Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โพรงอากาศอักเสบ
โพรงอากาศอักเสบ (Sinusitis) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Sinus infection, rhinosinusitis |
โพรงอากาศขากรรไกรบนข้างซ้ายอักเสบ (Maxillary sinusitis) (ลูกศร) สังเกตว่าลักษณะโพรงอากาศดูทึบเทียบกับอีกข้างหนึ่งเนื่องจากมีของเหลวจากการอักเสบ | |
สาขาวิชา | โสตศอนาสิกวิทยา |
อาการ | น้ำมูกข้นเหนียว, คัดจมูก, เจ็บใบหน้า, มีไข้ |
สาเหตุ | การติดเชื้อ (แบคทีเรีย, เชื้อรา, ไวรัส), โรคภูมิแพ้, มลพิษในอากาศ, โครงสร้างจมูกผิดปกติ |
ปัจจัยเสี่ยง | โรคหอบหืด, ซิสติกไฟโบรซิส, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง |
วิธีวินิจฉัย | ส่วนใหญ่ใช้วินิจฉัยจากอาการ |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | ไมเกรน |
การป้องกัน | การล้างมือ, การงดสูบบุหรี่ |
การรักษา | ยาแก้ปวด, ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์, การล้างจมูก, ยาปฏิชีวนะ |
ความชุก | ปีละ 10–30% (กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว) |
โพรงอากาศอักเสบ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ไซนัสอักเสบ (อังกฤษ: sinusitis, rhinosinusitis) คือการอักเสบของชั้นเยื่อเมือกภายในโพรงอากาศข้างจมูก หรือ "ไซนัส" ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการมีน้ำมูกข้นเหนียว คัดจมูก และปวดใบหน้าได้ อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะ สูญเสียการรับกลิ่น เจ็บคอ และไอ หากเป็นมาไม่เกิน 4 สัปดาห์ เรียกว่า ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน และหากเป็นมานานกว่า 12 สัปดาห์ เรียกว่า ไซนัสอักเสบเรื้อรัง
สาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ มลพิษในอากาศ หรือโครงสร้างในจมูกมีความผิดปกติ โดยส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหืด ซิสติกไฟโบรซิส หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจมีการกลับเป็นซ้ำๆ ได้มากกว่าคนอื่น โดยส่วนใหญ่แล้วสามารถวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องใช้การถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์ เว้นแต่จะสงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน ในรายที่เป็นเรื้อรังสามารถตรวจยืนยันได้ โดยอาจตรวจด้วยการส่องตรวจโดยตรง หรือการทำซีทีสแกนก็ได้
การป้องกันอาจทำได้โดยการล้างมือ งดสูบบุหรี่ และการฉีดวัคซีน การบรรเทาอาการสามารถทำได้โดยใช้ยา เช่น ยาแก้ปวด ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์ และการล้างจมูก คำแนะนำในการรักษาแรกเริ่มสำหรับผู้ป่วยไซนัสอักเสบเฉียบพลันคือการสังเกตอาการอย่างระมัดระวัง (watchful waiting) หากอาการไม่ดีขึ้นใน 7-10 วัน หรือมีอาการแย่ลง จึงพิจารณาเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะ หรือเปลี่ยนชนิดยาหากใช้มาก่อนแล้ว ในกรณีที่จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะมีคำแนะนำให้ใช้ยาอะม็อกซีซิลลิน หรือ อะม็อกซีซิลลินผสมคลาวูโลเนต เป็นอันดับแรก ในผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรังบางรายอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
ไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยข้อมูลจากสหรัฐและยุโรปพบว่าในปีหนึ่งๆ จะพบคนทั่วไปประมาณร้อยละ 10-30 ป่วยเป็นไซนัสอักเสบ ไซนัสอักเสบเรื้อรังพบได้ในคนร้อยละ 12.5 ค่าใช้จ่ายในการรักษาไซนัสอักเสบในสหรัฐคิดเป็นเงินกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลในการรักษาไซนัสอักเสบจากเชื้อไวรัสอยู่บ่อยครั้ง
สาเหตุ
เรื้อรัง
โพรงอากาศอักเสบเรื้อรังคือโพรงอากาศอักเสบที่เป็นอยู่นานกว่า 12 สัปดาห์ เกิดได้จากสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของโพรงอากาศไซนัส แบ่งออกเป็นชนิดย่อยคือแบบมีโพลิปและแบบไม่มีโพลิป
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
ไวรัส | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อาการ |
เจ็บคอ · น้ำมูกไหล · คัดจมูก · จาม · ไอ · ปวดกล้ามเนื้อ · ความอ่อนล้า · ความละเหี่ย · ปวดศีรษะ · อ่อนเปลี้ย · เบื่ออาหาร
|
||||||||
ภาวะแทรกซ้อน | |||||||||
ยาต้านไวรัส |
พลีโคนาริล (อยู่ในการทดลอง)
|
||||||||
|