Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ไมโทคอนเดรีย

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแสดงไมโตคอนเรียสองชิ้นในเนื้อเยื่อปอดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในภาพสามารถเห็นแมทริกซ์และเมมเบรนของไมโทคอนเดรีย
ชีววิทยาเซลล์
Animal Cell.svg
องค์ประกอบของเซลล์สัตว์โดยทั่วไป:
  1. นิวคลีโอลัส
  2. นิวเคลียส
  3. ไรโบโซม (จุดเล็ก ๆ)
  4. เวสิเคิล
  5. ร่างแหเอนโดพลาสมิกแบบขรุขระ
  6. กอลไจแอปพาราตัส (หรือ กอลไจบอดี)
  7. ไซโทสเกเลตัน
  8. ร่างแหเอนโดพลาสมิกแบบเรียบ
  9. ไมโทคอนเดรียน
  10. แวคิวโอล
  11. ไซโทซอล (ของเหลวที่บรรจุออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นไซโทพลาสซึม)
  12. ไลโซโซม
  13. เซนโทรโซม
  14. เยื่อหุ้มเซลล์
Mitochondrion mini.svg
องค์ประกอบของไมโทคอนเดรียนทั่วไป

1 เยื่อหุ้มชั้นนอก

1.1 พอริน

2 ช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้ม

2.1 ช่องว่างคริสเตียล
2.2 ช่องว่างเพริเฟอรอล

3 ลาเมลลา

3.1 เยื่อหุ้มชั้นใน
3.11 เยื่อหุ้มบาวดารีชั้นใน
3.12 เยื่อหุ้มคริสเต
3.2 แมตริกซ์
3.3 คริสเต

4 ดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรีย
5 เมตริกซ์กรานูล
6 ไรโบโซม
7 เอทีพีซินเทส


ไมโทคอนเดรียน (อังกฤษ: mitochondrion; /ˌmtəˈkɒndrɪən/, พหูพจน์: ไมโทคอนเดรีย; mitochondria) เป็นออร์แกเนลล์ประเภทกึ่งอิสระ (semi-autonomous) ที่มีเยื่อหุ้มสองชั้น พบในสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตโอตส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามบางเซลล์ในบางสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์อาจไม่มีไมโทคอนเดรียก็ได้ (เช่นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่โตเต็มวัยในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม) ส่วนในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจำนวนหนึ่ง เช่น microsporidia, parabasalids และ diplomonads ล้วนแล้วแต่ได้ลดขนาดหรือแปลงไมโทคอนเดรียไปเป็นโครงสร้างอื่น ๆ จนถึงปัจจุบัน มีการค้นพบยูคารีโอตชนิดเดียวเท่านั้น (Monocercomonoides) ที่ปราศจากไมโทคอนเดรียโดยสิ้นเชิง และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เพียงชนิดเดียว (Henneguya salminicola) ที่ปราศจากออร์แกเนลล์ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไมโทคอนเดรียโดยสิ้นเชิง อันเกี่ยวเนื่องกันกับการสูญเสียจีโนมที่เกี่ยวข้องกับไมโทคอนเดรียไปเลยโดยสิ้นเชิง

คำว่าไมโทคอนเดรียนนั้นมากจากภาษากรีก “ไมโตส” (μίτος, mitos) แปลว่าเชือก "thread") และ “ชอนดริออน” (χονδρίον, chondrion) แปลว่าเมล็ดหรือกรานูล ("granule") ไมโทคอนเดรียผลิตส่วนใหญ่ของอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) ภายในเซลล์ ซึ่งใช้เป็นแหล่งพลังงานเคมีของเซลล์ จึงมักเรียกไมโทคอนเดรียกันว่าเป็น “โรงไฟฟ้าของเซลล์” (powerhouse of the cell)

ไมโทคอนเดรียโดยทั่วไปมีพื้นที่ 0.75 และ 3 μm² แต่แตกต่างกันมากในขนาดและโครงสร้าง นอกจากการสร้างแหล่งพลังงานแก่เซลล์แล้ว ไมโทคอนเดรียยังมีหน้าที่อื่น ๆ เช่น ให้สัญญาณระหว่างเซลล์ (cell signalling), การแยกแยะเซลล์ออกจากกัน (cellular differentiation) และการทำลายตัวเองของเซลล์ (cell death หรือ อะพอพทอซิส; apoptosis) เช่นเดียวกันกับการดำเนินการควบคุมวัฒจักรเซลล์และการเจริญเติบโตของเซลล์ กระบวนการชีวกำเนิดของไมโทคอนเดรีย (Mitochondrial biogenesis) นั้นจึงมีการประสานกันอย่างชั่วคราวกับกระบวนการของเซลล์ต่าง ๆ เหล่านี้ ไมโทคอนเดรียนั้นพบว่ามีความเกี่ยวพันกับโรคในมนุษย์บางโรค เช่น กลุ่มความผิดปกติของไมโทคอนเดรีย (mitochondrial disorders),ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน, และโรคออทิซึม


Новое сообщение