Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
สารยับยั้งเอซีอี
Angiotensin-converting-enzyme inhibitor | |
---|---|
ระดับชั้นของยา | |
Captopril, the first synthetic ACE inhibitor
| |
Class identifiers | |
ใช้ใน | Hypertension |
ATC code | C09A |
Biological target | Angiotensin-converting enzyme |
Clinical data | |
Drugs.com | Drug Classes |
Consumer Reports | Best Buy Drugs |
WebMD | MedicineNet RxList |
External links | |
MeSH | D000806 |
In Wikidata |
เอซีอี อินฮิบิเตอร์ (อังกฤษ: ACE inhibitors) หรือ ตัวยับยั้ง แองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (Angiotensin-Converting Enzyme) เป็นกลุ่ม ยา ที่ใช้รักษาอาการเบื้องต้นใน โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) และ หัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง (congestive heart failure) โดยจะเป็นยาเลือกใช้อันดับแรก
การใช้ทางคลินิก
ข้อบ่งใช้ของ เอซีอี อินฮิบิเตอร์ คือ:
- ป้องกันความผิดปกติของ ระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular)
- หัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง (Congestive heart failure)
- โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- ห้องล่างของหัวใจ (ventricle) ซ้ายทำงานผิดปกติ
- ป้องกัน โรคไต (nephropathy) ในผู้ป่วย โรคเบาหวาน (diabetes mellitus)
ในข้อบ่งใช้ต่างๆ เหล่านี้ เอซีอี อินฮิบิเตอร์ จะเป็นยากลุ่มแรกที่ถูกเลือกใช้ก่อนยากลุ่มอื่นๆ และแสดงผลการรักษาที่เหนือกว่าในการลดอัตราการป่วย (morbidity) และ การตาย (mortality)
- เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ถูกใช้บ่อยครั้งร่วมกับ ยาขับปัสสาวะ (diuretic) เพื่อการควบคุม โรคความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะการใช้ เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ได้ผลไม่เพียงพอ ยาขับปัสสาวะที่ใช้คือ ไทอะไซด์ (thiazide)
- ในโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรังจะนิยมใช้ เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ร่วมกับ ยาขับปัสสาวะ ฟูโรซีไมด์ (furosemide) จะทำให้สามารถควบคุมอาการได้ดีขึ้น
- ด้วยประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของยาทั้งสองชนิดนี้เมื่อใช้ร่วมกัน ในท้องตลาดจึงมีตำรับยา เอซีอี อินฮิบิเตอร์ และ ไทอะไซด์ในรูปของไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (hydrochlorothiazide) อยู่ในเม็ดเดียวกันเพื่อความสะดวกในการใช้ยาของคนไข้
กลไกการออกฤทธิ์
ตัวยาทำงานโดยการปรับแต่งระบบ RAAS (renin-angiotensin system หรือ renin-angiotensin-aldosterone) โดยการยับยั้ง แองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ เป็นผลให้เกิดการหยุดการเปลี่ยน แองจิโอเทนซิน 1 (angiotensin I) ไปเป็น แองจิโอเทนซิน 2 (angiotensin II) ในขณะเดียวกัน เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ก็มีผลลดการสลายตัวของ แบรดีไคนิน (bradykinin) สรุป เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ทำให้ความดันโลหิตต่ำได้โดย
- ลดการผลิตสารที่ทำให้เส้นเลือดหดตัว แองจิโอเทนซิน 2 และ
- ลดการสลายตัวของสารที่ทำให้เส้นเลือดขยายตัว แบรดีไคนิน
ผลของ เอซีอี อินฮิบิเตอร์
เอซีอี อินฮิบิเตอร์ มีผล
- ลดความต้านทานของ ระบบหลอดเลือดแดง (arteriole)
- เพิ่มความจุของระบบหลอดเลือดดำ (venous capacitance)
- เพิ่ม คาร์ดิแอก อาวต์พุต (cardiac output) และ คาร์ดิแอก อินเดกซ์ (cardiac index) สโตรก เวิอร์ค (stroke work) และ สโตรก โวรุม (stroke volume)
- ลดความต้านทานของเส้นเลือดเลี้ยงไต (renovascular resistance) และนำไปสู่การเพิ่ม นาตริยูรีสิส (natriuresis คือการขับถ่าย โซเดียม ใน ปัสสาวะ)
- ในทาง ระบาดวิทยา (Epidemiology) และการศึกษาทางคลินิกพบว่า เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ช่วยลดความรุนแรงของโรคไตที่เกิดจากเบาหวานหรือเบาจืด (diabetic nephropathy) ซึ่งผลจากประสิทธิภาพของยาจึงนิยมใช้ เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ป้องกันโรคไตวายจากเบาหวานหรือเบาจืดด้วย
ผลข้างเคียงของยา (Adverse effects)
ผลข้างเคียงของยา เอซีอี อินฮิบิเตอร์ มีดังนี้
- ความดันต่ำ (hypotension)
- ไอ (cough)
- ภาวะโปตัสเซียมในเลือดสูง (hyperkalaemia)
- ปวดศีรษะ (headache)
- วิงเวียนศีรษะ (dizziness)
- เมื่อยล้า (fatigue)
- คลื่นเหียน (nausea)
- มีผลต่อไต (renal impairment)
สำหรับผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการไอ เชื่อว่าเป็นผลจากการที่ เอซีอี อินฮิบิเตอร์ มีฤทธิ์เพิ่ม แบรดีไคนิน และคนไข้จะถูกแนะนำให้ไปใช้ยาในกลุ่มแองจิโอเทนซิน 2 รีเซพเตอร์ แอนตาโกนีสต์ (angiotensin II receptor antagonist) แทน
ผื่นคันและการรับรสผิดปกติพบไม่บ่อยนักในผู้ใช้ยา เอซีอี อินฮิบิเตอร์ แต่ก็มีบ้างสำหรับผู้ใช้ แคปโตพริล (captopril) เนื่องจากว่าตัวยามีโครงสร้างโมเลกุนบางส่วนที่เป็น ซัลฟ์ไฮดริล (sulfhydryl) แพทย์จึงลดปริมาณยาให้น้อยลง
ตัวอย่างยาในกลุ่ม เอซีอี อินฮิบิเตอร์
เอซีอี อินฮิบิเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามโครงสร้างโมเลกุลของมันดังนี้:
เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ที่มี ซัลฟ์ไฮดริล (sulfhydryl)
- แคปโตพริล (Captopril-Capoten®) , เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ตัวแรก
เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ที่มี ไดคาร์บอกซิเลต (Dicarboxylate)
เอซีอี อินฮิบิเตอร์ กลุ่มใหญ่ประกอบด้วย:
- อีนาลาพริล (Enalapril-Vasotec®/Renitec®)
- รามิพริล (Ramipril-Altace®/Tritace?/Ramace®)
- ควินาพริล (Quinapril-Accupril®)
- เพอรินโดพริล (Perindopril-Coversyl®)
- ลิซิโนพริล (Lisinopril-Lisodur®/Prinivil®/Zestril®)
เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ที่มี ฟอสโฟเนต (Phosphonate)
- โฟซิโนพริล (Fosinopril-Monopril®) , มีตัวเดียว
การเกิดตามธรรมชาติ
คาโซคินิน (Casokinin) และ แลคโตคินิน (lactokinin) เป็นสารที่สะลายตัวจาก คาซีอิน (casein) และ หางนม (whey) ซึ่งจะเกิดตามธรรมชาติหลังจากกินผลิตภัณฑ์นมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนมเปรี้ยว ส่วนหลักการควบคุมความดันโลหิต ของตัวยายังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด
ข้อมูลเปรียบเทียบ (Comparative information)
เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ทั้งหมดจะมีประสิทธิภาพในการลดความดันใกล้เคียงกันเมื่อได้รับยาในปริมาณที่เท่ากัน แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ แคปโตพริล ซึ่งเป็น เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ตัวแรกที่มีช่วงเวลาออกฤทธิ์ที่สั้นและมีผลข้างเคียงมากที่สุด
จากการศึกษาทางคลินิกมากมายพบว่า เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ช่วยลดอัตราการตายจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarct) และป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้มาก
ข้อห้ามใช้ และ ข้อควรระวัง
เอซีอี อินฮิบิเตอร์ มีข้อห้ามใช้ในคนไข้ดังนี้:
- เคยมีอาการหัวใจบวมน้ำ (angioedema) ร่วมกับการรักษาด้วย เอซีอี อินฮิบิเตอร์ มาก่อน
- รีนัล อาร์เทอรี่ สเตโนสิส (Renal artery stenosis-bilateral, or unilateral with a solitary functioning kidney)
เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในคนไข้ดังนี้:
- การทำงานของไตบกพร่อง (Impaired renal function)
- เอออร์ติก วาล์ว สเตโนสิส (Aortic valve stenosis หรือ cardiac outflow obstruction)
- ไฮโปโวลาอีเมีย (Hypovolaemia) หรือ การขาดน้ำ (dehydration)
- การฟอกเลือด (Haemodialysis) ด้วย high flux polyacrylonitrile membranes
การให้ โพแทสเซียม เสริมควรทำอย่างระมัดระวังและอยู่ในการดูแลของแพทย์ เนื่องจาก เอซีอี อินฮิบิเตอร์ มีฤทธิ์ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง (hyperkalemia) ด้วย
แองจิโอเทนซิน 2 รีเซพเตอร์ แอนตาโกนีสต์
เอซีอี อินฮิบิเตอร์ มีคุณสมบัติทั่วไปคล้ายกับยาในกลุ่มอื่นของ ยาในระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ชื่อว่า แองจิโอเทนซิน 2 รีเซพเตอร์ แอนตาโกนีสต์ซึ่งจะถูกเลือกใช้ในกรณีที่คนไข้มีผลข้างเคียงในระดับอันตรายจากการใช้ เอซีอี อินฮิบิเตอร์
- FitzGerald RJ, Murray BA, Walsh DJ. Hypotensive peptides from milk proteins. J Nutr 2004;134:980S-8S. PMID 15051858.
- Molinaro G, Cugno M, Perez M, Lepage Y, Gervais N, Agostoni A, Adam A. Angiotensin-converting enzyme inhibitor-associated angioedema is characterized by a slower degradation of des-arginine (9) -bradykinin. J Pharmacol Exp Ther 2002;303:232-7. PMID 12235256.
- Rossi S (Ed.) (2004). Australian Medicines Handbook 2004. Adelaide: Australian Medicines Handbook. ISBN 0-9578521-4-2.
- Rossi S (Ed.) (2005). Australian Medicines Handbook 2005. Adelaide: Australian Medicines Handbook. ISBN 0-9578521-9-3.
- Thomas, M.C. (2000). Diuretics, ACE inhibitors and NSAIDs - the triple whammy. Med J Aust 172, 184-185.
ยับยั้งเอนไซม์ ACE ("-พริล") |
|
---|---|
ยับยั้งตัวรับแอนจิโอเทนซินชนิดที่ 2 ("-ซาร์ทาน") |
|
ยับยั้งเรนิน ("-คิเรน") |
|
ออกฤทธิ์ยับยั้ง ACE/NEP | |
ยับยั้งเอนไซม์เนพริไลซิน | |
ทางเดินอาหาร/ เมแทบอลิซึม (A) |
กรดกระเพาะ (ยาลดกรด, สารต้านตัวรับ H2 , ยายับยั้งการหลั่งกรด) • ยาแก้อาเจียน • ยาระบาย • ยาแก้ท้องร่วง • ยาลดความอ้วน • ยาต้านเบาหวาน • วิตามิน • เกลือแร่
|
---|---|
เลือดและอวัยวะ สร้างเลือด (B) |
|
ระบบหัวใจ และหลอดเลือด (C) |
ยารักษาโรคหัวใจ/ยาแก้อาการปวดเค้นหัวใจ (คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ , ยาต้านภาวะหัวใจเสียจังหวะ , ยากระตุ้นหัวใจ) • ยาลดความดัน • ยาขับปัสสาวะ • สารขยายหลอดเลือด • เบต้า บล็อกเกอร์ • แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ • ระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน (เอซีอีอินฮิบิเตอร์ , แองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล๊อคเกอร์ , เรนินอินฮิบิเตอร์) • ยาลดไขมันในเส้นเลือด (สแตติน , ไฟเบรต , ไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์) |
ผิวหนัง (D) | |
ระบบสืบพันธุ์ (G) | |
ระบบต่อมไร้ท่อ (H) | |
การติดเชื้อและ การติดเชื้อปรสิต (J, P, QI) |
|
มะเร็ง (L01-L02) | |
โรคทางระบบ ภูมิคุ้มกัน (L03-L04) |
|
กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ (M) | |
สมองและระบบประสาท (N) | |
ระบบทางเดินหายใจ (R) | |
อวัยวะรับความรู้สึก (S) | |
อื่น ๆ (V) |