Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

พิทาวาสแตติน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
พิทาวาสแตติน
Pitavastatin2DCSD.svg
Pitavastatin3Dan.gif
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้า Livalo
AHFS/Drugs.com โมโนกราฟ
MedlinePlus a610018
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: D
  • US: X (มีอันตราย)
ช่องทางการรับยา การรับประทาน
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S4 (ต้องใช้ใบสั่งยา)
  • CA: ℞-only
  • UK: POM (Prescription only)
  • US: ℞-only
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล 60%
การจับกับโปรตีน 96%
การเปลี่ยนแปลงยา CYP2C9 เล็กน้อย
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ 11 ชั่วโมง
การขับออก อุจจาระ
ตัวบ่งชี้
  • (3R,5S,6E) -7-[2-cyclopropyl-4- (4-fluorophenyl) quinolin-3-yl]-3,5-dihydroxyhept-6-enoic acid
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
ChemSpider
UNII
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard 100.171.153
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตร C25H24FNO4
มวลต่อโมล 421.461
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • O=C (O) C[C@H](O) C[C@H](O)/C=C/c1c (c3ccccc3nc1C2CC2) c4ccc (F) cc4
  • InChI=1S/C25H24FNO4/c26-17-9-7-15 (8-10-17) 24-20-3-1-2-4-22 (20) 27-25 (16-5-6-16) 21 (24) 12-11-18 (28) 13-19 (29) 14-23 (30) 31/h1-4,7-12,16,18-19,28-29H,5-6,13-14H2, (H,30,31)/b12-11+/t18-,19-/m1/s1 Yes check.svg 7
  • Key:VGYFMXBACGZSIL-MCBHFWOFSA-N Yes check.svg 7
 X mark.svg 7Yes check.svg 7 (what is this?)  (verify)
Pharmaklog.png สารานุกรมเภสัชกรรม

พิทาวาสแตติน (Pitavastatin; โดยทั่วไปอยู่ในรูปแบบเกลือแคลเซียม) เป็นยาในกลุ่มยาลดไขมันในกระแสเลือดกลุ่มสแตติน ซึ่งวางขายในตลาดประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อการค้า ลิวาโล (Livalo)  ซึ่งพิทาวาสแตตินนี้มีกลไกการออกฤทธิ์เช่นเดียวกันกับยากลุ่มสแตตินชนิดอื่นๆ คือ ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ตัวเร่งปฏิกิริยาตัวแรกในขั้นตอนของกระบวนการการสร้างคอเลสเตอรอล นอกจากนี้พิทาวาสแตตินยังถูกใช้เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยป้องกันไม่ให้เกิดการแตกหรือฉีกขาดของคราบไขมันที่เกาะอยู่บนผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดกั้นตามเส้นเลือด และทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ในที่สุด

พิทาวาสแตตินมีจำหน่ายครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 จากนั้นมีการขยายฐานการตลาดออกไปในประเทศเกาหลีใต้และอินเดียในเวลาต่อมาไม่นานนัก โดยคาดว่ายาชนิดนี้อาจจะได้รับการรับรองให้มีการใช้ในประเทศต่างๆนอกเหนือจากประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้น พิทาวาสแตตินได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration; FDA) ในปี ค.ศ. 2009 โดยมีบริษัท โควะ ฟาร์มาซิวติคอลส์ (Kowa Pharmaceuticals) เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การผลิตและจัดจำหน่ายยาพิทาวาสแตตินในสหรัฐอเมริกา

ข้อบ่งใช้

เช่นเดียวกันกับยากลุ่มสแตตินชนิดอื่นๆ พิทาวาสแตตินมีข้อบ่งใช้สำหรับภาวะที่มีระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดสูง (hypercholesterolaemia) และใช้เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease)

ในปี ค.ศ. 2009 การศึกษาทางคลินิกที่มีชื่อว่า "LIVES" ซึ่งทำการศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับพิทาวาสแตตินมากถึง 20,000 คน เพื่อประเมินถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาดังกล่าวหลังจากการวางตลาด โดยติดตามเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 104 สัปดาห์ พบว่า พิทาวาสแตตินมีผลเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (High density lipoprotein cholesterol; HDL-C) และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride; TG) ในกระแสเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีระดับ HDL-C ต่ำกว่า 400 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งจะมีระดับ HDL-C เพิ่มขึ้นได้มากถึง 24.6% จากค่า HDL-C พื้นฐานเดิมของผู้ป่วย และมีการลดลงของ TG เฉลี่ย 19.9% จากค่า TG พื้นฐานเดิมของผู้ป่วย นอกจากนี้แล้ว ยังพบว่าพิทาวาสแตตินมีความสัมพันธ์กับการลดลงของระดับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low density lipoprotein cholesterol; LDL-C) ในกระแสเลือดลงได้มากถึง 29.1% จากค่า LDL-C พื้นฐานเดิมของผู้ป่วย หลังจากระยะเวลา 4 สัปดาห์นับจากเริ่มการรักษา โดยระดับ HDL-C ที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถพบการเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่เปลี่ยนจากสแตตินชนิดอื่นมาเป็นพิทาวาสแตติน สอดคล้องกับการศึกษาเชิงสังเกตที่มีชื่อว่า CIRCLE observational study ซึ่งทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยากลุ่มสแตตินชนิดต่างๆ ทำการศึกษาในผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นจำนวน 743 คน ในช่วง ค.ศ. 2001-2008 โดยติดตามผู้ป่วยที่ได้รับยาพิทาวาสแตตินเป็นระยะเวลา 70 เดือน พบว่ายาดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับ HDL-C ได้มากกว่าอะโทวาสแตติน และเป็นยากลุ่มสแตตินเพียงชนิดเดียวที่สามารถเพิ่มระดับ HDL-C ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาสแตติน ส่วนผลการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นพบว่าพิทาวาสแตตินมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับยากลุ่มสแตตินชนิดอื่นๆ 

ส่วนผลของพิทาวาสแตตินต่อระดับน้ำตาลในเลือดนั้นอาจส่งผลดีต่อการควบคุมระดับในเลือดของผู้ป่วย ดังนั้นพิทาวาสแตตินจึงดูเหมือนว่ามีความเหมาะสมที่จะใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเมทาบอลิค อย่างเช่น โรคเบาหวาน ร่วมกับมีระดับ LDL-C ที่สูงแต่มีระดับ HDL-C ในเลือดต่ำ โดยผลการวิเคราะห์แบบกลุ่มย่อยของการศึกษา  "LIVES" ที่ได้กล่าวไปดังข้างต้นพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้พิทาวาสแตตินเป็นระยะเวลาต่อเนื่องมีการลดลงของระดับ HbA1C และมีการเพิ่มขึ้นของ eGFR อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังร่วมด้วย

อาการไม่พึงประสงค์

อาการไม่พึงประสงค์ทั่วไปที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยากลุ่มสแตติน เช่น ปวดศีรษะ, คลื่นไส้, อาเจียน, ผลการตรวจเอนไซม์ตับผิดปกติ และเกิดตะคริวได้ เช่นเดียวกันกับพิทาวาสแตตินที่เกิดอาการข้างเคียงเหล่านี้ได้เช่นกัน และเนื่องจากพิทาวาสแตตินนั้นละลายในน้ำได้ดีซึ่งแตกต่างไปจากยาในกลุ่มสแตตินชนิดอื่นซึ่งส่วนใหญ่มักละลายในไขมันได้ดี ทำให้ดูเหมือนพิทาวาสแตตินว่าจะมีอาการข้างเคียงต่อกล้ามเนื้อน้อยกว่ายาชนิดอื่นๆในกลุ่มเดียวกัน มีการศึกษาทางคลินิกที่ผ่านมาค้นพบว่าโคเอนไซม์คิวเท็น (coenzyme Q10) ในผู้ที่ใช้พิทาวาสแตตินนั้นไม่ได้ลดลงมากเท่ากับผู้ที่ใช้ยาอื่นในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งการลดลงของโคเอนไซม์คิวเท็นดังข้างต้นนั้นมักมีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการข้างเคียงทางกล้ามเนื้อในกลุ่มผู้ที่ใช้ยาสแตตินในระยะยาว 

ลำดับการค้นพบยากลุ่มสแตติน

ในทางตรงกันข้าม พิทาวาสแตตินนั้นดูเหมือนว่าจะมีส่วนช่วยในการปรับสมดุลของระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้ดีขึ้นได้ ซึ่งแตกต่างจากยาสแตตินชนิดอื่นๆ

นอกจากนี้แล้ว ยังพบรายงานการเกิดภาวะกรดยูริกในกระแสเลือดสูง (Hyperuricemia) ในผู้ที่ใช้พิทาวาสแตตินอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย และการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา

ยากลุ่มสแตตินโดยส่วนใหญ่นั้นมักถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกายโดยกลุ่มเอนไซม์ Cytochrome P450 ที่ตับ โดยแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของยา และเนื่องด้วยยาชนิดอื่นส่วนใหญ่ก็มักเกิดถูกเปลี่ยนแปลงโดยกลุ่มเอนไซม์ดังกล่าวในร่างกายเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ยากลุ่มสแตตินนี้สามารถเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยาชนิดอื่นๆได้มาก รวมไปถึงการเกิดอันตรกิริยากับอาหารบางชนิด เช่น grapefruit juice แต่พิทาวาสแตตินมีข้อแตกต่างไปจากยาสแตตินชนิดอื่น คือ ยาดังกล่าวเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเอนไซม์ CYP2C9 เป็นหลัก ขณะที่สแตตินชนิดอื่นนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ CYP3A4 เป็นหลัก (เอนไซม์ CYP3A4 ที่ตับนั้นทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงยาหลายชนิด ซึ่งมากกว่า 80% ของยาที่มีในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายโดยเอนไซม์นี้) ทำให้พิทาวาสแตตินมีโอกาสที่จะเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาได้น้อยกว่ายาอื่นในกลุ่มเดียวกัน ดังนั้นพิทาวาสแตตินอาจมีความสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคหลายชนิด ซึ่งต้องรับประทานยาหลายชนิดตามไปด้วย (การรับประทานยาหลายชนิดร่วมกัน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยามากขึ้น)

ประวัติการค้นพบ

พิทาวาสแตติน (หรือที่รู้จักกันก่อนหน้านี้ในชื่อ ไอทาวาสแตติน (itavastatin), ไอทาบาวาสแตติน (itabavastin), นิสวาสแตติน (nisvastatin), เอ็นเค-104 (NK-104) หรือ เอ็นเคเอส-104 (NKS-104) ถูกค้นพบในประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัท นิสสัน เคมิคอล อินดัสทรีส์ (Nissan Chemical Industries) และต่อมาถูกพัฒนาโดยบริษัทยาในโตเกียวที่มีชื่อว่า โควะ ฟาร์มาซูติคอลส์ (Kowa Pharmaceuticals) พิทาวาสแตตินได้รับการรับรองให้ใช้ในสหรัฐอเมริกาโดยองค์การและยาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 2009 ภายใต้ชื่อการค้า ลิวาโล (Livalo) และได้รับการรับรองจาก องค์การควบคุมยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (Medicines and Healthcare products Regulatory Agency: MHRA) ของสหราชอาณาจักรในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2010

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение