไม่สมส่วน กลุ่มอาการคุชชิง ไทรอยด์ทำงานเกิน ฟีโอโครโมไซโตมา และมะเร็งบางชนิด เช่น กลูคากอโนมา เป็นต้น ผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนพบว่าสัมพันธ์กับการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 โรคการกินผิดปกติบางโรคอาจมีผลต่อเบาหวานชนิดที่ 2 โดยบูลิเมียเพิ่มโอกาสเป็นเบาหวาน และอะนอเร็กเซียลดโอกาสเป็นเบาหวาน

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение