Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
เคมีบำบัด
เคมีบำบัด | |
---|---|
การแทรกแซง | |
สุภาพสตรีท่านหนึ่งกำลังรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด docetaxel เพื่อรักษามะเร็งเต้านม มีถุงมือเย็นและที่แช่เย็นอยู่ที่มือและเท้าเพื่อลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเล็บของเธอระหว่างรับยา
|
เคมีบำบัด (อังกฤษ: chemotherapy) หรือ คีโม (อังกฤษ: chemo) เป็นวิธีรักษามะเร็งประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ยาต้านมะเร็งชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดมาประกอบกับเป็นสูตรยาเคมีบำบัดมาตรฐาน เคมีบำบัดอาจให้โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษามะเร็งให้หาย หรือให้เพื่อยืดชีวิตและบรรเทาอาการก็ได้ (เรียกว่า เคมีบำบัดแบบประคับประคอง)
ในปัจจุบันคำว่าเคมีบำบัดถูกใช้เมื่อหมายถึงการรักษาด้วยยารักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์ด้วยวิธียับยั้งการแบ่งเซลล์ ซึ่งบางครั้งอาจไม่นับรวมยาที่ออกฤทธิ์ผ่านกลไกอื่น เช่น ยาที่ออกฤทธิ์โดยการจับกับตำแหน่งเป้าหมายบนโมเลกุลหรือยีน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งผ่านฮอร์โมน (เช่น เอสโตรเจน สำหรับมะเร็งเต้านม หรือ แอนโดรเจน สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก) ก็จะถูกเรียกว่า ฮอร์โมนบำบัด หรือการรักษาด้วยฮอร์โมน ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการส่งสัญญาณผ่านตัวรับ เช่น ผ่านตัวรับไทโรซีนไคเนส ก็จะถูกเรียกว่า การรักษาแบบมุ่งเป้า เป็นต้น
ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาแบบเคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด หรือรักษาแบบมุ่งเป้า ก็ตาม ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นการรักษาที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย กล่าวคือเมื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายแล้วยาจะเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถส่งไปออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งได้ทุกที่ที่มีเลือดไปถึง หรือก็คือทั่วร่างกายนั่นเอง การรักษาแบบทั่วร่างนี้บางครั้งนิยมใช้ร่วมกับการรักษาแบบเฉพาะที่ เช่น การรักษาด้วยรังสี การผ่าตัด หรือการรักษาด้วยความร้อน เป็นต้น
ยาเคมีบำบัดแบบดั้งเดิมเป็นยาที่เป็นพิษต่อเซลล์ หมายถึงไปรบกวนหรือยับยั้งกระบวนการแบ่งเซลล์ (ไมโทซิส) แต่เซลล์มะเร็งซึ่งมีหลายชนิดนั้นก็ตอบสนองต่อการรักษาแบบนี้แตกต่างกัน อาจกล่าวได้ว่าเคมีบำบัดเป็นยาที่ทำลายหรือทำร้ายเซลล์ ซึ่งอาจทำให้เซลล์ตายลงผ่านกระบวนการอะพอพโทซิส ผลข้างเคียงของเคมีบำบัดนั้นส่วนหนึ่งมาจากการที่เซลล์ปกติที่มีการแบ่งเซลล์บ่อยครั้งนั้นถูกทำลายไปพร้อมกันกับเซลล์มะเร็ง เซลล์เหล่านี้ เช่น เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร และเซลล์รากผม เป็นต้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่พบบ่อยของเคมีบำบัด ได้แก่ การกดไขกระดูก ทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อย และทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำตามมา เยื่อบุทางเดินอาหารอักเสบ และผมร่วง เนื่องจากผลต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันนี้เอง ทำให้บางครั้งยาเคมีบำบัดเหล่านี้มีที่ใช้ในโรคอื่นที่เกิดจากการที่เซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไปหรือทำงานผิดปกติ โรคเหล่านี้เรียกว่าโรคภูมิต้านตนเอง เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ลูปัสอิริทีมาโทซัสทั่วร่าง มัลติเพิลสเคลอโรซิส โรคหลอดเลือดอักเสบต่างๆ เป็นต้น
กลไกการออกฤทธิ์
มะเร็งคือเซลล์ที่มีการแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ และมีพฤติกรรมรุกรานแบบร้าย ได้แก่ การรุกรานเนื้อเยื่อข้างเคียง และการแพร่กระจาย เป็นต้น สาเหตุของการมีพฤติกรรมเช่นนี้เกิดจากสาเหตุหลายๆ อย่าง ทั้งจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการกลายพันธุ์สะสมขึ้นในยีนส่วนที่เป็นออนโคยีน (ยีนที่ควบคุมอัตราการเจริญของเซลล์) และยีนยับยั้งเนื้องอก (ยีนที่ป้องกันไม่ให้เซลล์กลายเป็นมะเร็ง) ซึ่งเมื่อเกิดการกลายพันธุ์สะสมขึ้นถึงระดับหนึ่ง เซลล์ที่มีการกลายพันธ์นั้นก็จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
กล่าวโดยคร่าวๆ แล้ว ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่มีกลไกหลักคือการขัดขวางการแบ่งเซลล์ (ไมโทซิส) จึงมีผลมากต่อเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็ว การที่มีผลเสียต่อเซลล์นี้เองจึงเรียกว่าเป็นยาที่เป็นพิษต่อเซลล์ หรือไซโทท็อกซิก ยาเหล่านี้ขัดขวางกระบวนการไมโทซิสด้วยหลายกลไก เช่น เข้าไปทำให้ดีเอ็นเอเสียหาย ยับยั้งกลไกทางเซลล์ที่ทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ ทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่ากลไกต่างๆ ของยากลุ่มนี้ เข้าไปกระตุ้นให้เซลล์เกิดกระบวนการทำลายตัวเองตามที่ได้วางโปรแกรมไว้ หรือเรียกว่า อะพ็อพโทซิส
จากการที่ยาเคมีบำบัดส่งผลต่อเซลล์ที่กำลังแบ่งตัวนี้เอง ทำให้เซลล์เนื้องอกซึ่งมีอัตราการเจริญสูง (เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลัน และ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดร้ายแรงอย่างมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน) จะตอบสนองอย่างดีมากจากการใช้เคมีบำบัด เนื่องจากในเวลาหนึ่งๆ จะมีเซลล์ที่กำลังแบ่งเซลล์อยู่เป็นสัดส่วนมากกว่าที่พบในโรคอื่นที่อัตราการเจริญไม่สูงเท่า ซึ่งมะเร็งกลุ่มหลังนี้ (เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิดที่มีการลุกลามอย่างช้าๆ) จะไม่ตอบสนองดีมากนักต่อเคมีบำบัดชนิดที่ออกฤทธิ์ที่กระบวนการแบ่งเซลล์ มะเร็งบางอย่างที่มีความแตกต่างของเซลล์ในก้อนเนื้องอกมาก อาจตอบสนองต่อการใช้เคมีบำบัดไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับโคลนย่อยๆ ในเนื้องอกนั้นว่าโคลนใดตอบสนองดีกว่ากัน
แหล่งข้อมูลอื่น
- American Cancer Society - Chemotherapy
- Chemotherapy.com Educational and support information about chemotherapy and associated side effects
- Cancer Management Handbook: Principles of Oncologic Pharmacotherapy เก็บถาวร 2009-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
SPs/MIs (M phase) |
|
||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
DNA replication inhibitor |
|
||||||||||||||||||||||||||||
Photosensitizers/PDT | |||||||||||||||||||||||||||||
Other |
|
||||||||||||||||||||||||||||
|
CI monoclonal antibodies ("-mab") |
|
||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Tyrosine kinase inhibitors ("-nib") |
|
||||||||
Other |
|
||||||||
|
Conditions |
|
||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Staging/grading | |||||||||||
Carcinogenesis | |||||||||||
Misc. | |||||||||||
|
ทางเดินอาหาร/ เมแทบอลิซึม (A) |
กรดกระเพาะ (ยาลดกรด, สารต้านตัวรับ H2 , ยายับยั้งการหลั่งกรด) • ยาแก้อาเจียน • ยาระบาย • ยาแก้ท้องร่วง • ยาลดความอ้วน • ยาต้านเบาหวาน • วิตามิน • เกลือแร่
|
---|---|
เลือดและอวัยวะ สร้างเลือด (B) |
|
ระบบหัวใจ และหลอดเลือด (C) |
ยารักษาโรคหัวใจ/ยาแก้อาการปวดเค้นหัวใจ (คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ , ยาต้านภาวะหัวใจเสียจังหวะ , ยากระตุ้นหัวใจ) • ยาลดความดัน • ยาขับปัสสาวะ • สารขยายหลอดเลือด • เบต้า บล็อกเกอร์ • แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ • ระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน (เอซีอีอินฮิบิเตอร์ , แองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล๊อคเกอร์ , เรนินอินฮิบิเตอร์) • ยาลดไขมันในเส้นเลือด (สแตติน , ไฟเบรต , ไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์) |
ผิวหนัง (D) | |
ระบบสืบพันธุ์ (G) | |
ระบบต่อมไร้ท่อ (H) | |
การติดเชื้อและ การติดเชื้อปรสิต (J, P, QI) |
|
มะเร็ง (L01-L02) | |
โรคทางระบบ ภูมิคุ้มกัน (L03-L04) |
|
กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ (M) | |
สมองและระบบประสาท (N) | |
ระบบทางเดินหายใจ (R) | |
อวัยวะรับความรู้สึก (S) | |
อื่น ๆ (V) |