Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ซิบอร์นอล
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
AHFS/Drugs.com | International Drug Names |
รหัส ATC | |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
ChemSpider |
|
UNII | |
KEGG |
|
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.033.906 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C18H26O |
มวลต่อโมล | 258.398 g/mol |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
(verify) | |
ซิบอร์นอล (อังกฤษ: Xibornol) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง ซึ่งเริ่มแรกมีใช้ในรูปแบบสำหรับการฉีดพ่นเข้าช่องปากและลำคอ ยานี้เป็นสารที่ไม่ชอบน้ำ (lipophilic drug) ถูกใช้เป็นหลักในสเปนและอิตาลีในรูปแบบยาสเปรย์เฉพาะที่สำหรับรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบในช่องคอ จากคุณสมบัติที่ไม่ชอบน้ำของยานี้ ทำให้ซิบอร์นอลละลายน้ำได้น้อยมาก ซึ่งยากต่อการคิดค้นพัฒนายาดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบสารละลาย และทำให้มีการพัฒนารูปแบบยาเตรียมของซิบอร์นอลเพื่อใช้ในการรักษาตามข้อบ่งใช้นั้นมีอยู่น้อยและไม่คงที่ โดยจริงแล้ว ซิบอร์นอลมีจำหน่ายในตลาดยาเฉพาะในรูปแบบยาแขวนตะกอนสำหรับการพ่นสเปรย์เท่านั้น แต่ก็มีบางงานวิจัยที่พยายามศึกษาและประเมินความเป็นไปได้ในการพัฒนาสูตรยาซิบอร์นอลในรูปแบบสารละลายที่มีความคงตัวสำหรับใช้ในการฉีดพ่นทางช่องปากโดยใช้ระบบนำส่งยาที่เกิดไมโครอิมัลชัน (self-microemulsifying drug delivery system; SMEDDS) ซึ่งระบบดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความสามารถในการละลายน้ำของซิบอร์นอลให้มากขึ้นจนถึงระดับที่เพียงพอต่อการตั้งตำรับซิบอร์นอลให้อยู่ในรูปแบบสารละลายความเข้มข้นสูงได้
โดยในการศึกษาข้างต้น สารละลายที่มีน้ำมันที่ถูกนำมาใช้ในการศึกษาได้แก่ ลาบราฟิล เอ็ม 1944 (Labrafil M1944), ลาบราฟิล เอ็ม 2124 (Labrafil M2125) และลาบราแฟค ซีซี (Labrafac CC) ส่วนลาบราซอล (Labrasol) และลาบราแฟค พีจี (Labrafac PG) เป็นสารลดแรงตึงผิว และมีทรานส์คูทอล (Transcutol) เป็นสารลดแรงตึงผิวร่วม ในการศึกษาจะมีการสร้างแผนภาพวัฏภาคไตรภาคเทียม (Pseudo-ternary phase diagrams) ขึ้นจากการไทเทรตระบบที่สารละลายที่มีน้ำ (aqueous phase) กับระบบที่สารละลายที่มีน้ำมัน (oil phases) ชนิดต่างๆที่มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิวและสารลดแรงตึงผิวร่วมปริมาณที่เหมาะสม เพื่อหาพื้นที่การเกิดไมโครอิมัลซิฟิเคชัน (self-microemulsification region) และส่วนผสมของไมโครอิมัลชันที่เหมาะสม จากนั้นจึงมีการเตรียมเภสัชตำรับของยาดังกล่าวโดยอิงจากข้อมูลที่ได้ข้างต้นเพื่อนำไปประเมินความคงตัวและความหนืดของสารละลาย ผลพบว่า เภสัชตำรับของซิบอร์นอลในรูปแบบสารละลายที่พบว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดคือ ตำรับที่มีส่วนประกอบของลาบราฟิล เอ็ม 1944, ทรานส์คูทอล, ลาบราแฟค พีจี และตัวทำละลายร่วมที่ชอบน้ำ (โพรพิลีนไกลคอล หรือ PEG 200) ซึ่งเป็นสูตรตำรับที่ทำให้ยาเตรียมสารละลายซิบอร์นอลเข้มข้น (3%, w/v) ละลายได้อย่างสมบูรณ์, มีความคงตัวทางกายภาพได้นานมากถึง 2 เดือน ที่อุณหภูมิ 25 และ 4 องศาเซลเซียส และมีความหนืดกับสมบัติทางประสาทสัมผัสที่เหมาะสม
ยาต้านจุลชีพ − ประเด็นด้านสังคมและวัฒนธรรม
| |
---|---|
ประเภทของยาต้านจุลชีพ | |
ประเด็นด้านสังคม | |
เภสัชวิทยา |
ทางเดินอาหาร/ เมแทบอลิซึม (A) |
กรดกระเพาะ (ยาลดกรด, สารต้านตัวรับ H2 , ยายับยั้งการหลั่งกรด) • ยาแก้อาเจียน • ยาระบาย • ยาแก้ท้องร่วง • ยาลดความอ้วน • ยาต้านเบาหวาน • วิตามิน • เกลือแร่
|
---|---|
เลือดและอวัยวะ สร้างเลือด (B) |
|
ระบบหัวใจ และหลอดเลือด (C) |
ยารักษาโรคหัวใจ/ยาแก้อาการปวดเค้นหัวใจ (คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ , ยาต้านภาวะหัวใจเสียจังหวะ , ยากระตุ้นหัวใจ) • ยาลดความดัน • ยาขับปัสสาวะ • สารขยายหลอดเลือด • เบต้า บล็อกเกอร์ • แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ • ระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน (เอซีอีอินฮิบิเตอร์ , แองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล๊อคเกอร์ , เรนินอินฮิบิเตอร์) • ยาลดไขมันในเส้นเลือด (สแตติน , ไฟเบรต , ไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์) |
ผิวหนัง (D) | |
ระบบสืบพันธุ์ (G) | |
ระบบต่อมไร้ท่อ (H) | |
การติดเชื้อและ การติดเชื้อปรสิต (J, P, QI) |
|
มะเร็ง (L01-L02) | |
โรคทางระบบ ภูมิคุ้มกัน (L03-L04) |
|
กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ (M) | |
สมองและระบบประสาท (N) | |
ระบบทางเดินหายใจ (R) | |
อวัยวะรับความรู้สึก (S) | |
อื่น ๆ (V) |