Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ยาต้านไวรัส
ยาต้านไวรัส (อังกฤษ: Antiviral drugs) เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาเฉพาะการติดเชื้อจากไวรัส เช่นเดียวกับยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัสก็ใช้ได้กับไวรัสบางชนิดเท่านั้น
การแพทย์ดั้งเดิมจะไม่มียาฆ่าหรือต้านเชื้อไวรัสโดยตรง ถ้ามีการติดเชื้อไวรัสวิธีปฏิบัติคือ ถ้าเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงเช่น หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ก็จะให้พักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ ก็จะหายเอง แต่ถ้าติดเชื้อร้ายแรงอย่างโรคพิษสุนัขบ้านั้นไม่มียารักษา แต่ถึงแม้ไม่มียารักษาแต่ก็มีวัคซีนป้องกัน
จนกระทั่งตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1980 ก็ได้เกิดยาต้านไวรัสขึ้นมาเป็นสิบๆ ตัว จากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์สาขาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลที่ทำให้เราเข้าใจโครงสร้างและการทำงานของเชื้อไวรัส ประกอบกับความกดดันทางการแพทย์ ที่จะต้องหาทางรักษาโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อไวรัสเอชไอวี (human immunodeficiency virus - HIV) ที่ทำให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ (acquired immunodeficiency syndrome - AIDS) มีคนกล่าวว่าเราควรขอบคุณโรคเอดส์ เพราะมันกดดันเราอย่างมากให้ต้องพัฒนาเทคโนโลยีการต่อต้านไวรัส
ยาต้านไวรัสส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น
- เฮอร์ปี่ไวรัส (herpesvirus) ที่ทราบกันดีว่ามันทำให้เกิดแผลเจ็บ (cold sores) แต่จริงๆ แล้วมันทำให้เกิดโรคอีกมากมาย
- ไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ที่ทำให้เกิดมะเร็งตับ ขณะนี้นักวิจัยกำลังขยายผลการใช้ยาต้านไวรัสในโรคอีกมากมาย
พัฒนาการของยาต้านไวรัส
การทดลองเกี่ยวกับยาต้านไวรัสเกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1960 เป็นการทดลองเกี่ยวกับ ไวรัสเริม (herpesvirus) แบบลองผิดลองถูก (trial-and-error) ไวรัสอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกึ่งสารเคมีกึ่งสิ่งมีชีวิตเพราะมันประกอบด้วยจีโนม (genome) และบางครั้งมี เอนไซม์ (enzyme-iocatalysts) สองสามตัวบรรจุอยู่ในแคปซูลที่ทำด้วยโปรตีน และบางครั้งห่อหุ้มด้วยชั้นของ ลิพิด (lipid) ไวรัสไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ด้วยตัวของมันเอง แต่สามารถแพร่ข้อมูลของมันโดยการเข้าไปครอบครองเซลล์ (hijacking cells) แล้วบังคับให้เซลล์แพร่พันธุ์โดยมีข้อมูลของมันติดไปด้วย
การพัฒนายาต้านไวรัสยุคแรก นักวิจัยจะเพาะเลี้ยงเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสเป้าหมาย แล้วใส่สารเคมีเข้าไปในเซลล์ที่เพาะเลี้ยงนั้น แล้วสังเกตผลการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส ว่าสารเคมีที่ใช้มีผลยับยั้งไวรัสได้หรือไม่. การทำเช่นนี้ใช้เวลามาก กว่าจะค้นพบยาต้านไวรัสซักตัว จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1980 เมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถค้นพบข้อมูลทางพันธุกรรมของไวรัสทั้งหมด และทราบกลไกการทำงานของมันอย่างละเอียด ซึ่งเปิดช่องทางให้สามารถหาชนิดโมเลกุลของสารเคมี ที่จะไปหยุด หรือรบกวนการการแพร่พันธุ์ของไวรัสได้ง่ายขึ้น. ความฝันของนักวิจัย ในขั้นตอนต่อไปของการค้นคว้าหายาต้านไวรัสคือ การดัดแปลงสารเคมีในร่างมนุษย์เพื่อใช้เป็นยาต้านไวรัส เพราะจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้สารเคมีจากภายนอกร่างกาย
ดูเพิ่ม
ยาต้านจุลชีพ − ประเด็นด้านสังคมและวัฒนธรรม
| |
---|---|
ประเภทของยาต้านจุลชีพ | |
ประเด็นด้านสังคม | |
เภสัชวิทยา |
บัลติมอร์ I |
|
||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ไวรัสตับอักเสบบี (VII) | |||||||||||||||||||||
หลายกลไก/ทั่วไป |
|
||||||||||||||||||||
ไวรัสตับอักเสบซี |
|
||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พิคอร์นาไวรัส | |||||||||
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ | |||||||||
หลายกลไก/ทั่วไป |
|
||||||||
ทางเดินอาหาร/ เมแทบอลิซึม (A) |
กรดกระเพาะ (ยาลดกรด, สารต้านตัวรับ H2 , ยายับยั้งการหลั่งกรด) • ยาแก้อาเจียน • ยาระบาย • ยาแก้ท้องร่วง • ยาลดความอ้วน • ยาต้านเบาหวาน • วิตามิน • เกลือแร่
|
---|---|
เลือดและอวัยวะ สร้างเลือด (B) |
|
ระบบหัวใจ และหลอดเลือด (C) |
ยารักษาโรคหัวใจ/ยาแก้อาการปวดเค้นหัวใจ (คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ , ยาต้านภาวะหัวใจเสียจังหวะ , ยากระตุ้นหัวใจ) • ยาลดความดัน • ยาขับปัสสาวะ • สารขยายหลอดเลือด • เบต้า บล็อกเกอร์ • แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ • ระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน (เอซีอีอินฮิบิเตอร์ , แองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล๊อคเกอร์ , เรนินอินฮิบิเตอร์) • ยาลดไขมันในเส้นเลือด (สแตติน , ไฟเบรต , ไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์) |
ผิวหนัง (D) | |
ระบบสืบพันธุ์ (G) | |
ระบบต่อมไร้ท่อ (H) | |
การติดเชื้อและ การติดเชื้อปรสิต (J, P, QI) |
|
มะเร็ง (L01-L02) | |
โรคทางระบบ ภูมิคุ้มกัน (L03-L04) |
|
กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ (M) | |
สมองและระบบประสาท (N) | |
ระบบทางเดินหายใจ (R) | |
อวัยวะรับความรู้สึก (S) | |
อื่น ๆ (V) |