Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
เซอริวาสแตติน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ |
|
ช่องทางการรับยา | การรับประทาน |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 2–3 ชั่วโมง |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank |
|
ChemSpider |
|
UNII | |
KEGG |
|
ChEBI | |
ChEMBL | |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C26H34FNO5 |
มวลต่อโมล | 459.55 g/mol |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
7 7 (what is this?) (verify) | |
เซอริวาสแตติน (อังกฤษ: Cerivastatin) (ชื่อการค้า: Baycol, Lipobay) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดกลุ่มสแตตินที่ได้จากการสังเคราะห์ โดยมีข้อบ่งใช้เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ปัจจุบันเซอริวาสสแตตินถูกถือลิขสิทธิ์การผลิตและจัดจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาโดยบริษัทยาที่มีชื่อ เบเย่อร์ เอ.จี. (Bayer A.G.) ตั้งแต่ช่วงท้ายทศวรรษ 1990 โดยในตลาดของยาลดไขมันในกระแสเลือดชนิดใหม่ในขณะนั้น เซอริวาสแตตินของเบเยอร์นั้นถือเป็นคู่แข่งสำคัญของอะโทวาสแตติน ซึ่งเป็นยากลุ่มเดียวกันจากบริษัทไฟเซอร์ ซึ่งเป็นบริษัทยาที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในวงการตลาดยา ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 เบเย่อร์ เอ.จี. ได้ยกเลิกการจำหน่ายและถอนเซอริวาสแตตินออกจากตลาดยาทั่วโลกด้วยความสมัครใจ เนื่องจากพบการเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง คือ การเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อลายสลาย (fatal rhabdomyolysis)
การศึกษาและเฝ้าระวังติดตามการใช้ยาหลังการวางตลาด
ในระหว่างการศึกษาและเฝ้าระวังติดตามการใช้ยาเซอริวาสแตตินหลังจากยาออกวางจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว (post marketing surveillance: PMS) พบรายงานผู้ป่วยจำนวน 52 รายเสียชีวิตขณะอยู่ระหว่างการใช้เซอริวาสแตติน โดยมีสาเหตุหลักมาจากกล้ามเนื้อลายสลายและไตวายเฉียบพลัน ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเกิดโรคกล้ามเนื้อลายสลายต่อหนึ่ง โดยความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติดังกล่าวจะเพิ่มมากยิ่งขึ้นในกลุ่มผู้ที่ใช้เซอริวาสแตตินร่วมกับยาลดไขมันในเลือดไฟเบรต โดยเฉพาะเจ็มไฟโบรซิล (Gemfibrozil; ชื่อการค้า Lopid) รวมไปถึงผู้ที่ใช้เซอริวาสแตตินในขนาดสูง (0.8 mg/day) ด้วย หลังจากพบรายงานการเกิดความผิดปกติดังกล่าว 18 เดือน บริษัทเบเย่อร์ เอ.จี. ได้พิจารณาเพิ่มข้อห้ามใช้เพิ่มเติมลงบนบรรจุภัณฑ์ของเซอริวาสแตติน โดยห้ามใช้เซอริวาสแตตินร่วมกับเจ็มไฟโบรซิล
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์การเกิดโรคกล้ามเนื้อลายสลายระหว่างเซอริวาสแตตินกับยาสแตตินชนิดอื่น พบว่า อุบัติการณ์การเกิดความผิดปกติดังกล่าวของผู้ที่ใช้เซอริวาสแตตินสูงกว่าผู้ที่ได้รับสแตตินชนิดอื่นถึง 16-80 เท่า ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบผู้ป่วยที่เกิดโรคกล้ามเนื้อลายสลายที่ไม่ก่อให้เกิดการเสียชีวิต (nonfatal rhabdomyolysis) ระหว่างการใช้เซอริวาสแตตินประมาณ 385 คน ซึ่งสูงกว่าสแตตินชนิดอื่น 5-10 เท่า นอกจากนี้แล้วเซอริวาสแตตินยังสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง (myopathy) ซึ่งความรุนแรงอาการดังกล่าวมีความสัมพันธ์แบบแปรผันตรงกับขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับ แต่การเกิดอุบัติการณ์ดังกล่าวนั้นถูกเปิดเผยออกมาโดยเบเย่อร์ภายหลังที่บริษัทถูกฟ้องร้องและมีการเปิดเผยเอกสารของบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นดังกล่าวแต่ไม่เคยตีพิมพ์ชี้แจงมาก่อน
ดูเพิ่ม
ทางเดินอาหาร/ เมแทบอลิซึม (A) |
กรดกระเพาะ (ยาลดกรด, สารต้านตัวรับ H2 , ยายับยั้งการหลั่งกรด) • ยาแก้อาเจียน • ยาระบาย • ยาแก้ท้องร่วง • ยาลดความอ้วน • ยาต้านเบาหวาน • วิตามิน • เกลือแร่
|
---|---|
เลือดและอวัยวะ สร้างเลือด (B) |
|
ระบบหัวใจ และหลอดเลือด (C) |
ยารักษาโรคหัวใจ/ยาแก้อาการปวดเค้นหัวใจ (คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ , ยาต้านภาวะหัวใจเสียจังหวะ , ยากระตุ้นหัวใจ) • ยาลดความดัน • ยาขับปัสสาวะ • สารขยายหลอดเลือด • เบต้า บล็อกเกอร์ • แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ • ระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน (เอซีอีอินฮิบิเตอร์ , แองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล๊อคเกอร์ , เรนินอินฮิบิเตอร์) • ยาลดไขมันในเส้นเลือด (สแตติน , ไฟเบรต , ไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์) |
ผิวหนัง (D) | |
ระบบสืบพันธุ์ (G) | |
ระบบต่อมไร้ท่อ (H) | |
การติดเชื้อและ การติดเชื้อปรสิต (J, P, QI) |
|
มะเร็ง (L01-L02) | |
โรคทางระบบ ภูมิคุ้มกัน (L03-L04) |
|
กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ (M) | |
สมองและระบบประสาท (N) | |
ระบบทางเดินหายใจ (R) | |
อวัยวะรับความรู้สึก (S) | |
อื่น ๆ (V) |