Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โซเดียมคลอไรด์

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โซเดียมคลอไรด์
Sodiumchloride crystal 01.jpg
Sodium-chloride-3D-ionic.png
ชื่อตาม IUPAC Sodium chloride
ชื่ออื่น Common salt; halite; table salt
เลขทะเบียน
เลขทะเบียน CAS [7647-14-5][CAS]
RTECS number VZ4725000
ChemSpider ID 5044
คุณสมบัติ
สูตรเคมี NaCl
มวลต่อหนึ่งโมล 58.44 g/mol
ลักษณะทางกายภาพ Colorless/white crystalline solid
กลิ่น Odorless
ความหนาแน่น 2.16 g/cm3
จุดหลอมเหลว

801 °C (1074 K)

จุดเดือด

1465 °C (1738 K)

ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ 35.9 g/100 mL (25 °C)
ดัชนีหักเหแสง (nD) 1.544 (589 nm)
โครงสร้าง
โครงสร้างผลึก Cubic (see text) , cF8
Space group Fm3m, No. 225
Coordination
geometry
Octahedral (Na+)
Octahedral (Cl)
ความอันตราย
EU Index Not listed
จุดวาบไฟ Non-flammable
LD50 3000–8000 mg/kg (oral in rats, mice, rabbits)
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
แอนไอออนที่เกี่ยวข้อง
แคทไอออนที่เกี่ยวข้อง
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

โซเดียมคลอไรด์ (อังกฤษ: Sodium chloride, สูตรเคมี: NaCl) มีชื่อที่เรียกทั่วไปดังนี้ เกลือแกง เป็นสารประกอบเคมี โซเดียมคลอไรด์เป็นเกลือที่มีบทบาทต่อความเค็มของมหาสมุทร และของเหลวภายนอกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เป็นส่วนประกอบหลักในเกลือที่กินได้ มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหาร

โครงสร้างผลึก

โครงสร้างผลึกของ โซเดียม คลอไรด์แต่ละอะตอมมี 6 อะตอมที่อยู่ใกล้สุด โดยการจัดเรียงแบบเรขาคณิตแบบออกต้าฮีดรัล การจัดเรียงกันแบบนี้เรียกว่า คิวบิก โคลส แพคก์ (ccp-cubic close packed).
สีน้ำเงินอ่อน = Na+
สีเขียวเข้ม = Cl

โซเดียมคลอไรด์ จะเกิด ผลึก แบบคิวบิก สมมาตรในโครงสร้างเหล่านี้ ไอออน คลอไรด์ซึ่งมีขนาดใหญ่จะถูกจัดเรียงในคิวบิก โคลส-แพคกิ่ง ในขณะที่โซเดียมไอออนซึ่งมีขนาดเล็กกว่าจะถูกบรรจุในช่องว่าง ออกต้าฮีดรัลระหว่างพวกมัน แต่ละไอออนจะถูกแวดล้อมด้วยไอออนชนิดอื่น 6 ตัว นี่เป็นโครงสร้างพื้นฐานเดียวกันกับที่พบในแร่อื่นหลายชนิดและรู้จักกันในชื่อ โครงสร้าง ไฮย์ไลต์

ความสำคัญทางชีววิทยา

โซเดียมคลอไรด์ มีความสำคัญต่อ สิ่งมีชีวิตบนโลกในเนื้อเยื้อชีวภาพ และของเหลวในร่างกาย จะมีเกลือในปริมาณที่แตกต่างกัน ความเข้มข้นของ โซเดียม ไอออนใน เลือด เป็นความสัมพันธ์โดยตรงต่อการควบคุมระดับที่ปลอดภัยของของเหลวในร่างกาย การแพร่กระจายของ การกระตุ้นประสาท โดยซิกนัล ทรานสดักชัน (signal transduction) ถูกควบคุมโดยโซเดียม ไอออน (โพแทสเซียม เป็น โลหะ ที่มีความสัมพนธ์ใกล้ชิดกับโซเดียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในระบบร่างกายเช่นกัน)

0.9% โซเดียมคลอไรด์ ใน น้ำ ถูกเรียกว่า สารละลายทางสรีรวิทยา (physiological solution) หรือ นอร์มัล ซาไลน์ (normal saline) เพราะมันเป็นความเข้มข้นเดียว (isotonic) กับ พลาสมาในเลือด นอร์มัล ซาไลน์ ใช้ในทาง การแพทย์เพื่อทดแทนการสูญเสียของเหลวจากร่างกายและการรักษาแบบนี้ว่า การให้ของเหลวทดแทน (fluid replacement) ซึ่งใช้แพร่หลายทาง การแพทย์ เพื่อป้องกันการ ขาดน้ำ (dehydration) หรือ อินทราวีนัสเทอราปี (intravenous therapy) เพื่อป้องกัน การช๊อค จาก ปริมาตรเลือดต่ำ สาเหตุจากการ สูญเสียเลือด

มนุษย์ไม่เหมือนสัตว์ ไพรเมต ด้วยกันที่สามารถกำจัดเกลือจำนวนมากได้ทาง เหงื่อ (sweating)

การผลิตและการใช้

ian and Israeli salt evaporation ponds at the south end of the Dead Sea]]

ปัจจุบันเกลือถูกผลิตโดย การระเหย ของ น้ำทะเล หรือ น้ำเค็ม (brine) จากแหล่งอื่นๆ เช่น บ่อน้ำเค็ม ทะเลสาบน้ำเค็ม (salt lake) และการทำเหมืองเกลือที่เรียกว่า ร็อกซอลต์ (rock salt หรือ เฮไลต์)

ในขณะที่ผู้คนจำนวนมากคุ้นเคยกับการใช้เกลือ ปรุงอาหาร แต่พวกเขาอาจไม่รู้ว่าเกลือใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น

ความสามารถในการละลายของโซเดียมคลอไรด์ในตัวละลายต่างชนิด
(g NaCl / 100 g of solvent at 25?C)
H2O 36
แอมโมเนียเหลว 3.02
เมทานอล 1.4
กรดฟอร์มิก 5.2
ซัลโฟเลน 0.005
อะซิโตนิไตรล์ 0.0003
อะซิโตน 0.000042
ฟอร์มาไมด์ 9.4
ไดเมทิลฟอร์มาไมด์ 0.04
Reference:
Burgess, J. Metal Ions in Solution
(Ellis Horwood, New York, 1978)
ISBN 0-85312-027-7

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Salt Institute เก็บถาวร 2012-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน website
  • Salt Archive website
  • Video เก็บถาวร 2005-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of rotating rock salt unit cell (divx, 378kb) เกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์
    1. 1. เกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์ เกลือแกง หรือ โซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride) เป็นสารเคมีธรรมชาติตัวหนึ่งที่ถูกนามาใช้ อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี บางท่านอาจจะไม่คุ้นกับชื่อเกลือแกง แต่ถ้าบอกว่ามันก็คือเกลือที่เรา ใช้ประกอบอาหารกันทุกวัน ก็คงร้องอ๋อกันทุกคน เกลือแกงถูกนามาใช้กันในหลายด้าน ทั้งด้าน ประกอบอาหาร ถนอมอาหาร รวมถึงใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมหลายประเภท เกลือแกงมีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride) สูตรทางเคมีคือ NaCl มีชื่อเรียกอีก ชื่อหนึ่งว่า เกลือสมุทร มีลักษณะทางกายภาพเป็นผลึกสีขาว สามารถละลายน้าได้ดี ในธรรมชาติพบ มากในน้าทะเล ซึ่งเราจะเห็นการผลิตเกลือแกงหรือเกลือสมุทรนี้กันมากในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยการปั๊มน้าทะเลเข้ามาในพื้นที่เก็บกัก จากนั้นก็ปล่อยให้แดดเผาเพื่อให้เกลือในน้าทะเลนั้น ตกตะกอน ได้เป็นเกลือเม็ดหรือผลึกเกลือสีขาวบริสุทธิ์ออกมา วิธีการนี้เราเรียกกันว่าการทานาเกลือ
    2. 2. การผลิตโซเดียมคลอไรด์ การผลิตโซเดียมคลอไรด์ โซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือแกงมีสูตรเป็น NaCl เป็นสารประกอบที่ ประกอบด้วยธาตุ Na และ Cl ลักษณะเป็นผลึกสีขาว รสเค็ม รูปผลึกเป็นแบบทรงลูกบาศก์ จุด หลอมเหลว 801 องศาเซลเซียส ละลายน้าได้ดี โดยมากใช้ ทะเล และจากดิน ประเทศที่ผลิตเกลือแกง ได้มาก คือ ประเทศออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดียและสหรัฐอเมริกา เกลือแกง แบ่งตามวิธีการ ผลิตมี 2 ประเภทคือ เกลือสมุทร และเกลือสินเธาว์ ผลึกโซเดียมคลอไรด์
    3. 3. เกลือแกงแบ่งตามวิธีในการผลิตมี 2 ประเภทคือ 1.เกลือสมุทร คือ โซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือแกงที่ผลิตได้จากน้าทะเล การผลิตเกลือสมุทร เกลือสมุทรทากันมากในบริเวณใกล้ทะเล เช่น ที่จังหวัดสมุทรสาคร เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา และ ชลบุรี สาหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยมากจะทานาเกลือปีละ 2 ครั้ง ในประเทศ ไทยมีอากาศแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลาประมาณครึ่งปี ดังนั้นการทานาเกลือจึ่งเริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม การทานาเกลือใช้วิธีการแยกโซเดียมคลอไรด์ออกจากน้าทะเล ดังนั้นจึงต้องใช้หลัก “การระเหย และการตกผลึก” โดยการให้น้าทะเลระเหยไปจนเหลือน้าปริมาณน้อยที่สุด ซึ่งเมื่อถึงจุดอิ่มตัว ของเกลือ จะทาให้เกลือเกิดการตกผลึกออกมา
    4. 4. กรรมวิธีในการผลิตเกลือสมุทร มีขั้นตอนต่าง ๆดังนี้ 1. การเตรียมพื้นที่นา โดยทั่วไปใช้พื้นที่ประมาณ 40 ไร่ จากนั้นก็ขุดตอไม้รากไม้เพื่อปรับพื้นที่ ให้เรียบแน่น แบ่งที่นาออกเป็นแปลงๆ แปลงละ 1 ไร่ ยกขอบแปลงให้สูง แล้วทาร่องระบายน้า ระหว่างแปลง 2. การทานาเกลือ 2.1 แบ่งพื้นที่ทานาเป็น 3 ตอน ได้แก่ นาตาก นาเชื้อ และนาปลง ซึ่งระดับพื้นที่จะลดหลั่นลง ตามลาดับ เพื่อความสะดวกในการระบายน้าและขังน้า 2.2 ก่อนถึงฤดูการทานาเกลือ ให้ระบายน้าเข้าเก็บขังไว้เพื่อให้น้าสะอาด ผงโคลนตม แร่ธาตุ จะ ได้ตกตะกอน พื้นที่ที่ขังน้าไว้ตอนนี้ เรียกว่า นาวัง
    5. 5. กรรมวิธีในการผลิตเกลือสมุทร มีขั้นตอนต่าง ๆดังนี้ 2.3 จากนั้นระบายน้าเข้าสู่นาตาก ให้ระดับน้าสูงกว่าพื้นนาประมาณ 5 cm เมื่อน้าระเหยไปจนวัด ความถ่วงจาเพาะของน้าทะเลได้ 1.08 จึงถ่ายน้าเข้าสู่นาเชื้อ เพื่อให้แคลเซียมซัลเฟต (CaSO4) ตก ผลึกออกมาเป็นผลพลอยได้ ส่วนน้าทะเลที่เหลือปล่อยให้ระเหยไปจนมีความถ่วงจาเพาะ 1.2 แล้ว จึงระบายน้าทะเลนั้นเข้าสู่นาปลง 2 วัน NaCl เริ่มตกตะกอน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ใน ขณะเดียวกันน้าทะเลที่เหลือจะมีความเข้มข้นของ Mg2+ Cl- และ SO4 2- ไอออนเพิ่มขึ้นจึงต้อง ระบายน้าจากนาเชื้อเพิ่มอีก เพื่อป้องกันมิให้ MgCl2 และ MgSO4 ตกผลึกปนกับ NaCl ออกมา ด้วย ซึ่งจะทาให้เกลือที่ได้มีสิ่งเจือปน คุณภาพไม่ดี โดยปกติจะปล่อยให้ NaCl ตกผลึกประมาณ 9 - 10 วัน จึงขูดเกลือออกขณะที่มีน้าทะเลขังอยู่ เกลือ ที่ได้นาไปตากแดด 1 -2 วัน แล้วจึงเก็บเข้าฉาง ผลพลอยได้จากการทานาเกลือ คือ กุ้ง ปลา และ CaSO4
    6. 6. คุณภาพของเกลือโซเดียมคลอไรด์ คุณภาพของเกลือ NaCl นี้ขึ้นอยู่กับสิ่งเจือปนที่มีอยู่ในเกลือนั้น ถ้าเกลือNaCl มีเกลือแมกนีเซียมปน อยู่มาก เกลือจะชื้นง่าย ราคาตก ดังนั้น ถ้าต้องการเกลือที่มีคุณภาพดีควรเติมปูนขาว 0.4 - 0.5 กรัม ต่อน้า 1 ลิตร ลงในนาเชื้อ เพื่อทาให้น้าทะเลมีสมบัติเป็นเบส (pH ประมาณ 7.4 - 7.5 ) Mg2+ ไอออนจะตกตะกอนออกมาในรูปของ Mg(OH)2 ทิ้งไว้จนน้าทะเลใสแล้วจึงไขน้านี้เข้าสู่นาปลง NaCl จะตกผลึกออกมาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผลึกของเกลือโซเดียมคลอไรด์นี้จะค่อนข้างบริสุทธิ์ มี คุณภาพดี
    7. 7. การผลิตเกลือสินเธาว์ เกลือสินเธาว์ผลิตได้จากแหล่งแร่ เกลือหิน (Rock Salt) พบอยู่ตามพื้นดินแถบภาคอีสาน เช่น จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี และอุดรธานี การผลิตเกลือสินเธาว์จากเกลือหินโดยทั่วไปใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ใช้การละลาย การกรอง การระเหย และการตกผลึก หรือการละลายและการตกผลึก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของ เกลือที่เกิดขึ้นในแหล่งนั้น ๆ
    8. 8. วิธีการผลิตเกลือสินเธาว์ การผลิตเกลือสินเธาว์จะแตกต่างกันออกไปตามแหล่งที่มา และลักษณะการเกิดของเกลือ ซึ่ง สามารถจาแนกได้ดังนี้ 1. เกลือจากผิวดิน จะใช้วิธีขุดคราบเกลือตามผิวดินมาละลายน้า กรองเศษตะกอนออก แล้วนาน้าเกลือไปเคี้ยวให้แห้ง จะได้ตะกอนเกลือตกผลึกออกมา นิยมทาเกลือชนิดนี้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัด นคราชสีมา ชัยภูมิ มหาสารคาม อุดรธานี สกลนคร และร้อยเอ็ด 2. เกลือจากน้าเกลือบาดาล เกลือที่ได้จากแหล่งนี้จะทากันมากที่จังหวัดมหาสารคาม นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด สกลนคร ชัยภูมิ และหนองคาย เกลือบาดาลมีอยู่ในระดับตื้น 5 - 10 เมตร หรือระดับลึก 30 เมตร
    9. 9. วิธีการผลิตเกลือ ใช้วิธีการขุดหรือเจาะลงไปใต้ดินและสูบน้าเกลือขึ้นมา ต้มน้าเกลือในกระทะเหล็กใบใหญ่ โดยใช้ฟืนหรือลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง จนน้าเกลือแห้ง จะได้เกลือตกผลึกออกมา การผลิตเกลือนี้นอกจากจะต้มแล้ว อาจจะใช้วิธีการตาก ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในด้านเชื้อเพลิง เพราะใช้ พลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยการสูบเกลือจากบ่อน้าบาดาลมาใส่ไว้ในนาตาก ซึ่งทาเป็นลานดินหรือลานซีเมนต์ แล้วทาให้น้าระเหยออกไป จะได้เกลือตกผลึกออกมา เรียกวิธีนี้ว่า การทานาตาก 3. เกลือจากชั้นเกลือหิน วิธีการผลิต ทาได้โดยการอักน้าจืดลงไปละลายเกลือในชั้นเกลือหิน แล้วสูบสารละลายมาทาให้บริสุทธิ์ด้วยการ เติมสารละลาย NaOH กับ Na2CO3 เพื่อกาจัด Ca2+ และ Mg2+ ดังปฏิกิริยา Mg2+ (aq) + 2OH- (aq)  Mg(OH)2 (s) Ca2+ (aq) + CO3 2- (aq)  CaCO3 (s)
    10. 10. จากนั้นกรองตะกอนที่เกิดขึ้นนี้ออก แล้วนาสารละลายที่ได้มาตกผลึก แยก NaCl ออก ทาให้ สารละลายมี NaCl ปริมาณลดลงและในสารละลายนี้ยังมี Na2SO4 และ Na2CO3 ละลายปนอยู่ ซึ่ง เป็นเกลือที่ไม่ต้องการ เรียกสารละลายนี้ว่า “น้าขม” นาสารละลายไปเติม CaCl2 พอเหมาะเพื่อ กาจัดไอออนต่าง ๆ ออกเป็นสาร CaSO4 และ CaCO3 ซึ่งไม่ละลายน้า ดังสมการ Ca2+ (aq) + SO4 2- (aq)  CaSO4 (s) Ca2+ (aq) + CO3 2- (aq)  CaCO3 (s) สารละลายที่ได้ไปตกผลึกแยก NaCl ออกไปอีก เกลือสินเธาว์เป็นเกลือที่เหมาะที่จะใช้ในการอุตสาหกรรม เพราะมีความชื้น และแมกนีเซียม แคลเซียม ค่อนข้างต่า
    11. 11. เกลือสมุทรเหมาะที่จะใช้ในการบริโภค เพราะมีไอโอดีนสูง กล่าวคือ เกลือสมุทร 10 กรัมมี ไอโอดีนประมาณ 38.5 กรัม และเกลือสินเธาว์มีประมาณ 10 ไมโครกรัม ไอโอดีนเป็นธาตุที่มีความจาเป็นต่อร่างกาย ร่างกายมีความต้องการไอโอดีนประมาณ 75 มิลลิกรัม/ ปี แหล่งของไอโอดีนได้แก่ เกลือสมุทร และอาหารทะเลทุกชนิด ดังนั้น ประชากรทาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ห่างใกล้จากทะเล และมักจะบริโภคเกลือสินเธาว์ซึ่ง เป็นเกลือที่ขาดไอโอดีน มีผลทาให้การทางานของต่อมไทรอยด์บกพร่อง และเกิดเป็นโรคคอ พอก แต่สามารถแก้ไขได้โดยการเติมไอโอดีนลงในเกลือสินเธาว์ในรูป ไอโอไดด์ (I- ) หรือ (IO3 - ) เรียกว่าเกลือไอโอเดต หรือเกลืออนามัย ร่างกายเมื่อได้รับไอโอดีนจะเก็บสะสมไว้ที่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งต่อมนี้มีหน้าที่ควบคุมสมอง ระบบ ประสาท และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ถ้าขาดไอโอดีนจะทาให้เกิดโรคคอพอก นอกจากนั้นยังจะทาให้ร่างกาย แคระแกร็น รูปร่างหน้าตาและสติปัญญาจะผิดปกติ หูหนวก เป็นใบ้ แขนขาชาเป็นอัมพาต เดิน โซเซ เป็นต้น
    12. 12. การผลิตเกลือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม การผลิตเกลือสินเธาว์อาจจะก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมได้ เช่น ทาให้เกิดการแพร่ของดินเค็ม ซึ่งมีผลเสียต่อการทาเกษตรกรรม กล่าวคือ ภาวะดินเค็มจะทาให้พืชไม่เจริญเติบโต เพาะปลูกไม่ ได้ผล และถ้าเกลือแพร่กระจายสู่แม่น้าลาคลอง ก็จะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้า นอกจากนั้นจากสูบ น้าเกลือบาดาลขึ้นมาผลิตเกลือสินเธาว์ยังอาจเกิดปัญหาการยุบตัวของพื้นดิน ซึ่งก็มีผลเสียต่อ สิ่งแวดล้อมเช่นกัน
    13. 13. ประโยชน์เกลือแกง เกลือแกงมีประโยชน์ต่อเรามากมาย ทั้งในการ ประกอบอาหาร การเก็บรักษาอาหารประเภทหมัก ดอง ใช้ในทางการแพทย์และการรักษาโรค เช่น ใช้ทาน้าเกลือ รักษาอาการไอ เจ็บคอ อันเนื่องมาจาก หวัด รักษาอาการคันตามผิวหนัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้เกลือในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องปรุงรสต่างๆ อุตสาหกรรมฟอกย้อมเสื้อผ้า อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมผลิต สบู่และผงซักฟอก รวมถึงอุตสาหกรรมยาฆ่าแมลง เป็นต้น



หมวดหมู่ยา


Новое сообщение