Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

เพลแลกรา

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
เพลแลกรา
Pellagra2.jpg
อาการทางผิวหนังของเพลแลกรา ผิวหนังลอก, แดง และหนาตัวตรงส่วนที่โดนแดด
สาขาวิชา ตจวิทยา
อาการ ผิวหนังอักเสบ, ท้องเสีย, ภาวะสมองเสื่อม, เจ็บปาก
ประเภท ปฐมภูมิ, ทุติยภูมิ
สาเหตุ ร่างกายมีไนอาซินไม่เพียงพอ
วิธีวินิจฉัย Based on symptoms
โรคอื่นที่คล้ายกัน ควาชิออร์คอร์, เพมฟีกัส, โฟโตเดอร์มาทิทิส, พอร์ฟัยเรีย
การป้องกัน ขจัดความยากจน
การรักษา ให้เสริมไนอาซินหรือนิโคทินาไมด์
พยากรณ์โรค ดี (หากได้รับการรักษา), เสียชีวิตใน ~ 5 ปี (ไม่ได้รับการรักษา)
ความชุก พบยาก (ประเทศพัฒนาแล้ว), ค่อนข้างทั่วไป (ประเทศกำลังพัฒนา)

เพลแลกรา หรือ เพลลากรา (อังกฤษ: Pellagra) เป็นโรคที่เกิดจากการขาดไนอาซิน (วิตามิน บี3) อาการประกอบด้วยการอักเสบของผิวหนัง, ท้องเสีย, ภาวะสมองเสื่อม และความเจ็บปวดในปาก โดยผิวหนังส่วนที่เสียดสีบ่อยหรือโดนแดดจะแสดงอาการก่อน เมื่อเวลาผ่านไปผิวหนังอาจเข้มลง หลุดลอก หรือแดงขึ้น

เพลแลกราแบ่งออกเป็นสองชนิด ปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ แบบปฐมภูมิเกิดจากอาหารการกินที่มีไนอาซินกับทริพโทแฟนไม่เพียงพอ แบบทุติยภูมิเกิดจากความสามารถในการเอาไนอาซินจากอาหารออกมาใช้โดยร่างกาย. อาจเป้นผลจากการติดสุรา, ท้องเสียยาวนาน, โรคคาร์ซินอยด์, โรคฮาร์ทนัพ หรือยาเช่นไอโซไนอาซิด การตรวจโรคนั้นประเมินตามอาการแสดงและอาจตรวจปัสสาวะร่วมด้วย

การรักษาสามารถทำด้วยการเสริมไนอาซินหรือนิโคทินาไมด์ อาการจะดีขึ้นได้ในเวลาเพียงไม่กี่วันหรือหนึ่งอาทิตย์ รวมถึงมักแนะนำให้ประบอาหารการกินควบคู่ไปด้วย การลดการเผชิญกับแสดงแดดด้วยการทาครีมกันแดดหรือสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดนั้นจำเป็นเพื่อให้ผิวหนังค่อย ๆ รักษาอาการ และเป้นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา โรคนี้พบได้มากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในแอฟริกาแถบซับซาฮารา

ระบาดวิทยา

เพลลากราอาจพบได้ทั่วไปในผู้คนที่มีแหล่งพลังงานหลักจากการกินข้าวโพด โดยเฉพาะในแถบอเมริกาใต้ ที่ซึ่งข้าวโพดเป็นอาหารหลัก หากข้าวโพดไม่ได้ถูกนำไปผ่านกระบวนการนิกซ์ทามาไลส์จะทำให้ขาดทริพโทแฟนเช่นเดียวกับไนอาซิน นอกจากนี้ในอดีต เพลลากราเคยเป็นโรคระบาดในรัฐที่ยากจนของสหรัฐ เช่นมิสซิสซิพพี กับ อะลาแบมา ที่ซึ่งปรากฏอาการของเพลลากราเป็นวงจรเสมอ ๆ ทุก ๆ ฤดูใบไม้ร่วงหลังผ่านพ้นฤดูหนาวซึ่งมีแต่เนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก จนโรคนี้เป็นที่รู้จักในเวลานั้นว่า "โรคฤดูใบไม้ร่วง" (spring sickness) รวมถึงในทัณฑสถานและสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ตามที่ได้ศึกษาโดย ดร. จอเซฟ โกลด์เบอร์เยอร์

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение