Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ยาระงับปวด
ยาระงับปวดยาบรรเทาปวด หรือ ยาแก้ปวด (อังกฤษ: analgesic หรือ painkiller) เป็นยาใด ๆ ในกลุ่มยาที่ใช้ระงับความเจ็บปวด มีผลหลายทางทั้งระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) และระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ประกอบด้วย
- พาราเซตามอล (acetaminophen)
- เอ็นเซด (nonsteroidal anti-inflammatory drug-NSAIDs) เช่น ซาลิไซเลต
- นาร์โคติก (narcotic drugs) เช่น มอร์ฟีน
- ยาสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติทำให้เสพติด เช่น ทรามาดอล (tramadol)
ยาที่ไม่จัดว่าเป็นยาระงับปวดแต่ใช้รักษาอาการเจ็บทางประสาทได้แก่
- ไตรไซคลิก แอนตี้ดีเพรสแซนต์ (tricyclic antidepressants)
- แอนตี้คอนวัลแซนต์ (anticonvulsant)
ขั้นตอนของการบรรเทาปวด
ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อปี ค.ศ. 1990 แนะนำว่าให้ใช้ยาบรรทาปวดอย่างอ่อนก่อน จนกระทั่งใช้ไม่ได้ผลแล้วจึงค่อยใช้ยาที่แรงขึ้นเป็นขั้นบันไดดังนี้
- ขั้นตอนแรกให้ใช้ พาราเซตามอล (500 มิลลิกรัม ถึง 1 กรัม ทุก 4-6 ชม.)
- ขั้นตอนที่สองให้ใช้ยาในขั้นตอนแรกร่วมกับ เอ็นเซด (เช่น ไอบูโปรเฟน) หรือโอปิออยด์อย่างอ่อน (เช่น โคดีอีน)
- ขั้นตอนที่สามให้ใช้ โอปิออยด์อย่างแรง (เช่น มอร์ฟีน, ออกซิโคโดน หรือ เฟนทานิล)
กลไกการออกฤทธิ์
พาราเซตามอล และ เอ็นเซด
กลไกการออกฤทธิ์ของ พาราเซตามอล ยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจน แต่ของ แอสไพริน และ เอ็นเซด คือ มันจะไปยับยั้งการทำงานของไซโคลออกซิเจเนส (cyclooxygenase) ทำให้ร่างกายลดการผลิตโปรสตาแกลนดิน เป็นผลให้ลดความเจ็บปวดและการอักเสบ ซึ่งตรงข้ามกับ พาราเซตามอล และ โอปิออยด์
โอปิแอต และ มอร์ฟิโนมิเมติกส์
ทรามาดอล และ บูปรีนอร์ฟิน มีผลกระตุ้นบางส่วน ที่ โอปิออยด์ รีเซพเตอร์
- Cancer pain relief and palliative care. Report of a WHO expert committee [World Health Organization Technical Report Series, 804] . Geneva, Switzerland: World Health Organization; 1990. pp. 1-75.
กลุ่มระงับปวด | |
---|---|
กลุ่มเอ็นเซด |
กรดนิฟลูมิก · คีโตโปรเฟน · คีโตโรแลค · ซีลีคอกซิบ · ไดโคลฟีแนค · นาพรอกเซน · มีลอกซิแคม · ไพรอกซิแคม · เมตทิล ซาลิไซเลต · โรฟีคอกซิบ · อินโดเมตทาซิน · แอสไพริน · ไอบูโปรเฟน · อีโทโดแลค · ไดฟลูนิซอล · โลโซโปรเฟน · ทีนอกซิแคม · ไนมีซูไลด์ · มีฟีนามิก แอซิด
|
กลุ่มโอปิออยด์ |
คาร์เฟนทานิล · โคดีอีน · โคดีอิโนน · ซูเฟนทานิล · เดกซ์โตรโพรพอไซฟีน · ไดไฮโดรโคดีอีน · ทรามาดอล · บิวพรีนอร์ฟีน · เฟนทานิล · เมทาโดน · มอร์ฟีน · มอร์ฟิโนน · เพทิดีน · รีมิเฟนทานิล · ออกซิโคโดน · ออกซิมอร์ฟีน · อัลเฟนทานิล · เฮโรอีน · ไฮโดรโคโดน · ไฮโดรมอร์โฟน
|
ทางเดินอาหาร/ เมแทบอลิซึม (A) |
กรดกระเพาะ (ยาลดกรด, สารต้านตัวรับ H2 , ยายับยั้งการหลั่งกรด) • ยาแก้อาเจียน • ยาระบาย • ยาแก้ท้องร่วง • ยาลดความอ้วน • ยาต้านเบาหวาน • วิตามิน • เกลือแร่
|
---|---|
เลือดและอวัยวะ สร้างเลือด (B) |
|
ระบบหัวใจ และหลอดเลือด (C) |
ยารักษาโรคหัวใจ/ยาแก้อาการปวดเค้นหัวใจ (คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ , ยาต้านภาวะหัวใจเสียจังหวะ , ยากระตุ้นหัวใจ) • ยาลดความดัน • ยาขับปัสสาวะ • สารขยายหลอดเลือด • เบต้า บล็อกเกอร์ • แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ • ระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน (เอซีอีอินฮิบิเตอร์ , แองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล๊อคเกอร์ , เรนินอินฮิบิเตอร์) • ยาลดไขมันในเส้นเลือด (สแตติน , ไฟเบรต , ไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์) |
ผิวหนัง (D) | |
ระบบสืบพันธุ์ (G) | |
ระบบต่อมไร้ท่อ (H) | |
การติดเชื้อและ การติดเชื้อปรสิต (J, P, QI) |
|
มะเร็ง (L01-L02) | |
โรคทางระบบ ภูมิคุ้มกัน (L03-L04) |
|
กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ (M) | |
สมองและระบบประสาท (N) | |
ระบบทางเดินหายใจ (R) | |
อวัยวะรับความรู้สึก (S) | |
อื่น ๆ (V) |