Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

หลอดลมโป่งพอง

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
หลอดลมโป่งพอง
(Bronchiectasis)
Bronchiectasis NHLBI.jpg
ภาพ A แสดงให้เห็นภาพตัดขวางของปอดที่มีทางหายปกติและปอดที่มีทางหายใจโป่งพอง
ภาพ B แสดงให้เห็นภาพตัดขวางของทางหายใจปกติ
ภาพ C แสดงให้เห็นภาพตัดขวางของทางหายใจที่เป็นหลอดลมโป่งพอง
การออกเสียง
สาขาวิชา วิทยาปอด
อาการ ไอมีเสมหะ, หายใจลำบาก, เจ็บหน้าอก
การตั้งต้น ค่อยเป็นค่อยไป
ระยะดำเนินโรค ระยะยาว
สาเหตุ การติดเชื้อ, ซิสติกไฟโบรซิส, โรคพันธุกรรม, ไม่ทราบสาเหตุ
วิธีวินิจฉัย วินิจฉัยจากอาการ, ซีทีสแกน
โรคอื่นที่คล้ายกัน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคปอดจากแร่ใยหิน, ท่อลมและหลอดลมอ่อน
การรักษา ยาปฏิชีวนะ, ยาขยายหลอดลม, การปลูกถ่ายปอด
ความชุก 1–250 ต่อ 250,000 ประชากร (ผู้ใหญ่)

หลอดลมโป่งพอง (อังกฤษ: bronchiectasis) คือภาวะที่บางส่วนของทางหายใจในปอดขยายขนาดขึ้นอย่างถาวร ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรังแบบมีเสมหะ อาการอื่นๆ เช่น หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด และเจ็บหน้าอก อาจมีอาการหายใจมีเสียงหวีดหรือนิ้วปุ้มร่วมด้วยก็ได้ ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีการติดเชื้อในปอดซ้ำได้บ่อยๆ

หลอดลมโป่งพองอาจเป็นผลจากโรคติดเชื้อหรือโรคที่ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิดได้หลายอย่าง เช่น ปอดอักเสบ วัณโรค ภูมิคุ้มกันผิดปกติ และอาจเป็นจากโรคทางพันธุกรรมตั้งแต่กำเนิด เช่น ซิสติกไฟโบรซิส ซึ่งผู้ป่วยซิสติกไฟโบรซิสแทบทุกคนในที่สุดแล้วจะมีภาวะหลอดลมโป่งพองรุนแรงตามมาได้ หากไม่นับรายที่เกิดจากซิสติกไฟโบรซิสแล้วผู้ป่วยหลอดลมโป่งพองร้อยละ 10-50 เกิดขึ้นโดยที่ไม่พบสาเหตุ กลไกของโรคนี้คือเกิดการอักเสบมากเกินไปจนทางหายใจถูกทำลายหลอดลมที่ได้รับผลกระทบจะขยายใหญ่และสูญเสียความสามารถในการระบายสารคัดหลั่ง สารคัดหลั่งเหล่านี้จะทำให้มีเชื้อแบคทีเรียในเนื้อปอดมากขึ้น ทำให้เกิดการอุดตันทางหายใจ และทำลายทางหายใจให้แย่ลงไปอีก โรคนี้ถือเป็นโรคปอดอุดกั้นชนิดหนึ่ง โรคอื่นๆ ในกลุ่มนี้ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และโรคหืด การวินิจฉัยเริ่มจากการสงสัยจากอาการ และยืนยันการวินิจฉัยด้วยการทำซีทีสแกน การเพาะเชื้อจากเสมหะอาจมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยรายที่มีอาการแย่ลงโดยเฉียบพลัน และควรทำอย่างน้อยปีละครั้ง

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение