Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
อะลิโพจีน ไทพาร์โวเวค
Другие языки:

อะลิโพจีน ไทพาร์โวเวค

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
อะลิโพจีน ไทพาร์โวเวค
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้า Glybera
AHFS/Drugs.com ข้อมูลยาของสหราชอาณาจักร
ช่องทางการรับยา Intramuscular injection
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • In general: ℞ (Prescription only)
ตัวบ่งชี้
ChemSpider
  • none
UNII
Pharmaklog.png สารานุกรมเภสัชกรรม
ยีนบำบัด (Gene therapy) โดยการใช้ AAV vector ซึ่งเป็นยีนที่ได้จากเชื้อไวรัส Adeno-associated virus โดยยีนดังกล่าวจะถูกใส่เข้าไปในเซลล์โดยใช้ปลอกหุ่มโปรตีน AAV เมื่อยีนดังกล่าวเข้าไปสู่นิวเคลียสจะทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีนที่มีคุณสมบัติในการรักษาโรค

อะลิโพจีน ไทพาร์โวเวค (อังกฤษ: Alipogene tiparvovec) เป็นยาที่ใช้รักษาภาวะพร่องเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปส (Lipoprotein lipase deficiency; LPLD) ซึ่งเป็นความผิดปกติที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้และก่อให้เกิดภาวะตับอ่อนอักเสบที่รุนแรง เอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปสเป็นเอนไซม์ที่เกาะอยู่บนผิวของเซลล์ไขมัน ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาสลายพันธะเอสเทอร์ในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ที่อยู่ในเลือด ให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล เพื่อดูดซึมเข้าสู่เซลล์ไขมันและนำไปเก็บสะสมไว้ในรูปไตรกลีเซอไรด์ที่เนื้อเยื่อไขมัน เป็นผลให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง อะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคมีจำหน่ายในชื่อการค้า ไกลเบอรา (Glybera) ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยยูนิเคียว (UniQure) ในเดือนกรกฎาคม ปี คศ. 2012 องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency) ได้แนะนำว่าควรมีการรับรองการใช้ยาดังกล่าวในทางคลินิกเพื่อใช้เป็นยีนบำบัดสำหรับข้อบ่งใช้ดังข้างต้น หลังจากนั้นได้มีการลงมติโดยสหภาพยุโรป (European Commission) ให้มีการรับรองการใช้อะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคเป็นยีนบำบัดในการรักษาพร่องเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปสในเดือนพฤศจิกายน คศ. 2012 และคาดว่ามีการนำออกจำหน่ายในเชิงการค้าในช่วงประมาณปลายปี คศ. 2014

กลไกการออกฤทธิ์

ไวรัสพาหะที่มีส่วนยีน AAV1 (Adeno-associated virus serotype 1) ในโครโมโซมจะถูกนำมาใช้ในการปลูกถ่ายยีนที่ใช้ในการสร้างเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปส (LPL gene)ให้กับเซลล์กล้ามเนื้อมนุษย์ โดยยีนดังกล่าวนั้นจะไม่ถูกแทรกเข้าไปในโครโมโซมของมนุษย์ แต่จะลอยอยู่อย่างอิสระภายในนิวเคลียส หลังการบริหารยาอะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคแต่ละครั้ง ผู้ป่วยจะต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive therapy)ร่วมด้วยเพื่อป้องกันปฏิกิริยาตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อไวรัสพาหะ

ข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิกชี้ให้เห็นว่าหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการบริหารยาอะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคพบว่าความเข้มข้นของไขมันในกระแสเลือดจะลดลงใกล้เคียงปกติทุกคนภายในระยะเวลา 3-12 สัปดาห์  โดยผลดีของการใช้ AAV คือ ไม่ก่อให้เกิดโรค, ส่งผ่านยีนไปเฉพาะเซลล์ที่ไม่แบ่งตัว, และความเสี่ยงที่เกิดการสอดแทรกของยีนดังกล่าวเข้าไปในโครโมโซมของมนุษย์นั้นแทบจะไม่มีโอกาสเป็นไปได้เลย เมื่อเปรียบเทียบกับยีนที่ได้จากรีโทรไวรัส (retroviruses) ซึ่งพบการสอดแทรกของยีนดังกล่าวเข้าไปในโครโมโซมของมนุษย์ได้เล็กน้อย ซึ่งจะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเพิ่มมากขึ้นได้ นอกจากนี้แล้ว AAV ยังมีคุณสมบัติในการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยการสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาทำลายไวรัสพาหะและมีพิษต่อเซลล์ต่ำ ส่วนการจำลองตัวของยีนดังกล่าวจะมีขนาดจำกัดอยู่ที่ประมาณ 4.8 กิโลเบส

ข้อบ่งใช้

อะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาภาวะพร่องเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปส (lipoprotein lipase deficiency;LPLD) ร่วมกับมีภาวะตับอ่อนอักเสบที่รุนแรงถึงแม้จะควบคุมการรับประทานอาหารจำพวกไขมันอย่างเข้มงวดแล้วก็ตาม ทั้งนี้การวินิจฉัยภาวะพร่องเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปสนั้นจำเป็นต้องใช้การทดสอบสารพันธุกรรม

รูปแบบเภสัชภัณฑ์

ใน 1 ไวแอลจของอะลิโพจีน ไทพาร์โวเวค บรรจุสารละลายใส ไม่มีสี ถึงขาวขุ่นเล็กน้อยของอะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคปริมาณ 1 มิลลิลิตร ซึ่งจะมีจำนวนจีโนมเท่ากับ 3x102 จีโนม

ราคา

ในปี คศ. การรักษาภาวะพร่องเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปสด้วยอะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อครั้ง และลดลงมาเป็น 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อครั้งในปี คศ. 2015 ซึ่งถือเป็นยาที่มีราคาแพงมากที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน

ดูเพิ่ม


แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение