Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
(Endometriosis)
Endometriosis.jpg
ภาพจากการผ่าตัดส่องกล้อง แสดงให้เห็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
สาขาวิชา นรีเวชวิทยา
อาการ Pelvic pain, infertility
การตั้งต้น อายุ 30–40 ปี
ระยะดำเนินโรค ระยะยาว
สาเหตุ ไม่ทราบสาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยง ประวัติครอบครัว
วิธีวินิจฉัย วินิจฉัยจากอาการ, การถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์, การตัดชิ้นเนื้อตรวจ
โรคอื่นที่คล้ายกัน Pelvic inflammatory disease, irritable bowel syndrome, interstitial cystitis, fibromyalgia
การป้องกัน Combined birth control pills, exercise, avoiding alcohol and caffeine
การรักษา NSAIDs, continuous birth control pills, intrauterine device with progestogen, surgery
ความชุก 10.8 million (2015)
การเสียชีวิต ~100 (0.0 to 0.1 per 100,000, 2015)

เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เป็นภาวะที่เซลล์ของชั้นเยื่อบุมดลูกไปเจริญเป็นเนื้อเยื่ออยู่นอกมดลูก ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่รังไข่ ท่อนำไข่ และเนื้อเยื่อรอบๆ มดลูกและรังไข่ แต่ในบางกรณีก็อาจพบเกิดขึ้นที่ส่วนอื่นของร่างกายได้ อาการที่พบบ่อยคืออาการปวดท้องน้อยและมีบุตรยาก ผู้ป่วยเกือบครึ่งหนึ่งจะมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง และ 70% จะมีอาการปวดระหว่างมีรอบเดือน บางรายอาจมีอาการปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ การมีบุตรยากพบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่พบได้ไม่บ่อย เช่น อาการทางระบบปัสสาวะ หรืออาการทางระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยประมาณ 25% ไม่มีอาการ ในรายที่ไปพบแพทย์ด้วยปัญหามีบุตรยากแล้วพบว่ามีภาวะนี้ 85% จะไม่มีอาการปวด ภาวะนี้อาจมีผลกระทบทางด้านสังคมและจิตใจต่อผู้ป่วยได้

สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือการมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ บริเวณที่มีเยื่อบุมดลูกไปเจริญอยู่จะมีเลือดออกทุกเดือน ทำให้เกิดการอักเสบและแผลเป็นขึ้นในบริเวณนั้น เซลล์เยื่อบุมดลูกที่เจริญผิดที่เหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นมะเร็ง การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำโดยดูจากอาการร่วมกับการถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์ อย่างไรก็ดีการวินิจฉัยยืนยันที่แม่นยำที่สุดจะต้องทำโดยการตัดชิ้นเนื้อตรวจ ภาวะอื่นที่ทำให้มีอาการคล้ายกันได้แก่ โรคอักเสบของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานสตรี, กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น, และไฟโบรไมอัลเจีย ภาวะนี้มักถูกวินิจฉัยผิดได้บ่อย หลายครั้งที่ผู้ป่วยได้รับการแนะนำว่าอาการที่ประสบนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือเป็นเรื่องปกติ

มีข้อมูลหลายชุดที่สนับสนุนว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะนี้ได้ การออกกำลังกายและการลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ก็อาจช่วยป้องกันได้เช่นกัน ภาวะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การใช้ยาแก้ปวด ยาฮอร์โมน หรือการผ่าตัด ยาแก้ปวดที่แนะนำให้ใช้คือยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่น นาพรอกเซน เป็นต้น การกินยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมต่อเนื่องหรือการใช้ห่วงคุมกำเนิดแบบปล่อยฮอร์โมนก็อาจช่วยได้เช่นกัน ยาในกลุ่ม GnRH agonist สามารถช่วยเพิ่มโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ในรายที่มีบุตรยาก การผ่าตัดเอาบริเวณที่เป็นเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ออกอาจจำเป็นต้องทำในรายที่รักษาด้วยยาหรือวิธีการอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล

ข้อมูลปี พ.ศ. 2558 ประมาณไว้ว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคนี้อยู่ประมาณ 10.8 ล้านคน บางที่ระบุว่ามีผู้หญิงป่วยจากโรคนี้ประมาณ 6-10% และในคนที่ไม่มีอาการก็อาจมีโรคนี้อยู่ 2-11% ผู้หญิงทั่วไป 11% จะตรวจเจอเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ที่ยังไม่ได้รับวินิจฉัยจากการทำเอ็มอาร์ไอ ภาวะนี้พบได้บ่อยที่สุดในคนอายุประมาณ 30-40 ปี แต่ก็มีพบในเด็กอายุน้อยที่สุดคือ 8 ปี ส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดการเสียชีวิต โดยมีอัตราตายอยู่ที่ประมาณ 0-0.1 ต่อ 100,000 ประชากร แต่เดิมโรคนี้จะถูกนับรวมเป็นโรคเดียวกันกับอะดิโนไมโอซิส และต่อมาจึงถูกแยกออกเป็นภาวะต่างหากเมื่อช่วงคริสตทศวรรษ 1920 โดยไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าภาวะนี้ถูกบรรยายไว้เป็นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อใด

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение