Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ไฮดรอกซิซีน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ไฮดรอกซิซีน
Hydroxyzine.svg
Hydroxyzine-3d-sticks.png
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง /hˈdrɒksɪzn/
ชื่อทางการค้า Atarax, Vistaril, อื่น ๆ
ชื่ออื่น UCB-4492
AHFS/Drugs.com โมโนกราฟ
MedlinePlus a682866
ข้อมูลทะเบียนยา
Dependence
liability
ไม่มี
ช่องทางการรับยา ทางปาก, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
ประเภทยา ยาต้านฮิสทามีนรุ่นแรก
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S4 (ต้องใช้ใบสั่งยา)
  • In general: ℞ (Prescription only)
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล สูง
การจับกับโปรตีน 93%
การเปลี่ยนแปลงยา ตับ
สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยา เซทิริซีน, อื่น ๆ
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ ผู้ใหญ่: 20.0 ชั่วโมง
ผู้สูงอายุ: 29.3 ชั่วโมง
เด็ก: 7.1 ชั่วโมง
การขับออก ปัสสาวะ, อุจจาระ
ตัวบ่งชี้
  • (±)-2-(2-{4-[(4-chlorophenyl)-phenylmethyl]piperazin-1-yl}ethoxy)ethanol
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard 100.000.630
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตร C21H27ClN2O2
มวลต่อโมล 374.91 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • Clc1ccc(cc1)C(c2ccccc2)N3CCN(CC3)CCOCCO
  • InChI=1S/C21H27ClN2O2/c22-20-8-6-19(7-9-20)21(18-4-2-1-3-5-18)24-12-10-23(11-13-24)14-16-26-17-15-25/h1-9,21,25H,10-17H2 Yes check.svg 7
  • Key:ZQDWXGKKHFNSQK-UHFFFAOYSA-N Yes check.svg 7
  (verify)
Pharmaklog.png สารานุกรมเภสัชกรรม

ไฮดรอกซิซีน (Hydroxyzine) เป็นสารต้านฮิสตามีนรุ่นแรกที่อยู่ในกลุ่ม diphenylmethane และ piperazine ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยบริษัทเบลเยียม (Union Chimique Belge) ในปี 2499 และยังเป็นยาที่ใช้อย่างกว้างขวางทุกวันนี้ เนื่องจากฤทธิ์ต้านหน่วยรับความรู้สึกหลายอย่างในสมอง ยาจึงมีฤทธิ์คลายกังวลที่มีกำลัง ต้านความหมกมุ่น และรักษาโรคจิตอย่างอ่อน ๆ ทุกวันนี้ มันมักจะใช้โดยหลักเพื่อคลายกังวลและความเครียดที่สัมพันธ์กับโรคจิตประสาท (psychoneurosis) และเป็นยาเพิ่ม (adjunct) ในโรคทางกายอื่น ๆ ที่คนไข้รู้สึกกังวล เนื่องจากฤทธิ์ต้านฮิสตามีน จึงสามารถใช้รักษาความคัน ภาวะรู้สึกเจ็บมากกว่าปรกติ (hyperalgesia) และความคลื่นไส้ที่เกิดจากการป่วยจากการเคลื่อนไหว (เช่นเมารถเมาเรือ) และยังใช้ในบางกรณีเพื่อบรรเทาผลการขาดยากลุ่มโอปิออยด์ แม้ว่ามันจะมีฤทธิ์ระงับประสาท (sedative) ให้นอนหลับ (hypnotic) และคลายกังวล (anxiolytic) แต่มันไม่มีลักษณะของสารที่ใช้เสพติด รวมทั้งการติดและโอกาสเป็นพิษเหมือนกับยาอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์คล้าย ๆ กัน ยาสามารถใช้เพิ่มผลระงับความเจ็บปวดของยากลุ่มโอปิออยด์ต่าง ๆ และบรรเทาผลข้างเคียงของพวกมัน เช่น ความคัน ความคลื่นไส้ และการอาเจียน การซื้อยาในบางประเทศต้องอาศัยใบสั่งยาจากแพทย์ โดยขายในสองรูปแบบ คือ pamoate และ hydrochloride salt ยาที่คล้าย/สัมพันธ์กับไฮดร๊อกซิซีนรวมทั้ง ไซคลิซีน, บิวคลิซีน และ meclizine ซึ่งมีประโยชน์ ข้อบ่งใช้ ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และผลข้างเคียงเหมือนกับไฮดร๊อกซิซีน

สารต้านฮิสตามีนรุ่นสองคือ เซทิไรซีน จริง ๆ ก็คือ เมแทบอไลต์ของไฮดร๊อกซิซีนที่เกิดในร่างกายมนุษย์ แต่ว่าโดยที่ไม่เหมือนกับไฮดร๊อกซิซีน เซทิไรซีนดูเหมือนจะไม่ข้ามตัวกั้นเลือด-สมอง (blood-brain barrier) อย่างสำคัญ แม้ว่าจะมีรายงานว่ามีผลต่อกล้ามเนื้อและมีฤทธิ์ระงับประสาท ดังนั้น ทำให้เป็นสารต้านฮิสตามีนที่ดี เพราะมีผลระงับความกังวลและฤทธิ์ต่อจิตใจอย่างอื่น ๆ น้อยลง แต่ว่าก็ยังสามารถมีผลต่อกล้ามเนื้อและทำให้ง่วงนอนสำหรับคนไข้บางคนได้

เคมี

การสังเคราะห์ไฮดร๊อกซิซีน

ไฮดร๊อกซิซีนสามารถสังเคราะห์ได้โดยกระบวนการเพิ่มกลุ่ม alkyl (alkylation) ของ 1-(4-chlorobenzohydril)piperazine ต่อ 2-(2-hydroxyethoxy)ethylchloride

เภสัชวิทยา

ฤทธิ์หลักของยาก็คือเป็นตัวทำการผกผัน (inverse agonist) ของ H1 receptor (หน่วยรับ H1) ที่มีกำลัง (ที่ความเข้มข้น Ki = 2 nM) แต่ไม่เหมือนกับสารต้านฮิสตามีนรุ่นแรกหลายอย่าง มันมีสัมพรรคภาพ (affinity) ที่ต่ำกับ mACh receptor (Ki = >10,000 nM) และดังนั้น จึงมีโอกาสให้ผลข้างเคียงแบบ anticholinergic น้อยกว่า (เช่น ร่างกายทำงานไม่ประสาน สมองเสื่อม เป็นต้น) นอกจากฤทธิ์ต้านสฮิสตามีน ยายังมีผลเป็นตัวต้าน (antagonist) ของ 5-HT2A receptor (Ki = ~50 nM), D2 receptor (Ki = 378 nM) และ α1-adrenergic receptor (Ki = ~300 nM) อีกด้วย

ฤทธิ์ต้านระบบเซโรโทนิน (antiserotonergic) ของยาน่าจะเป็นเหตุให้ยามีฤทธิ์คลายกังวล (anxiolytic) เพราะว่า สารต้านฮิสตามีนอย่างอื่นที่ไม่มีคุณสมบัตินี้ จะไม่มีผลบำบัดความกังวล

การใช้

ไฮดร๊อกซิซีนใช้เป็นสารต้านฮิสตามีน ยาคลายกังวล (anxiolytic) และยาสงบประสาท (tranquilizer) ซึ่งสามัญเป็นพิเศษในทันตแพทยศาสตร์แต่สามัญน้อยกว่าในการแพทย์ ที่หลายปีมักใช้ยาร่วมกับยากลุ่มโอปิออยด์เพราะสามารถยับยั้งผลข้างเคียงของยาโอปิออยด์ที่เป็นยาแก้ปวด คือ ระงับความคันและความคลื่นไส้ และเพราะมีผลระงับประสาทที่เสริมกับผลระงับปวดของยาโอปิออยด์

หมอจะสั่งยาเมื่อโรคที่มีเหตุจากโครงสร้างและเนื้อเยื่อมีอาการกังวล เช่น โรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD) หรือในโรคจิตประสาท (psychoneurosis) ที่รุนแรง เพื่อให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ ยามีหลักฐานว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ เบ็นโซไดอาเซพีน และ bromazepam ในการรักษา GAD แต่ก็มีงานปริทัศน์เป็นระบบที่ไม่แนะนำให้ใช้ยาสำหรับ GAD แม้ว่าเมื่อเทียบกับยาคลายกังวลอื่น ๆ (รวมทั้ง เบ็นโซไดอาเซพีน และ buspirone) แล้ว ยามีประสิทธิภาพ มีความยอมรับได้ และมีความอดทนใช้ยาได้เท่าเทียมกัน

ยาสามารถใช้รักษาอาการภูมิแพ้ เช่น ลมพิษ ผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้ (atopic dermatitis) ผิวหนังอักเสบเหตุถูกสัมผัส (contact dermatitis) และอาการคันที่อำนวยโดยฮิสตามีน และได้ยืนยันแล้วว่า ยาไม่มีผลที่ไม่ต้องการต่อตับ เลือด ระบบประสาท หรือระบบปัสสาวะ การให้เป็นยานำ (premedication) เพื่อระงับประสาทไม่มีผลต่อยากลุ่ม tropane alkaloid เช่น อะโทรปีน แต่หลังจากการให้ยาสลบ (general anesthesia) อาจเพิ่มฤทธิ์ของยาเพทิดีน (ยากลุ่มโอปิออยด์) และ barbiturate และดังนั้น การใช้เป็นยาเสริมก่อนวางยาสลบควรจะเปลี่ยนแปลงตามสภาพคนไข้

ในบางกรณี ยาอาจใช้เป็นยานอนหลับที่ไม่ใช่ในกลุ่ม barbiturate ใช้ในการระงับประสาทก่อนผ่าตัด หรือรักษาโรคทางประสาท เช่น โรคจิตประสาท (psychoneurosis) และรูปแบบอื่น ๆ ของความวิตกกังวลหรือความเครียด สำหรับทันตกรรม สูติกรรม กรรมวิธีต่าง ๆ และในกรณีที่มีการเจ็บปวดมากอย่างฉับพลันเช่นในอุบัติเหตุ ยาสามารถใช้เป็นยาคลายกังวลอันดับแรก (first line) และยาเสริมยากลุ่มโอปิออยด์ (ยาแก้ปวด) เพราะว่ามันไม่เป็นทั้งปฏิปักษ์ ทั้งไม่เสริมยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน และ scopolamine ดังนั้นจึงสามารถใช้ยาเหล่านั้นพร้อมกันหรือภายหลังเมื่อจำเป็น

งานวิจัยพฤติกรรมสัตว์

ยาสามารถลดระดับความล้มเหลวในการหลบหนีของหนู (คืออาจลดความกลัว/ความกังวล) ในการทดลองที่ฝึกให้สัตว์รู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้ (learned helplessness paradigm)

คำอธิบายทางคลินิก

เมแทบอลิซึมและเภสัชจลนศาสตร์

ยาสามารถให้ทางปากหรือทางการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เมื่อให้ทางปาก ก็สามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วผ่านกระเพาะอาหาร-ลำไส้ ซึ่งฤทธิ์สามารถสังเกตเห็นได้ภายใน 30 นาที

ทางเภสัชจลนศาสตร์ ยาดูดซึมได้อย่างรวดเร็วทั้งทางปากและทางการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยมีเมแทบอลิซึมในตับ เมแทบอไลต์หลัก (45%) คือ เซทิไรซีน เกิดจากการออกซิเดชันของส่วนที่เป็นแอลกอฮอล์ไปเป็นกรดคาร์บอกซิลิกโดยอาศัยเอนไซม์ alcohol dehydrogenase และผลโดยทั่วไปจะสามารถเห็นได้ภายใน 1 ชม. หลังให้ยา ระยะครึ่งชีวิตของยาเฉลี่ยประมาณ 3 ชม. ในผู้ใหญ่ โดยวัดในผิวหนังได้มากกว่าในเลือด เซทิไรซีน แม้ว่าจะมีฤทธิ์ระงับประสาทน้อยกว่า แต่ว่าไตจะไม่กำจัดยาออกจากเลือด โดยมีคุณสมบัติต้านฮิสตามีนที่คล้ายกัน เมแทบอไลต์อย่างอื่นรวมทั้ง N-dealkylated metabolite และ O-dealkylated 1/16 metabolite ที่มีระยะครึ่งชีวิตในเลือดนาน 59 ชม. วิถีเมแทบอลิซึมของยาอำนวยโดยระบบ CYP3A4 และ CYP3A5 ในตับเป็นหลัก ในสัตว์ ไฮดร๊อกซิซีนและเมแทบอไลต์ของมันจะขับออกทางอุจจาระโดยการกำจัดน้ำดี

การให้ยากับผู้สูงอายุต่างจากคนอายุน้อยกว่า ตามองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) โดยปี 2547 ก็ยังไม่มีงานศึกษาสำคัญที่รวมผู้มีอายุมากกว่า 65 ซึ่งเป็นขีดแบ่งผู้สูงอายุจากกลุ่มอื่น แต่ยาควรให้แก่ผู้สูงอายุอย่างระมัดระวังเพราะการขจัดยาออกจากร่างกายอาจทำได้น้อยกว่า

โดยนัยเดียวกัน การใช้ยาระงับประสาทพร้อมกับยาสามารถทำให้มีฤทธิ์ระงับประสาทเกินและเกิดความสับสนถ้าให้มากพอ ดังนั้น การรักษาพร้อมกับยาระงับประสาทควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์

ข้อห้ามใช้

การให้ไฮดร๊อกซิซีนในปริมาณสูงไม่ว่าจะรับประทานหรือฉีดในกล้ามเนื้อเมื่อเริ่มมีครรภ์อาจเป็นเหตุให้ทารกพิการ เพราะว่า เมื่อทดลองในหนู หนูหริ่ง และกระต่าย ยาทำให้เกิดความผิดปกติเช่น อวัยวะเพศทำงานน้อยกว่าปกติ (hypogonadism) แต่การทดลองก็ใช้ยาขนาดสูงกว่าที่ใช้รักษาในมนุษย์อย่างสำคัญ ส่วนในมนุษย์ งานศึกษายังไม่ได้กำหนดขนาดสำคัญ แต่ FDA ก็ได้ระบุข้อห้ามใช้สำหรับยาไว้แล้ว

โดยนัยเดียวกัน การให้ยาสำหรับบุคคลที่เสี่ยงหรือมีอาการแพ้ยาก็เป็นข้อห้ามใช้ด้วย ยาห้ามให้โดยหลอดเลือดดำ (IV) เพราะว่า สามารถเป็นเหตุของการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis)

ข้อห้ามใช้อีกอย่างรวมทั้งการให้ยากับยาแก้ซึมเศร้าและสารอื่น ๆ ที่มีผลต่อระบบประสาทกลาง และถ้าจำเป็น ก็ควรให้ทีละหน่อย ๆ กับยาอื่น ถ้าให้อย่างที่ว่ากับยาอื่น คนไข้ควรเว้นจากปฏิบัติการกับเครื่องยนต์ที่สามารถเกิดอันตราย รถยนต์ และงานอื่น ๆ ที่ต้องใช้สมาธิ ตามที่กำหนดโดยกฎหมายความปลอดภัย

งานศึกษายังแสดงด้วยว่า การให้ยานาน ๆ สามารถนำไปสู่อาการยึกยือเหตุยา (tardive dyskinesia) หลังจากใช้ยาเป็นปี ๆ แต่อาการก็มีรายงานเป็นกรณี ๆ หลังจากใช้ยาเพียง 7 เดือนครึ่ง อาการเช่น การบิดศีรษะ (head rolling) เลียปาก และรูปแบบอื่น ๆ ของการเคลื่อนไหวแบบ athetoid คือ การเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ไม่ได้ตั้งใจ บิดไปบิดมา ของนิ้วมือ มือ นิ้วเท้า เท้า และในบางกรณี แขน ขา คอ และลิ้น ในบางกรณี การได้ยาอนุพันธ์ของ phenothiazine หรือยารักษาโรคจิต (neuroleptic) มาก่อนแล้วของคนไข้สูงอายุ อาจมีส่วนเป็นเหตุอาการยึกยือเหตุยาเมื่อให้ไฮดร๊อกซิซีน เพราะไวต่ออาการหลังจากที่ได้ยามาเป็นเวลานาน ดังนั้น จึงมีข้อบ่งห้ามบางอย่างที่จะให้ยาแม้ในระยะสั้นสำหรับคนไข้ที่เคยได้ phenothiazine มาก่อน

ผลที่ไม่ต้องการ

มีอาการหลายอย่างที่ระบุในใบรายละเอียดของยา รวมทั้ง นอนหลับสนิท ร่างกายทำงานไม่ประสาน ง่วงนอน ใจเย็น และคลื่นไส้ ที่พบทั้งในเด็กและผู้หใญ่ โดยยังมีอาการอื่น ๆ รวมทั้งความดันโลหิตต่ำ เสียงในหู และปวดหัว ผลต่อกระเพาะอาหาร-ลำไส้ และผลที่เบา ๆ เช่น คอแห้งและท้องผูกที่เกิดจากฤทธิ์ antimuscarinic ของยา ก็พบด้วย ปัญหาต่อระบบประสาทกลางเช่นประสาทหลอนและความสับสนยังพบในกรณีที่น้อยมาก โดยมากเพราะใช้ยาเกินขนาด แต่ก็มีกรณีเช่นนี้ทั้งในคนไข้ที่มีโรคจิตประสาท (neuropsychological disorders) และในกรณีที่คนไข้ใช้ยาเกิน

แม้จะมีรายงานถึงฤทธิ์ทำให้ประสาทหลอน หรือการสะกดจิต (hypnotic) แต่การทดลองทางคลินิกไม่แสดงหลักฐานเช่นนี้จากการใช้ยาเพียงอย่างเดียว แต่ก็แสดงผลว่าเกิดความสงบทั่วไปผ่านการเร้าเขตสมอง formatio reticularis ดังนั้น ฤทธิ์ประสาทหลอนและสะกดจิต ยกว่าเป็นผลเพิ่มการระงับระบบประสาทกลางพร้อมกับยาระงับประสาทอื่น ๆ รวมทั้ง lithium และเอทานอล

ยังมีการทดสอบไฮดร๊อกซิซีนเกี่ยวกับความจำของมนุษย์ เปรียบเทียบกับยาที่ค่อนข้างปลอดภัยเช่น ลอราเซแพม เพื่อแสดงผลของยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ซึ่งเชื่อว่ามีผลที่ไม่ต้องการเกี่ยวกับความจุของระบบความจำ แล้วพบว่า ไฮดร๊อกซิซีนไม่มีผลที่ไม่ต้องการต่อระบบความทรงจำเทียบกับ ลอราเซแพม ซึ่งมีผลต่อความจุของความจำ

ในงานศึกษาที่เปรียบเทียบกับ ลอราเซแพม ในผลต่อความทรงจำ ไฮดร๊อกซิซีนออกฤทธิ์ระงับประสาทเช่นทำให้ง่วงนอน แต่คนไข้ก็รู้สึกว่าตนเองตื่นตัวพอ และสามารถที่จะทำบททดสอบต่อไปได้ในสถานการณ์เช่นนี้ โดยนัยตรงกันข้าม คนที่ทานยา ลอราเซแพม ไม่สามารถทำบททดสอบต่อไปได้เพราะผลของยา คนไข้ 8 ใน 10 รู้สึกว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการทรงร่างกายและการเคลื่อนไหวแบบง่าย ๆ อาการง่วงซึม (somnolence) ที่มีหรือไม่มีความฝัน อาจเกิดกับคนไข้ที่ไวสารต้านฮิสตามีนเมื่อใช้ร่วมกับยากดระบบประสาทกลางอื่น ๆ

ไฮดร๊อกซิซีนมีฤทธิ์คลายกังวลและระงับประสาทในคนไข้จิตเวชเป็นจำนวนมาก งานศึกษาอื่นแสดงว่า ไฮดร๊อกซิซีนเป็นยานอนหลับที่มีกำลัง คือ ทำให้หลับได้ไวขึ้นและเพิ่มเวลาการนอน แต่ก็ทำให้ง่วงนอนด้วย โดยหญิงตอบสนองต่อฤทธิ์เช่นนี้มากกว่าชาย เพราะอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่านี้ ไฮดร๊อกซิซีนแนะนำให้เลี่ยงในคนสูงอายุ

ในสื่อ

Hydroxyzine เป็นคำเดียวในภาษาอังกฤษที่มีอักษร x y z เรียงต่อกัน

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

งานพิมพ์

เว็บไซต์


Новое сообщение