Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด
(Pulmonary embolism)
Pulmonary-embolism.png
ภาพวาดแสดงให้เห็นลิ่มเลือดที่หลุดมาจากส่วนอื่นของร่างกาย มาทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดแดงปอด ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดแดงของปอดซ้ายส่วนล่าง
สาขาวิชา โลหิตวิทยา, หทัยวิทยา, วิทยาปอด
อาการ หายใจลำบาก, เจ็บหน้าอก, ไอเป็นเลือด
ภาวะแทรกซ้อน หมดสติ, ช็อก, เสียชีวิต
การตั้งต้น อายุมาก
ปัจจัยเสี่ยง มะเร็ง, การนอนติดเตียง, การสูบบุหรี่, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคทางพันธุกรรมบางชนิด, ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน, การตั้งครรภ์, โรคอ้วน, ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
วิธีวินิจฉัย วินิจฉัยจากอาการ, ดี-ไดเมอร์, การตรวจซีทีสแกนพร้อมฉีดสีหลอดเลือดปอด, การตรวจสแกนดัชนีการหายใจและการไหลเวียนเลือดที่ปอด
การรักษา ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น เฮพาริน, วาร์ฟาริน, DOAC), การสลายลิ่มเลือด
ความชุก ~450,000 รายต่อปี (สหรัฐ), 430,000 (ยุโรป)
การเสียชีวิต >10–12,000 รายต่อปี (สหรัฐ), >30–40,000 รายต่อปี (ยุโรป)

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด (อังกฤษ: pulmonary embolism, PE) คือภาวะที่มีการอุดตันของหลอดเลือดแดงปอดจากสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดที่หลุดลอยมาจากส่วนอื่นของร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอกโดยเฉพาะตอนหายใจเข้า และอาจไอเป็นเลือดได้ นอกจากนี้อาจมีอาการของการมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกของอวัยวะอื่น เช่น ที่ขา โดยอาจมีขาบวม แดง และเจ็บขาได้ อาจตรวจพบความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดต่ำ หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว และอาจมีไข้ต่ำๆ ในกรณีที่เป็นรุนแรงอาจทำให้หมดสติ ความดันเลือดต่ำ หรือเสียชีวิตกะทันหันได้

ภาวะนี้มักเกิดจากการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขาแล้วหลุดมาอุดหลอดเลือดปอด ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดได้แก่การเป็นมะเร็ง การนอนกับเตียงนานๆ การสูบบุหรี่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพันธุกรรมบางชนิด ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน การตั้งครรภ์ โรคอ้วน และการผ่าตัดบางประเภท ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดการอุดตันของหลอดเลือดจากสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดชนิดอื่นที่ไม่ใช่ลิ่มเลือด เช่น ฟองอากาศ ไขมัน หรือน้ำคร่ำ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการ อาการแสดง ร่วมกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยความเสี่ยงต่ำอาจใช้การตรวจเลือดดูระดับของดี-ไดเมอร์ในการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นภาวะนี้ได้ หากไม่เช่นนั้นแล้วอาจต้องใช้การตรวจอย่างอื่นในการยืนยันการวินิจฉัย เช่น การตรวจซีทีสแกนพร้อมฉีดสีหลอดเลือดปอด การตรวจสแกนดัชนีการหายใจและการไหลเวียนเลือดที่ปอด หรือการตรวจอุลตร้าซาวด์ที่ขา เป็นต้น ภาวะนี้เมื่อพบร่วมกับภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT) จะเรียกรวมกันว่าภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดดำ (VTE)

การลดโอกาสเกิดสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอดทำได้โดยผู้ป่วยหลังผ่าตัดควรพยายามขยับเคลื่อนไหวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะได้ ขยับกล้ามเนื้อขาส่วนล่างหากต้องนั่งนานๆ และใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหลังการผ่าตัดบางชนิด การรักษาส่วนใหญ่เป็นการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น เฮพาริน วาร์ฟาริน หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดแบบออกฤทธิ์โดยตรง (DOAC) โดยอาจต้องใช้ยาต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน ผู้ป่วยบางรายจำเป็นจะต้องได้รับการสลายลิ่มเลือด อาจเป็นการสลายลิ่มเลือดด้วยยาเช่นการให้ทีพีเอทางหลอดเลือดดำหรือทางสายสวน และบางครั้งอาจต้องผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออก หากไม่สามารถใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดได้อาจต้องใช้วิธีวางแผ่นตะแกรงในหลอดเลือดดำเวนาคาวาแทนเป็นการชั่วคราว

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение