Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ยาลดความอ้วน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
The cardboard packaging of two medications used to treat obesity. Orlistat is shown understanding under the brand name Xenical in a white package with the Roche logo in the bottom right corner (the Roche name within a hexagon). Sibutramine is below under the brand name Meridia. The package is white on the top and blue on the bottom separated by a measuring tape. The A of the Abbott Laboratories logo is on the bottom half of the package.
ยา โอลิทสแตท (เซนิคาล) เป็นยาที่รู้จักกันแพร่หลายในการนำมาใช้รักษาภาวะโรคอ้วน และยา ไซบูทรามีน (เมริเดีย) ซึ่งถูกถอนการใช้เมื่อเร็ว ๆ นี้เนื่องมาจากมีอาการข้างเคียงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

ยาลดความอ้วน หรือยาลดน้ำหนัก เป็นสารที่มีผลทางเภสัชวิทยา ซึ่งจะลด หรือ ควบคุมน้ำหนัก ยากลุ่มนี้จะเปลี่ยนแปลงหนึ่งในกระบวนการพื้นฐานของร่างกายมนุษย์, การควบคุมน้ำหนัก, โดยการเปลี่ยนแปลงทั้งความอยากอาหาร, หรือ การดูดซึมพลังงาน. รูปแบบการรักษาหลัก ๆ สำหรับผู้ที่มี น้ำหนักเกิน และ อ้วน เป็นเรื่องวเฉพาะบุคคล แต่จะยังคงเป็นการ ควบคุมอาหาร และ การออกกำลังกาย.

มียาเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่ใช้เป็นยาลดความอ้วน ได้แก่ ยาโอลิสแตท (เซนิคาล) ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์กร FDA ในการใช้ระยะยาว. ยาจะลดการดูดซึมไขมันที่บริเวณลำไส้โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ไลเปซจากตับอ่อน ยาตัวที่ 2 คือ ยาไรโมนาแบนท์ (อะคอมเพลีย), จะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของระบบเอ็นโดคานาบินอยด์. ยาตัวนี้พัฒนามาจากความรู้ที่ว่าผู้ที่สูบ กัญชา จะหิวบ่อย, ซึ่งจะต้องหาอาหารว่างรับประทานอยู่เรื่อย ๆ ยาตัวนี้ได้รับการรับรองให้ใช้รักษาภาวะโรคอ้วนในยุโรปแต่ไม่ได้รับการรับรองให้รักษาภาวะโรคอ้วนในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเนื่องจากยังเป็นกังวลเรื่องของความปลอดภัย. ในเดือนตุลาคม 2008 ตัวแทนจำหน่ายยาในประเทศทางยุโรป ได้เสนอว่าการขายยาไรโมนาแบนท์มีความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ. และยาถูกเพิกถอนทะเบียนในตลาดทั่วโลกในปี 2008 เนื่องจากผลข้างเคียงทางจิตเวชที่ร้ายแรง

ยาไซบูทามีน (เมริเดีย), ซึ่งจะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการเก็บกลับสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้มีสารสื่อประสาทเพิ่มขึ้นจึงมีผลทำให้ความอยากอาหารลดลง ได้ถูกถอนออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาแล้วในเดือนตุลาคม 2010 เนื่องจากมีผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ.

เนื่องจากอาการ อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น, จึงแนะนำว่ายาที่ใช้รักษาภาวะโรคอ้วนนั้นจะต้อง สั่งโดยแพทย์ เพื่อจะใช้ในกลุ่มผู้มี ภาวะโรคอ้วน ซึ่งคาดว่าจะได้ประโยชน์จากการรักษามากกว่าที่จะให้เกิดความเสี่ยงจากการมีภาวะน่ำหนักเกิน.

ปัจจุบันยาลดน้ำหนักได้หันมาหาการพัฒนายาในกลุ่ม GLP1 analogue แทนซึ่งออกฤทธิ์ในลำไส้และสมอง ยานี้เดิมใช้รักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อมาได้ขยายข้อบ่งชี้ไปที่การรักษาโรคอ้วน โดยยาตัวแรกในกลุ่มนี้ที่วางตลาดคือ Liraglutide ซึ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้ใน European Union ปี 2009 และสหรัฐอเมริกาในปี 2010.

กลไกการออกฤทธิ์

ยารักษาภาวะโรคอ้วน จะออกฤทธิ์ ตามกลไกข้อหนึ่งหรือหลายข้อต่อไปนี้ :

  • กดศูนย์ควบคุมความอยากอาหาร. สารแคทิโคลามีน และอนุพันธุ์ (เช่น เฟนเทอร์มีน และ ยาที่มี สารแอฟเฟตามีน รวมอยู่ด้วย) เป็นสารที่ทำหน้าที่หลักในการกดศูนย์ควคุมนี้, แม้แต่ยาในกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ยาต้านอาการซึมเศร้า และยาปรับอามรมร์ก็จะมีผลเล็กน้อยในการกดความอยากอาหารด้วย (ดูหัวข้อ: บิวโพรไพโอน และ โทพิราเมท). ในอนาคต ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งตัวจับ ตัวจับแคนาบินอยด์ อาจมีผลต่อการกดความอยากอาหารด้วย.
  • เพิ่มกระบวนการ เมตาบอลิสม ของร่างกาย
  • ออกฤทธิ์โดยตรงต่อกระบวนการดูดซึมสารอาหารของร่างกาย. ตัวอย่างเช่น, โอลิทแสตท (ที่รู้จักกันในชื่อของเซนิคาล และ แอลไล) จะยับยั้งการสลายของไขมัน ดังนั้นจึงป้องกันการดูดดซึมของไขมัน. อาหารเสริมไฟเบอร์ที่มีจำหน่ายทั่วไป ได้แก่ กลูโคมาแนน และ กัวกัม ได้ถูกนำมาใช้ในการยับยั้งการย่อยอาหารและทำให้การดูดซึมพลังงานลดลงด้วย

ยากลุ่มทำให้เบื่ออาหาร ในเบื้องต้นได้ถูกนำมาใช้ในการกดความอยากอาหาร, แต่ยากลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์เป็น สารกระตุ้น ด้วย (เช่นเด็กเซอดรีน), และ จะทำให้ผู้ป่วยนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ในการที่จะนำมากดความอยากอาหาร (เช่น. ดิจ๊อกซิน).

ประวัติ

ในศตวรรษที่ 2 ได้มีความพยายามครั้งแรกในการที่จะผลิตสารที่ใช้ในการลดน้ำหนัก โดยแพทย์ชาวกรีกชื่อ โซลานุส จาก อีฟีซุส, เขาได้สั่งยาน้ำที่มีฤทธิ์เป็น ยาระบาย และยาถ่าย, รวมทั้งการนวดโดยใช้ความร้อน, และการออกกำลังกาย. แม้จะผ่านมาเป็นพันปีสิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นวิธีหลักที่ใช้ในการรักษาให้น้ำหนักลด. จนกระทั่งมาถึงปี 1920 - 1930 ได้มีการเปลี่ยนแปลงและมีแนวทางการรักษาใหม่เกิดขึ้น. จาการรักษาที่มีประสิทธิภาพในกลุ่มที่มี ภาวะพร่องฮอร์โมนไฮโปไธรอยด์, ฮอร์โมนไธรอยด์ กลายมาเป็นการรักษาภาวะโรคอ้วนที่เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มผู้ป่วยยูไธรอยด์.ยากลุ่มนี้ให้ผลดี แต่จะผลทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนไธรอยด์สูงเกิน, เช่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และ การนอนหลับยาก. 2, 4-ไดไนโตรฟรีนอล (ดีเอ็นพี) ถูกสร้างขึ้นในปี 1933 ; ซึงทำงานโดย แยก กระบวนการทางชีวภาพของ อ๊อกซิเดทีฟ pฟอสโฟรีเลชั่น ใน ไมโตคอนเดีย, ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการผลิตความร้อนแทนการสร้างพลังงาน เอทีพี อาการข้างเคียงที่สำคัญส่วนใหญ่ได้แก่ ความรู้สึกอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา, เหงื่อออกบ่อย ๆ. การได้รับยาเกินขนาด, อาการข้างเคียงที่พบน้อย คือ ภาวะอุณหภูมิในร่างการสูง จนทำให้เกิดเป็นอันตรายได้ ในปลายปี 1938 ได้มีการยกเลิกการใช้สาร ดีเอ็นพีเนื่องจาก FDA ได้ออกมาบังคับให้โรงงานหยุดการผลิต และถอนยาตัวนี้ออกจากตลาด.

ยาแอมเฟตามีน (ในตลาดรู้จักกันในชื่อของ เบ็นเซอดรีน) กลายมาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในการนำมาใช้ลดน้ำหนักระหว่างปลายปี 1930s during the late 1930s. ยากลุ่มนี้เบื้องต้นทำหน้าที่ในการกดความอยากอาหาร, และมีข้อดีอื่น ๆ อีก เช่น เพิ่มความว่องไวหรือตื่นตัว .การใช้ยาแอมเฟตามีนได้เพิ่มขึ้นในมศวรรษต่อ ๆ มา, ซึ่งรวมถึง โอบิทรอล และยาที่ทำอยู่ในรูปแบบยาเม็ดหลายสี. ยาเหล่านี้จะเป็นการรวมหลาย ๆ ยาเม็ดเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยในการลดน้ำหนัก โดยรับประทานวันละ 1 ครั้ง . สูตรทั่ว ๆ ไปที่ใช้จะประกอบไปด้วยยากระตุ้น ได้แก่ ยาแอมเฟตามีน และไธรอยด์ฮอร์โมน, ยาขับปัสสาวะ, ยาหัวใจดิจิทาลิส, ยาระบาย, และในบางครั้งจะมียากลุ่ม บาร์บิทูเรท เพื่อจะลดอาการข้างเคียงของยาที่กระตุ้น ในปี 1967/1968 จำนวนการตายของผู้ป่วยจากการรับประทานยาลดน้ำหนักได้ทำให้มีการออกกฏบังคับใช้ยากลุ่มนี้ในท้องตลาด.ในปี 1979 จากการที่ FDA ห้ามใช้ยาแอมเฟตามีน ในตอนนั้นยาแอมเฟตามีนถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมอาหารโดยนำมาทำเป็นรูปแบบยาเม็ด.

ในขณะเดียวกัน, ยาเฟนเทอมีน ได้รับการยอมรับจาก FDA .ในปี 1959 และยาเฟนฟูรามีน ในปี 1973. ยาทั้ง 2 ตัวนี้ไม่มีการใช้แพร่หลายมากไปกว่าตัวเก่า ๆ จนกระทั่งในปี 1992 มีงานวิจัย รายงานว่า การใช้ยา 2 ตัวนี้ร่วมกัน จะลดน้ำหนักได้ 10 % ซึ่งน้ำหนักจะคงที่ มากกว่า 2 ปียาเฟน-เฟน ได้เกิดขึ้นและมีการสั่งใช้อย่างแพร่หลายในการลดน้ำหนัก. ยาเด็กเฟนฟูรามีน (รีดักซ์) ถูกพyฒนาขึ้นมากลางปี 1990 โดยถูกนำมาใช้แทนยาเฟนฟูรามีนเนื่องจากมีอาการข้างเคียงน้อยกว่า และได้รับรองให้เป็นยาที่ใช้ได้ในปี 1996. อย่างไรก็ตาม, ก็มีหลักฐานว่า การใช้ยา 2 ตัวร่วมกันทำให้เกิดภาวะ โรคลิ้นหัวใจ ได้มากถึง 30 % ของผู้ที่รับประทานยา, ซึ่งเป็นผลให้มีการถอนยา เฟน-เฟน และยาเด็กเฟนฟูรามีน ออกจากท้องตลาด ในเดือนกันยายน 1997.

ยาอีฟีดรา ได้ถูกถอนออกจากท้องตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2004 เนื่องจากยามีผลเพิ่มความดันโลหิตสูงและสามารถทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองแตกและทำให้ตายได้.

ยาลดความอ้วนร่วมสมัย

ผู้ป่วยบางคนพบว่า การควบคุมอาหาร และ การออกกำลักาย เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้; สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้, ยาลดความอ้วนจะเป็นที่พึ่งสุดท้าย. การสั่งยาลดน้ำหนัก บางครั้งจะประกอบไปด้วย ยากระตุ้น ซึ่งแนะนำให้ใช้เพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และ นั่นเป็นข้อจำกัดที่ในกลุ่มผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการลดดน้ำหนักยาวนานหลายเดือนหรือหลายปี

โอลิสแตท

โอลิทสแตท (เซนิคาล) ลดการดูดซึมไขมันที่บริเวณลำไส้เล็กโดยยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ไลเปซจากตับอ่อน. อาการข้างเคียงจากการใช้ยาโอลิทสแตทที่พบได้บ่อย ได้แก่ การเคลื่อนของไขมันผ่านทางลำไส้ทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นมัน (สะเทียทอเรีย).แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มีไขมันน้อยลง อาการเหล่านี้จะดีขึ้น. เบื้องต้นยาตัวนี้จะสั่งได้เฉพาะแพทย์เท่านั้น ยาตัวนี้เคยได้รับการยอมรับจาก FDA และจัดให้เป็นยาที่หาซื้อได้ทั่วไป ในเดือนกุมภาพันธ์ 2007 . .ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2010, องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการทบทวน และ ให้เพิ่มข้อความบนเอกสารกำกับยาในเรื่องของความปลอดภัย เกี่ยวกับยาเซนิคาล ว่า มีการรายงานว่ามีการเกิดพิษและเป็นอันตรายอย่างรุนแรงกับตับ ซึ่งพบได้น้อย โดยพบการรายงานการเกิดพิษกับตับจำนวน 13 รายจากการใช้ยาเซนิคาลทั้งหมด 40 ล้านคน

โลคาเซริน

โลคาเซริน เบลวิก ได้รับการยอมรับในวันที่ 28 มิถุนายน 2012 ให้สามารถใช้รักษาภาวะโรคอ้วนในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคร่วม. น้ำหนักเฉลี่ยที่ลดได้จากการศึกษาพบว่ามีรายงานอยู่, แต่อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ พบว่าเกิดเป็นเนื้องอก.

จากส่วนหนึ่งของการศึกษาซึ่งทำโดยอารีนา ฟาร์มาซูติคอล และต่อมาได้เสนอเพื่อขอให้ FDA ตรวจสอบ:

At the end of Year 1 of the BLOOM trial, using Intent-to-Treat with Last Observation Carried Forward analysis (ITT-LOCF), the proportion of patients achieving at least 5% body weight loss in the lorcaserin group (47.5%) was more than twice that achieved by the placebo group (20.3%). Nearly three times as many patients achieved at least 10% weight loss in the lorcaserin group (22.6%) than in the placebo group (7.7%). Lorcaserin patients who completed the first year of the trial according to the protocol lost an average of 8.2% of their baseline weight, or approximately 18 pounds, at the end of Year 1 as compared to approximately 7 pounds in the placebo group. In Year 2, patients who continued to take lorcaserin were significantly better able to maintain their Year 1 weight loss than those who were switched to placebo.

In Year 1, lorcaserin caused significant decreases in waist circumference, BMI, glycemic parameters, high-sensitivity C-reactive protein, and fibrinogen levels compared to placebo. Total cholesterol, LDL cholesterol and triglyceride levels at Year 1 were significantly lower in the lorcaserin group than in the placebo group. Lorcaserin did not increase heart rate or blood pressure; rather, heart rate, systolic blood pressure and diastolic blood pressure decreased slightly but significantly with lorcaserin treatment compared to placebo. Quality of life, measured by the Impact of Weight on Quality of Life-Lite questionnaire, improved in both treatment groups, with a greater improvement in the lorcaserin group than in the placebo group.

At the end of Year 1, 55.4% of patients in the lorcaserin group and 45.1% of patients in the placebo group remained enrolled in the study, and 7.1% and 6.7% of patients, respectively, discontinued the study due to an adverse event. Among the most frequent adverse events reported with lorcaserin were headache (18.0% vs. 11.0%, lorcaserin vs. placebo); dizziness (8.2% vs. 3.8%); and nausea (7.5% vs. 5.4%). The rates of serious adverse events were similar in both treatment groups. The rates of depression and the incidence of anxiety and suicidal thoughts were low in both treatment groups. Lorcaserin caused no significant increase compared to placebo in the incidence of new cardiac valvulopathy.

ไซบูทรามีน

ไซบูทรามีน (รีดักติล หรือ เมริเดีย) เป็นยาที่ทำให้ เบื่ออาหาร หรือกดความอยากอาหาร, ลดความต้องการของการอยากรับประทานอาหาร. ไซบูทรามีน อาจเพิ่มความดันโลหิตสูง และเป็นสาเหตุให้ปากแห้ง ท้องผูก ปวดศีรษะ และนอนไม่หลับ

ในอดีต, ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการบันทึกไว้ว่า ยาเมริเดียนเป็นยาที่ใช้รักษาภาวะโรคอ้วนที่มีอันตรายน้อย. ศาลแขวงของสหรัฐอเมริกาของอำเภอในภาคเหนือของรัฐโอไฮโอต้องยกฟ้องคดี จำนวน 113 ราย ที่ยื่นฟ้องว่ายาไม่ได้ผลในการรักษา แต่พบว่าไม่มีข้อมูล หรือหลักฐานสนับสนุนมากพอ.

ไซบูทรามีน ได้ถูกถอนออกจากตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ ยุโรป, ออสเตรเลีย, แคนาดา, ฮ่องกง และ โคลัมเบีย. ความเสี่ยนงของยาตัวนี้ (กล้ามเนื้อหัวใจตาย แบบไม่คุกคาม และโรคหลอดเลือดสมองแตก) พบการรายงานว่ามีมากกว่าข้อดี.

ไรโมนาแบนท์

ไรโมนาแบนท์ (เอคอมเพลีย) เป็นยาที่เพิ่งนำมาใช้ในการเป็นยาลดความอ้วน. ยาตัวนี้คือ สาร แคนาบินอยด์ (CB1) รีเซ็บเตอร์ แอนตาโกนิสต์ ซึ่งออกฤทธิ์ที่สมองโดยจะลดความอยากอาหาร. และยาตัวนี้อาจมีผลเพิ่มอุณหภูมิในร่างการ ดังนั้นก็จะมีการเผาผลาญพลังงานเพิ่มมากขึ้นด้วย.

อย่างไรก็ตาม น้ำหนักลดจากการใช้ยาไรโมนาแบนท์พบว่า ไม่ได้มีผลมากกว่าการใช้ยาลดน้ำหนักตัวอื่น ๆ และเนื่องจากการคำนึงถึงความปลอดภัย และ ภาวะทางจิตที่อาจเกิดขึ้นได้ ยาตัวนี้จึงไม่ได้รับการยอมรัลให้ใช้ในสหรัฐอเมริกา หรือ แคนาดา ทั้งในการเป็นยารักษาภาวะโรคอ้วน และ ยาหยุดบุหรี่.

ซาโนฟี่ - อแวนติส ได้รับการยอมรับให้มีการจำหน่ายยาไรโมนาแบนท์ได้ในท้องตลาด ในการใช้เป็นยารักษาภาวะโรคอ้วนในประเทศทางยุโรป โดยมีข้อจำกัดการใช้. อย่างไรก็ตาม, ในเดือนคุลาคม ปี 2008, ยูโรเปี้ยนเมดิซินเอเจนซี่ (EMEA) ได้เสนอว่า ยา เอคอมเพลีย ไม่มีขายแล้วในประเทศอังกฤษr. หนึ่งเดือนต่อมา ซาโนฟี่ - อแวนติส ตัดสินใจขที่จะหยุดการศึกษาการใช้ยาไรโมนาแบนท์ในทุก ๆ ข้อบ่งใช้

เมทฟอร์มิน

ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ยา เมทฟอร์มิน (กลูโคฟาส) สามารถลดน้ำหนักได้. ยาเมทฟอร์มินจะจำกัดหรือลดปริมาณกลูโคสซึ่งถูกสร้างโดยตับ และเพิ่มปริมาณการเผาผลาญกลูโคส .

อีเซนาไทด์

ยา อีเซนาไทด์ (ไบเอ็ทต้า) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เนิ่น โดยเป็นยาที่มีโครงสร้างคล้าย ฮอร์โมน GLP-1 ซึ่งลำไส้เล็กจะสร้างขึ้นเมื่อมีอาหารผ่านเข้ามา. ฤทธิ์อื่น ๆ ของฮอร์โมน GLP-1 คือ จะขยายเวลาที่ลำไส้จะว่างจากอาหารยาวนานขึ้น และท้ำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น.ผู้ป่วยโรคอ้วนบางคนมีภาวะพร่องฮอร์โมน GLP-1, และควบคุมอาหารเพื่อลดฮอร์โมน GLP-1 . ไบเอ็ทตา เป็นยาที่เพิ่งมีการใช้ในการรักษา โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. ผู้ป่วยบางคน ไม่ทั้งหมด พบว่าพวกเขาน้ำหนักลดเมื่อใช้ยาไบเอ็ทต้า. ข้อเสียเปรียบของยาไบเอ็ทต้าคือจะต้องฉีดเข้าใต้ผิวหนัง วันละ 2 ครั้ง. และในผู้ป่วยบางคน ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้รุนแรง, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการรักษาเริ่มต้นซึ่งไบเอ็ทต้าถูกกำหนดให้ใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ยาที่เหมือนกันอีกตัว คือ ไซมิน ซึงเป็นยาใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน และ ได้มีการนำมาทดลองใช้รักษาภาวะโรคอ้วนในผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน.

แพรมลินไทด์

แพรมลินไทด์ (ซิมลิน) เป็นสารสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างคล้ายกับฮอร์โมนอะไมลิน ซึ่งในคนปกติฮอร์โมนนี้จะหลั่งมาจากตับอ่อนเมื่อมีการรับประทานอาหาร ผลอื่น ๆ ของอะไมลินที่มีต่อร่างกาย คือ ยาจะขยายเวลาที่ลำไส้จะว่างจากอาหารยาวนานขึ้น และเพิ่มช่วงเวลาอิ่มให้นานขึ้น. ยาลดน้ำตาลจำนวนมากที่พร่องเอะไมลิน. ปัจจุบันนี้ ไซมิน เป็นเพียงตัวเดียวที่ได้รับการยอมรับให้ใช้คู่กับอินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 อย่างไรก็ตาม ไซมิน ได้มีการนำมาทดลองใช้กับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานเพื่อใช้รักษาภาวะดรคอ้วนด้วย ข้อเสียเปรียบของยาไซมิน คือ จะต้องฉีดพร้อมรับประทานอาหาร

ยาอื่น ๆ

ยาลดน้ำหนักตัวอื่น ๆ จะทำให้เกดภาวะแทรกซ้อนซึ่งต้องพบแพทย์ ได้แก่ ความดันในหลอดเลือดแดงในปอดสูงร้ายแรง (fatal pulmonary hypertension) และ เกิดภาวะโรคลิ้นหัวใจซึ่งเกิดจากยา รีดั๊กซ์ และ ยา เฟน-เฟน, และภาวะเลือดออกจากโรคหลอดเลือดแตกในสมอง ซึ่งเกิดจาก ยา ฟีนิลโพรพาโนลามีน. ยาต่าง ๆ เหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มของแอมเฟตามีน.

โปรแกรมการลดน้ำหนักที่ไม่ได้สั่งการรักษาโดยแพทย์ และไม่ใช่งานวิจัย แต่เป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักซึ่งมีเป็นจำนวนมากโดยโฆษณาผ่านสื่อทางอินเทอร์เน็ต. องค์การอาหารและยา (FDA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้มีการระวังการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้, เนื่องจาก ทั้งความปลอดภัย และ ประสิทธิภาพยังไม่ปรากฏแน่ชัด.ในแต่ละคนที่เกิดภาวะกลัวอ้วน หรือโรค อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซา และนักกีฬาบางคน พยายามที่จะควบคุมน้ำหนักโดยใช้ ยาระบาย ยาควบคุมน้ำหนัก หรือ ยาขับปัสสาวะ, ทั้ง ๆ ที่ถึงแม้ว่ายาเหล่านี้จะไม่มีผลต่อการลดไขมันในร่างกาย. ผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่คล้ายเป็นยาระบาย จะทำให้เกิดภาวะโปแตสเซี่ยมในเลือดลดต่ำลง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาที่กล้ามเนื้อและ/หรือที่หัวใจตามมาได้. ไพรูเวท เป็นผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันแพร่หลายในการนำมาใช้iลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อย . อย่างไรก็ตาม, ไพรูเวท ซึ่งสามารถพบได้ในแอ๊ปเปิ้ลแดง, เนยแข็ง และไวน์แดง ยังไม่ถูกนำมาศึกษากันมากมายรวมทั้งผลที่ลดน้ำหนักได้ก็ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่.

Phเฟนเทอร์มีน / โทพิราเมท

ดูบทความหลักที่: Phentermine/topiramate

การใช้ยาร่วมกันของ เฟนเทอร์มีน และ โทพิราเมท, ในชื่อกาค้าว่า คิวซิมเนีย (ก่อนหน้านี้มีชื่อว่า คิวเน็กเซีย) ได้รับการยอมรับโดยองค์การอาหารและยา (FDA) ของประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อววันที่ 17 กรกฎาคม 2012 ให้ใช้ในการรักษาภาวะโรคอ้วนโดยให้ใช้ร่วมกับการควบคุมอาหารและโปรแกรมการออกกำลังกาย

ทางเลือกอื่น

อาหารเสริม และ ทางเลือกอื่น ไม่มีหลักฐานสนับสนุนมากพอในการที่จะนำมาใช้ในการรักษาภาวะโรคอ้วน.

ผลิตภัณฑ์ คำอ้าง ประสิทธิภาพ อาการข้างเคียง
คอนจูเกตเต็ท

ไลโนเลอีก

แอซิด

ช่วยลดความอ้วน ไม่ได้ผล  
อีซีเอ สแน็ค ใช้ลดน้ำหนักสำหรับนักกีฬา ได้ผลดีในการลดน้ำหนักช่วงเวลาสั้น ๆ การลดการใช้ในระยายาวเพื่อลดน้ำหนักไม่ได้ผล เกิดอาการข้างเคียงกับภาวะจิตใจ ระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท และหัวใจเต้นผิดจังหวะ

อาการข้างเคียง

ยาลดความอ้วนบางตัวมีอาการข้างเคียงรุนแรง และอาจทำให้ตายได้, ยา เฟน-เฟน เป็นตัวอย่างที่รู้จักกันดี. ยาเฟน-เฟนได้รับการรายงานจาก FDA ว่า ทำให้ผลการตรวจการทำงานของหัวใจผิดปกติ เกิดปัญหากับลิ้นหัวใจ และพบน้อยรายที่เกิดโรคลิ้นหัวใจ หนึ่งในนี้ ซึ่งไม่ใช่รายแรก เป็นการเตือนจากท่านเซอร์ อาร์เธอร์ แมคแนลตี้, หัวหน้าของเมดิคอล ออฟฟิซ (ประเทษอังกฤษ). ในตอนต้นปี 1930 เขาเตือนให้มีการต่อต้านการใช้ ไดไนโตรฟีนอล ซึ่งเป็นยาที่ใช้ลดความอ้วน และการใช้ไธรอยด์ฮอร์โมนที่ไม่เหมาะสมในการลดน้ำหนัก. อาการข้างเคียงที่พบจะมาจากกระบวนการเมตาบอลิสมของยา. ยาที่กระตุ้น โดยทั่วไปจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิด ภาวะความดันโลหิตสูง, หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และเต้นเร็ว ต้อหิน การติดยา, พักผ่อนได้น้อย, วุ่นวาย, และ นอนไม่หลับ.

ยาตัวอื่น ๆ, โอลิทสแตท, ยับยั้งการดูดซึมไขมัน, และทำให้มีการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำมันตลอดเวลา (สะเทียทอเรีย), อุจจาระเป็นน้ำมัน, ปวดท้อง, และ ท้องอืด. ยาตัวที่ออกแบบให้เหมือนกับยาที้ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือ อะคาโบ๊ส; ซึ่งจะมีบางส่วนที่จะยับยั้งการดูดซึมคาร์โบไฮเครท ที่บริเวณลำไส้เล็ก และ มีอาการข้างเคียง เหมือนกัน คือ ปวดท้อง และ ท้องอืด.

ข้อจำกัดของการศึกษาในปัจจุบัน

ข้อจำกัดของการศึกษายาลดความอ้วน คือ พวกเราไม่เข้าใจกลไกพื้นฐานการทำงานของระบบความอยากอาหารในสมอง และวิธีการปรับสมดุล. ความอยากอาหาร เป็นสัญชาตญาณพื้นฐานที่ทำให้อยู่สิ่งมีชีวิตรอด. ยาที่ทำให้ความอยากอาหารลดลง จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เสียชีวิต และเกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมทางคลินิกขึ้นได้

เนื่องจากร่างกายมนุษย์เรามีการใช้สารเคมีในร่างกาย และ ฮอร์โมน ในการป้องกันการเก็ยรักษาไขมันในร่างกาย (ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่สำคัญและมีประโยชน์เมื่อต้องอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร, ) ยังไม่มีการค้นพบวิธีการที่จะจัดการกับพฤติกรรมการกินที่มากเกินพอดี เหล่านี้ ยาลดความอ้วนจึงเป็นวิธีทางหนึ่งที่จะนำมาใช้ในระยะยาวกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก

เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงกระบวนการเมตาลอลิสมที่เกิดจาการใช้ยาตัวเดี่ยวในการลดน้ำหนักซึ่งจะทำให้เกิดน้ำหนักกลับมาเพิ่มได้อีก และเพื่อให้ผลคงอยู่ตลอดไป มีสมมติฐานในการให้ใช้ยาร่วมกันเพื่อให้เกืดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยออกฤทธิ์หลาย ๆ ทาง และยับยั้งไม่ให้เกิดการย้อนกลับของกระบวนการเมตาบอลิสม ซึ่งได้ผลมากในการลดน้ำหนัก มีหลักฐานยืนยันในการประสบความสำเร็จในการใช้ยาร่วมกันระหว่างยา ฟนเทอมีน และ ยาเฟนฟูรามีน หรือ ยาเด็กเฟนฟูรามีน, ซึ่งรู้จักกันในชื่อของยาเฟน-เฟน, ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ยาเฟนฟูรามีน และยาเด็กเฟนฟูรามีน ถูกถอดจากตลาดเนื่องจากความปลอดภัย พราะเกรงว่าจะเกิดโรคลิ้นหัวใจ ซึ่งพบได้จากผลของยา เฟนฟูรามีน และ ยา เด็กเฟนฟูรามีน ที่มีผลต่อ 5-HT2B ซีโรโตนิน รีเซฟเตอร์ ที่อยู่บริเวณลิ้นหัวใจ. การใช้ยาร่วมกันของ SSRIs และยาเฟนเทอมีน, ที่รู้จักกันในชื่อของยา เฟนโปร, ซึ่งพบว่าใช้ได้ผลเทียบเท่ากับยาเฟน-เฟน แต่ไม่มีผลต่อลิ้นหัวใจเนื่องมาจากไม่ได้ออกฤทธิ์ที่ ซีโรโตนิน รีเซฟเตอร์ อันเนื่องมาจาก สาร SSRIs . ได้มีการพัฒนาการใช้ยาร่วมกันในการรักษาภาวะโรคอ้วน โดยได้ใช้ยาร่วมกัน 3 ชนิด : คิวซิมเนีย (โทพิราเมท + เฟนเทอมีน), เอ็มพาติค (บิวโพรไพโอน + โซนิซาไมิซาไมด์) และ คอนเทรฟ (บิวโพรไพโอน + นัลทรีโซล).

การพัฒนาในอนาคต

ยากลุ่มอื่นที่ได้พัฒนาในการใช้ยับยั้งการเอ็นไซม์ไลเปซ, ตัวที่เหมือนกับยา โอลิสแตท. ยายับยั้งเอ็นไชม์ไลเปซตัวอื่น, มีชื่อว่า GT 389-255, ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยเป๊บติมมูน (จดลิขสิทธิ์จากบริษัท เจ็นไซม์). นี่เป็นการทำงานร่วมกันของการยับยั้ง และเป็นโพลิเมอร์ที่ออกแบบมาให้จับกับ ไตรกรีเซอร์ไรด์ในรูปแบบที่ไม่ได้รับการย่อย ดังนั้นจะเป็นการเพิ่มการขับออกโดยไม่มีอาการข้างเคียงเหมือนยาโอลิทสแตทที่มีการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำมัน การพัฒนานี้ดูเหมือนยังอยู่ในเฟส 1 ซึ่งได้เริ่มทดลองมาตั้งแต่ปี 2004 และไม่มีการทดลองต่อในคนตั้งแต่ปี 2011, เป๊บติมูน ได้จดบันทึกใน เป๊บติมูน ลิควิเดชั่น แขฟเตอร์ 7 .

ยาลดความอ้วนอีกตัวหนึ่งที่นำมาใช้ระยะยาวเป็นการพัฒนามาจากไนโนนิวคลิอิก แอซิด อินเตอร์ฟีเรนท์ (RNAi). การศึกษาทางพันธุกรรมในสัตว์ ได้แสดงให้เห็นว่าการลดลงของ ยีนส์ RIP140 ในหนู มีผลทำให้ขาดการสะสมของอาหารแม้ว่าหนูจะถูกเลี้ยงด้วยอาหารที่มีไขมันสูง. การทดลองถูกนำเสนอโดยศาสตราจารย์ มัลคอม ปาร์คเกอร์ แห่งวิทยาลัยอิมพิเรียล ได้แสดงให้เห็นว่า การทำให้ RIP 140 หยุดการทำงาน, นิวเคลียร์ฮอร์โมน โค - รีเพลสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเก็บสะสมของไขมัน มีผลต่อรูปลักษณะของสัตว์ทำให้เล็กลงตลอดชั่วชีวิต ซึ่งจะมีผลต้านทานต่อการกินอาหารที่จะทำให้อ้วนได้, และยังเพิ่มอัตราการเผาผลาญในร่างกายด้วย. บริษัทCytRx ได้พัฒนาการรักษาโดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อต้านสาร RNAi tเพื่อใช้รักษาโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. สารนิวเคลียร์ฮอร์โมนรีเซฟเตอร์ โค-รีเพลสเซอร์ อีกตัว คือ SMRT, ได้มีการแสดงให้เห็นว่า ออกฤทธิ์มีผลต่อพันธุกรรมในหนู ดร.รัสเซล โนฟซิงเกอร์ และ ดร.โรนัล อีแซน แห่งสถาบันซอล์ค ได้แสดงให้เห็นว่า การขัดขวางการทำงานในระดับโมเลกุลระหว่างปฏิกิริยาของ SMRT และนิวเคลียร์ฮอร์โมนรีเซฟเตอร์ ที่อยู่ร่วมกัน จะเพิ่มความอ้วน และลดอัตราการเผาผลาญพลังงาน. การศึกษานี้ เป็นการนำเสนอยาใหม่ ที่ออกฤทธิ์ตรงตำแหน่งการทำปฏิกิริยากันระดับโมเลกุลระหว่างนิวเคลียร์ฮอร์โมนรีเซฟเตอร์ กับโคแฟกเตอร์ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ในการทำให้เกิดแนวทางการรักษาใหม่ที่จะพัฒนาไปสู่ความพยายามในการที่จะควบคุมน้ำหนัก

มีการศึกษาอีกเรื่องที่จะกระตุ้นให้เกิดความอิ่มโดยทำให้ไม่เหลือพื้นที่ในช่องกระเพาะอาหารและลำไส้ การศึกษาทางคลินิกอย่างหนึ่ง เกี่ยวข้องกับ ไฮโดรเจล ซึ่งทำมาจากวัตถุที่เป็นประเภทอาหารแต่ย่อยไม่ได้ การนำร่องการศึกษาอื่น อีกการศึกษา ได้แก่การใช้ ซูโดบีซัว.

ยาตัวอื่นที่มีการทำการทดลองทางคลินิก ในเดือนตุลาคม 2009 มีการใช้ ซีทิลสแตท และ TM38837.

อื่น ๆ ที่คล้ายกัน

อ่านเพิ่ม

Boss, Olivier; Karl G. Hofbauer (2004). Pharmacotherapy of obesity: options and alternatives. Boca Raton: CRC Press. ISBN 0-415-30321-4.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение