Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

การฉีกเซาะของเอออร์ตา

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
การฉีกเซาะของเอออร์ตา
(Aortic dissection)
AoDissekt scheme StanfordB en.png
การฉีกเซาะของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนขาลง (3) เริ่มตั้งแต่หลอดเลือดแดงซับเคลเวียนข้างซ้ายมาจนถึงหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนช่องท้อง (4) ในขณะที่เอออร์ตาส่วนขาขึ้น (1) และโค้งหลอดเลือดเอออร์ตา (2) ไม่ได้รับผลกระทบไปด้วย
สาขาวิชา Vascular surgery, cardiothoracic surgery
อาการ severe chest or back pain, vomiting, sweating, lightheadedness
ภาวะแทรกซ้อน Stroke, mesenteric ischemia, myocardial ischemia, aortic rupture
การตั้งต้น Sudden
ปัจจัยเสี่ยง High blood pressure, Marfan syndrome, Turner syndrome, bicuspid aortic valve, previous heart surgery, major trauma, smoking
วิธีวินิจฉัย Medical imaging
การป้องกัน Blood pressure control, not smoking
การรักษา Depends on the type
พยากรณ์โรค Mortality without treatment 10% (type B), 50% (type A)
ความชุก 3 per 100,000 per year

การฉีกเซาะของเอออร์ตา (อังกฤษ: aortic dissection) คือการที่เกิดการฉีดขาดขึ้นในผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาซึ่งทำให้มีเลือดไหลเข้าไประหว่างชั้นของผนังหลอดเลือดทำให้ชั้นผนังหลอดเลือดแยกออกจากกัน ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ มีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วแม้ได้รับการรักษาทันท่วงทีก็ตาม หากการฉีกเซาะทำให้เกิดการฉีกขาดของชั้นผนังหลอดเลือดเอออร์ตาทั้งหมดสามชั้นจะทำให้มีการเสียเลือดอย่างมากและรวดเร็ว การฉีกเซาะของเอออร์ตาที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือดทุกชั้นมีอัตราการตาย 80% และผู้ป่วย 50% เสียชีวิตก่อนจะมาถึงโรงพยาบาล ถ้าการฉีกเซาะมีขนาดถึง 6 เซนติเมตร ผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินทันที

ทั่วไป

เลือดแทรกผ่านชั้นอินทิมาเข้าไปยังชั้นมีเดีย

เช่นเดียวกับหลอดเลือดแดงอื่นๆ หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาประกอบด้วยชั้นสามชั้น ได้แต่อินทิมา มีเดีย และแอดเวนทิเชีย ชั้นอินทิมา หรือทูนิกา อินทิมา คือชั้นที่สัมผัสกับเลือด ส่วนใหญ่ประกอบขึ้นด้วยเซลล์เยื่อบุ (endothelial cell) ชั้นต่อมาคือทูนิกา มีเดีย เป็นชั้นกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อเรียบและเส้นใยอีลาสติก ชั้นนอกสุดคือทูนิกา แอดเวนติเชีย ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

ในการฉีกเซาะของเอออร์ตา เลือดได้แทรกผ่านชั้นอินทิมาเข้าไปยังชั้นมีเดีย ความดันที่สูงได้ฉีกแยกเนื้อเยื่อของชั้นมีเดีย แบ่งแยกออกเป็นสองส่วน ส่วนใน 2/3 และส่วนนอก 1/3 การฉีกเซาะนี้สามารถลุกลามต่อไปได้ตลอดความยาวของเอออร์ตาทั้งขาไปและขากลับ การฉีกเซาะที่ลามไปทางบริเวณช่วงแยกอิลิแอค (iliac bifurcation) ถือเป็นการฉีกเซาะไปทางด้านหน้า (anterograde) ส่วนการฉีกเซาะที่ลามไปทางโคนเอออร์ตาถือเป็นการฉีกเซาะไปทางด้านหลัง (retrograde) รอยฉีกเซาะเริ่มแรกส่วนใหญ่อยู่ไม่เกิน 100 มิลลิเมตรหลังลิ้นหัวใจเอออร์ติก ดังนั้นการฉีกเซาะไปทางด้านหลังสามารถเข้าไปชั้นเยื่อหุ้มหัวใจทำให้เกิดมีเลือดในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (hemopericardium) ได้ง่าย การฉีกเซาะไปทางด้านหน้าอาจลุกลามไปถึงบริเวณช่วงแยกอิลิแอค อาจทะลุผนังหลอดเลือด หรือเกิดช่องเปิดกลับเข้ารูหลอดเลือดได้ทำให้เกิดเป็น double barrel aorta ซึ่งจะลดความดันของการไหลของเลือดและลดโอกาสการแตกทะลุ การแตกทะลุที่ทำให้เกิดมีเลือดไหลเข้าช่องร่างกายตามแต่ตำแหน่งที่เกิดการแตกทะลุ อาจแตกเข้าช่องหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneal) หรือแตกเข้าช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial) ก็ได้

การจำแนกประเภท

AoDissect DeBakey1.png AoDissect DeBakey2.png AoDissect DeBakey3.png
สัดส่วน 60 % 10-15 % 25-30 %
ชนิด DeBakey I DeBakey II DeBakey III
Stanford A Stanford B
  ส่วนต้น ส่วนปลาย
การจำแนกประเภทของการฉีกเซาะของเอออร์ตา

มีระบบการจำแนกประเภทสำหรับการฉีกเซาะของเอออร์ตาอยู่หลายระบบ ระบบจำแนกที่ใช้บ่อยส่วนใหญ่แบ่งตามตำแหน่งทางกายวิภาคของการฉีกเซาะและระยะเวลาที่เริ่มมีอาการก่อนมาพบแพทย์

ระบบการจำแนกประเภทของ DeBakey

ระบบ DeBakey ได้ชื่อจากศัลยแพทย์ซึ่งป่วยจากการฉีกเซาะของเอออร์ตาชื่อ Michael E. DeBakey เป็นคำอธิบายทางกายวิภาคของการฉีกเซาะของเอออร์ตา จำแนกประเภทของการฉีกเซาะตามแต่ว่าตำแหน่งเริ่มต้นของการฉีกขาดของชั้นอินทิมาเริ่มต้นที่ใดและการฉีกเซาะกินบริเวณไปเพียงใด (อยู่แต่ในเฉพาะเอออร์ตาช่วงขาขึ้น ขาลง หรือทั้งสองส่วน)

  • ชนิดที่ 1 เริ่มต้นที่เอออร์ตาส่วนขาขึ้น ยาวไปถึงอย่างน้อยบริเวณโค้งเอออร์ตา มักพบว่ากินบริเวณยาวไปต่อจากนี้อีก
  • ชนิดที่ 2 ตั้งต้นที่เอออร์ตาส่วนขาขึ้นและคงอยู่เฉพาะบริเวณนั้น
  • ชนิดที่ 3 ตั้งต้นที่เอออร์ตาส่วนขาลง มีส่วนน้อยที่กินบริเวณไปทางส่วนต้นแต่มักจะกินบริเวณไปยังส่วนปลาย

ระบบการจำแนกประเภทของ Stanford

แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ A กับ B ตามแต่ว่าเอออร์ตาส่วนขาขึ้นได้รับผลกระทบหรือไม่

  • A เทียบเท่ากับ DeBakey I และ II
  • B เทียบเท่ากับ DeBakey III

พยาธิสรีรวิทยา

เหตุการณ์แรกสุดที่เกิดขึ้นทำให้มีการฉีกเซาะของเอออร์ตาคือการฉีกขาดของชั้นเยื่อบุอินทิมาของเอออร์ตา จากการที่เลือดในเอออร์ตามีความดันสูงทำให้เลือดแทรกเข้ามาในชั้นมีเดียตรงตำแหน่งที่เกิดการฉีกขาด แรงดันของเลือดที่ไหลเข้ามานี้ทำให้รอยฉีกขาดฉีกออกไปมากขึ้น อาจฉีกเพิ่มไปทางด้านต้น (proximal) หรือด้านปลาย (distal) เลือดจะไหลไปตามทางภายในชั้นมีเดียเกิดเป็นช่องปลอมภายในหลอดเลือด (false lumen) โดยที่ช่องจริง (true lumen) ก็คือช่องทางปกติของเอออร์ตา โดยมีชั้นเนื้อเยื่ออินทิมาแบ่งแยกระหว่างช่องจริงกับช่องปลอม เนื้อเยื่อของอินทิมานี้เรียกว่าแผ่นเนื้อเยื่ออินทิมา (intimal flap)

การฉีกเซาะของเอออร์ตาส่วนใหญ่เริ่มขึ้นในเอออร์ตาส่วนขาขึ้น 65%, โค้งเอออร์ตา 10% และตำแหน่งของเอออร์ตาขาลงส่วนช่องอกบริเวณถัดจาก ligamentum arteriosum 20%

เลือดที่ไหลในช่องปลอมนี้อาจทำให้เกิดการฉีกขาดซ้ำสองขึ้นเป็นช่องทางให้เลือดไหลกลับเข้ามาในช่องจริงได้

แม้หลายๆ ครั้งจะไม่ปรากฏสาเหตุชัดเจนของการเกิดการฉีกขาดของชั้นอินทิมา แต่ส่วนใหญ่เป็นจากการเสื่อมของคอลลาเจนและอีลาสตินที่ประกอบขึ้นเป็นชั้นมีเดีย เรียกว่า cystic medial necrosis และมักพบร่วมกับกลุ่มอาการมาร์แฟน และกลุ่มอาการเอห์เลอส์-แดนลอส

ประมาณ 13% ของการฉีกเซาะของเอออร์ตาพบว่าไม่มีการฉีกขาดของอินทิมา เชื่อกันว่าแบบนี้เกิดจากการมีก้อนเลือดในผนังหลอดเลือด (intramural hematoma) ที่เกิดจากการมีเลือดออกในชั้นมีเดีย (hemorrhage within the media) และเนื่องจากกรณีนี้จะไม่มีทางเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างช่องจริงกับช่องปลอม ทำให้ยากที่จะวินิจฉัยการฉีกเซาะของเอออร์ตาแบบนี้จาก aortography การฉีกเซาะของเอออร์ตาที่เกิดจากการมีก้อนเลือดในผนังหลอดเลือดนี้ควรได้รับการรักษาเช่นเดียวกันกับชนิดที่เกิดจากการฉีกขาดของชั้นอินทิมา

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение