Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ไทกีไซคลีน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ไทกีไซคลีน
Tigecycline.svg
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง /ˌtɡəˈskln/
ชื่อทางการค้า Tygacil
AHFS/Drugs.com Tigecycline monograph
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: D
  • US: D (มีความเสี่ยง)
ช่องทางการรับยา หลอดเลือดดำเท่านั้น
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S4 (ต้องใช้ใบสั่งยา)
  • US: ℞-only
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
การจับกับโปรตีน 71–89%
การเปลี่ยนแปลงยา ไม่ถูกเมทาบอลิซึม
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ 42.4 ชั่วโมง
การขับออก 59% น้ำดี, 33% ไต
ตัวบ่งชี้
  • N-[(5aR,6aS,7S,9Z,10aS) -9- (amino-hydroxy-methylidene) -4,7-bis (dimethylamino) -1,10a,12-trihydroxy-8,10,11-trioxo-5a,6,6a,7-tetrahydro-5H-tetracen-2-yl]-2- (tert-butylamino) acetamide
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard 100.211.439
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตร C29H39N5O8
มวลต่อโมล 585.65 g/mol
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • CC (C) (C) NCC (=O) Nc1cc (c2C[C@H]3C[C@H]4[C@H](N (C) C) C (\O) =C (\C (N) =O) C (=O) [C@@]4 (O) C (/O) =C3/C (=O) c2c1O) N (C) C
  • InChI=1S/C29H39N5O8/c1-28 (2,3) 31-11-17 (35) 32-15-10-16 (33 (4) 5) 13-8-12-9-14-21 (34 (6) 7) 24 (38) 20 (27 (30) 41) 26 (40) 29 (14,42) 25 (39) 18 (12) 23 (37) 19 (13) 22 (15) 36/h10,12,14,21,31,36,38-39,42H,8-9,11H2,1-7H3, (H2,30,41) (H,32,35)/t12-,14-,21-,29-/m0/s1 Yes check.svg 7
  • Key:FPZLLRFZJZRHSY-HJYUBDRYSA-N Yes check.svg 7
  (verify)
Pharmaklog.png สารานุกรมเภสัชกรรม

ไทกีไซคลีน (อังกฤษ: Tigecycline) เป็นยาปฏิชีวนะที่ถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบทีเรีย จัดอยู่ในกลุ่มไกลซิลไซคลีน ในปัจจุบันยานี้มีเพียงรูปแบบที่ใช้สำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำเท่านั้น ทั้งนี้ ไทกีไซคลีนถูกคิดค้นพัฒนาขึ้นมาเนื่องมาจากการมีอุบัติการณ์การดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่มีอัตราค่อนข้างสูงในปัจจุบัน เช่น Staphylococcus aureus, Acinetobacter baumannii, และ Escherichia coli เป็นต้น เนื่องด้วยยานี้เป็นหนึ่งในยากลุ่มเตตราไซคลีน การดัดแปลงโครงสร้างของยาจึงสามารถเพิ่มขอบข่ายการออกฤทธิ์ของยาให้ครอบคลุมได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ รวมไปถึงเชื้อแบคทีเรียบางสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน (multi-drug resistance bacteria) ด้วย

ปัจจุบันไทกีไซคลินอยู่ภายใต้การดำเนินการทางการตลอดของไฟเซอร์ ภายใต้ชื่อการค้า Tygacil ยานี้ได้ถูกยื่นให้องค์การอาการและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาพิจารณารับรองการใช้ในมนุษย์อย่างเร่งด่วน (fast-track approve) เนื่องจากปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่มีมากขึ้น และได้รับการรับรองจากองค์กรดังกล่าวในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2005

การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

ไทกีไซคลีนถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (complicated skin and structure infections), การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน (complicated intra-abdominal infections) และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (community-acquired bacterial pneumonia) ขอบข่ายการออกฤทธิ์ของไทกีไซคลีน ดังแสดงต่อไปนี้

การบริหารยาไทกีไซคลีนนั้นสามารถบริหารยาได้เฉพาะการฉีดเข้าหลอดเลือดดำเท่านั้น โดยยานี้มีขอบข่ายการออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบหลายสายพันธุ์ นอกจากนี้แล้วยังออกฤทธิ์ครอบคลุมถึงจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนได้บางชนิด โดยส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะอื่นที่มีใช้อยู่ก่อน เช่น methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และ Acinetobacter baumannii แต่ไม่มีผลต่อเชื้อสกุล Pseudomonas spp. และ Proteus spp. ปัจจุบันไทกีไซคลินผ่านการทดลองทางคลินิกในขั้นที่ 3 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้รับการรับรองให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน, การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยพบว่ายานี้ในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำมีประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อนได้เทียบเท่ากับแวนโคมัยซินและแอซทรีโอนัมรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นอย่างน้อย และมีประสิทธิภาพเทียบเคียงได้กับอิมมิพีเนม/ซิลลาสตาตินในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน

สมาคมโรคติดเชื้อและจุลชีววิทยาคลินิกแหล่งสหภาพยุโรป (European Society of. Clinical Microbiology and Infectious Diseases; ESCMID) ได้แนะนำให้ใช้ไทกีไซคลินเป็นทางเลือกที่สำคัญในการรักษาการติดเชื้อ Clostridium difficile ที่มีอาการรุนแรง และ/หรือซับซ้อน หรือดื้อยา

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ไทกีไซคลีนได้ในกลุ่มประชรกรที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ได้แก่ ผู้ป่วยภาวะคุ้มกันบกพร่อง, ผู้ป่วยมะเร็ง, ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์

ข้อมูลความไวขอเชื้อแบคทีเรียต่อยา

เป้ามหายการออกฤทธิ์ของไทกีไซคลีนนั้นคือทั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ รวมไปถึงเชื้อแบคทีเรียที่พบเห็นการดื้อยาได้บ่อยอีกบางสายพันธุ์ ข้อมูลความเข้มข้นของยาในระดับต่ำสุด (ในหลอดทดลอง) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่สำคัญบางชนิด (Minimal Inhibitory Concentration; MIC) ของไทกีไซคลีน ดังแสดงต่อไปนี้ได้:

  • Escherichia coli: 0.015 μg/mL — 4 μg/mL
  • Klebsiella pneumoniae: 0.06 μg/mL — 16 μg/mL
  • Staphylococcus aureus (methicillin-resistant) : 0.03 μg/mL — 2 μg/mL

ทั้งนี้ ไทกีไซคลีนมีฤทธิ์ต้านเชื้อสายพันธุ์ Pseudomonas ได้น้อยมาก

ขนาดยา

การบริหารยาไทกีไซคลียด้วยวิธีการฉีดเข้าหลอดเลือดดำนั้นควรบริหารยาอย่างช้าๆ (30 ถึง 60 นาที) โดยบริหารยาให้ผู้ป่วยทุก 12 ชั่วโมง ผู้ที่มีความปกติของการทำงานของตับจำเป็นต้องมีการปรับลดขนาดยาลงจากปกติ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความผิดปกติของตับอย่างรุนแรงนั้นจำเป็นต้องได้รับการติดตามการใช้ยาอย่างใกล้ชิด ส่วนผู้ที่มีการทำงานของไตปกพร่อง รวมถึงผู้ที่ต้องทำการชำระเลือดผ่านเยื่อไม่จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยา ยานี้ไม่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในเด็ก และไม่มียาในรูปแบบรับประทาน

การดื้อยา

กลไกการดื้อต่อไทกีของเชื้อแบคทีเรียในวงศ์เอนเทอร์โรแบคทีเรียซีอี (เช่น E. coli) โดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของยีน ทำให้มีการขับยาออกจากเซลล์ของแบคทีเรียมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มการขับยาออกผ่าน RND type efflux pump AcrAB เป็นต้น ในแบคทีเรียบางสายพันธุ์อย่าง Pseudomonas spp. นั้นสามารถดื้อต่อยาไทกีไซคลีนได้โดยธรรมชาติเดิมของเชื้อผ่านกระบวนการการเพิ่มการแสดงออกของยีนบางชนิด เช่น ยีนที่ควบคุมการขนส่งสารออกจากเซลล์ เป็นต้น เชื้อแบคทีเรียบางสายพันธุ์ในวงศ์เอนเทอร์โรแบคทีเรียซีอีพบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนบนไรโบโซมทีม่ชื่อว่า ยีน rpsJ  ซึ่งส่งผลให้เชื้อดังกล่าวดื้อต่อยาไทกีไซคลีนได้เข่นกัน

ความปลอดภัยในการใช้ยา

อาการไม่พึงประสงค์

เนื่องด้วยไทกีไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มเตตราไซคลีน ทำให้ไทกีไซคลีนมีอาการไม่พึงประสงค์เช่นเดียวกันกับอนุพันธุ์ของเตตราไซคลีนอื่นๆ ในกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร

อาการไม่พึงประสงค์ของไทกีไซคลีนที่พบได้บ่อย ได้แก่ คลื่นไส้และอาเจียน ซึ่งเกิดขึ้นได้ประมาณร้อยละ 26 และ 18 ของผู้ที่ได้รับไทกีไซคลีน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่มักอยู่ในระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลาง และมักพบเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงสองวันแรกของการใช้ยาเท่านั้น

ส่วนอาการไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่พบอุบัติการณ์ค่อนข้างน้อย (น้อยกว่าร้อยละ 2) ได้แก่ บวม, ปวด และการระคายเคืองตรงตำแหน่งที่ได้รับการบริหารยา, เบื่ออาหาร, ดีซ่าน, การทำงานของตับผิดปกติ, คัน, ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน, และมีการเพิ่มขึ้นของระยะเวลาโปรทรอมบิน

ข้อควรระวัง

การใช้ยาไทกีไซคลินนั้นจำเป็นต้องมีการระมัดระวังและเฝ้าติดตามเป็นพิเศษในผู้ที่มีภาวะภูมิไวเกินต่อยากลุ่มเตตราไซคลิน, หญิงตั้งครรภ์, และเด็ก ทั้งนี้พบว่าไทกีไซคลินนั้นสามารถก่อให้เกิดพิษต่อทารกในครรภ์ได้ จึงได้มีการจัดลำดับขั้นของยาต่อการตั้งครรภ์ของไทกีไซคลีนให้อยู่ในระดับ D การศึกษาในหนูและกระต่ายพบว่าไทกีไซคลีนสามารถแพร่ผ่านรกเข้าไปยังเนื้อเยื่อของทารกในครรภ์ได้ และมีความสัมพันธุ์กับของการมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ของทารก รวมไปถึงการเกิดการกลายเป็นกระดูกที่ช้ากว่าปกติ ถึงแม้การศึกษานี้จะไม่พบว่าไทกีไซคลีนนั้นก่อให้เกิดพิษกับตัวอ่อนในครรภ์ แต่การพิจารณาใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์ควรชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบระหว่างโทษที่อาจเกิดขึ้นกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการรักษาเสมอ นอกจากนี้ การใช้ไทกีไซคลีนในเด็กอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของฟันเป็นสีเหลือง เทา หรือน้ำตาลได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในเด็กยกเว้นมีข้อบ่งใช้ที่จำเป็นและไม่มียาอื่นทดแทน ยิ่งไปกว่านั้น มีรายงานทางคลินิกที่พบว่า การได้รับไทกีไซคลีนมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคซิสติก ไฟโบรซิสร่วมด้วย

การใช้ไทกีไซคลีนมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของอัตราการตายในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาล (hospital-acquired pneumonia; HAP) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใส่ท่อช่วยหายใจ (ventilator-associated pneumonia; VAP) ซึ่งเป็นการใช้ยานี้นอกเหนือข้อบ่งใช้ที่มีการรับรอง แต่การใช้ยานี้ภายใต้ข้อบ่งใช้ที่ได้รับการรับรองอย่าง การติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน, การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน และผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลติดเชื้อแบคทีเรียที่เท้านั้นก็มีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ความแตกต่างของการเพิ่มขึ้นของอัตราการเสียชีวิตนี้ไม่ได้มีความแตกต่างกันกับกลุ่มที่มีสภาวะโรคเดียวกันแต่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอื่นจนถึงระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติแต่อย่างใด แต่อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไทกีไซคลีนนั้นมีค่าสูงกว่ากลุ่มอื่นในทุกๆโรคที่ทำการศึกษา องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาจึงได้มีบังคับให้มีการระบุคำเตือนถึงผลข้างเคียงที่ร้ายแรง (black box warning) ไว้ในเอกสารกำกับยาของไทกีไซคลีน

อาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้มีการระบุคำแจ้งเตือนถึงอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง (black box warning) จากการใช้ยาไทกีไซคลีนในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010 ว่า การใช้ไทกีไซคลีนนั้นทำให้มีความเสี่ยงต่อชีวิตมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาปฏิชีวนะอื่นที่เหมาะสมในข้อบ่งใช้เดียวกัน การเพิ่มขึ้นของอัตราการเสียชีวิตนี้ (ไม่ทราบสาเหตุอื่นที่แน่ชัด) ทำให้มีการสงวนไทกีไซคลีนไว้เป็นการรักษาทางเลือกรองเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอื่นที่เหมาะสมแล้วไม่ได้ผลเท่านั้น

อันตรกิริยาระหว่างยา

ไทกีไซคลีนสามารถเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยาอื่นได้ เช่น:

กลไกการออกฤทธิ์

ไทกีไซคลีนจัดเป็นยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้าง (broad-spectrum antibiotic) ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการการสังเคราะห์โปรตีนของเซลล์ ยาจะยับยั้งการเจริญของเชื้อโดยจับกับหน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ซึ่งจะส่งผลให้อะมิโนเอซิลทีอาร์เอ็นเอ (aminoacyl-tRNA) เข้าจับที่ตำแหน่ง A site บนไรโบโซมไม่ได้ นอกจากนี้ ไทกีไซคลินยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ S. pneumoniae และ L. pneumophila อีกด้วย

ทั้งนี้ ไทกีไซคลีนจัดเป็นยากลุ่มเตตราไซคลีนรุ่นที่ 3 ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มย่อยไกลซิลไซคลีน โดยมีลักษณะโครงสร้างที่พิเศษคือ มีส่วนของโมเลกุล N,N-dimethyglycylamido (DMG) ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 9 ของเตตราไซคลีนวง D ซึ่งเป็นส่วนของโมเลกุลที่พบได้เช่นกันในมิโนไซคลีน โดยโครงสร้างส่วนนี้จะทำให้ค่าความเข้มข้นของยาในระดับต่ำสุด (ในหลอดทดลอง) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (minimal inhibitory concentrations) ทั้งแกรมบวกและแกรมลบลดน้อยลง เมื่อเปรียบกับยาอื่นในกลุ่มเดียวกัน

เภสัชจลนศาสตร์

ไทกีไซคลีนถูกเมแทบอลิซึมผ่านปฏิกิริยากลูคูโรนิเดชันไปเป็นสารประกอบกลูคูโรนิด (glucuronid conjugates) และ N-acetyl-9-aminominocycline ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับที่ผิดปกติขั้นรุนแรงจึงจำเป็นต้องมีการปรับลดขนาดยาเมื่อจำเป็นต้องใช้ยานี้ โดยยาจะถูกขับออกมากับอุจจาระและปัสสาวะในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยานี้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง

สังคมและวัฒนธรรม

การประกาศรับรอง

ไทกีไซคลีนได้รับการรับรองให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (complicated skin and soft tissue infections; cSSTI), การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน (complicated intra-abdominal infections; cIAI) และ โรคปอดอักเสบชุมชนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (community-acquired bacterial pneumonia; CAP) ในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในสหราชอาณาจักร ยานี้ได้รับการรับรองให้ใช้ได้ในผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไปในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังแบบซับซ้อน (ไม่รวมถึงแผลเบาหวานติดเชื้อแบคทีเรียที่เท้า) และการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้องแบบซับซ้อน เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะอื่นที่มีข้อข่งใช้เดียวกัน

ชื่อการค้าและชื่อสามัญอื่น

  • GAR-936
  • Tygacil
  • Tigeplug (โดยบริษัท Biocon, ประเทศอินเดีย)



Новое сообщение