Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)
โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่แพทย์วินิจฉัยมากที่สุดโรคหนึ่ง และเป็นโรคที่ยังเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในกลุ่มประชากรต่าง ๆ ทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว คนอเมริกันเกิดโรค 17.6 ล้านคนทุกปี หรือในอัตราประชากร 1 ใน 6 คนไข้ซึมเศร้าเสี่ยงสูงขึ้นต่อโรคเบาหวานประเภท 2, โรคหลอดเลือดหัวใจ และการฆ่าตัวตาย อีกภายใน 20 ปีข้างหน้า โรคซึมเศร้าคาดว่าจะเป็นเหตุความพิการเป็นอันดับ 2 ของโลกและเป็นอันดับแรกในประเทศที่มีรายได้สูงรวมทั้งสหรัฐอเมริกา ในบางถิ่น 75% ของคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ บุคคลนั้นได้ไปหาแพทย์ภายในปีหนึ่งก่อนที่จะเสียชีวิต และ 45-66% ภายในเดือนก่อนเสียชีวิต แต่เพียง 33-41% ได้ติดต่อกับบริการทางสุขภาพจิตภายในปีหนึ่ง และ 20% ภายในเดือนหนึ่ง
มีอาการทางจิตเวชและทางการแพทย์หลายอย่างที่เหมือนอาการบางอย่างหรือทั้งหมดของโรคซึมเศร้า หรืออาจจะเกิดร่วมกันกับโรค การวินิจฉัยโรคไม่ว่าจะเป็นทางจิตเวชหรือทางการแพทย์ทั่วไปที่มีอาการและลักษณะเหมือนกับของอีกโรคหนึ่ง และอาจจะเป็นสาเหตุจริง ๆ ของอาการที่ปรากฏเรียกว่า การวินิจฉัยแยกโรค (อังกฤษ: differential diagnosis) โรคจิตเวชหลายอย่างเช่นโรคซึมเศร้าบางครั้งจะวินิจฉัยโดยผู้ทำการที่ไม่ได้ฝึกหัดเพียงพอ และวินิจฉัยอาศัยอาการที่ปรากฏโดยไม่พิจารณาเหตุที่เป็นมูล และบ่อยครั้งไม่ได้วินิจฉัยแยกโรคอย่างเพียงพอ ตามงานศึกษางานหนึ่ง "ผู้ที่ให้บริการสุขภาพที่ไม่ใช่แพทย์อาจเสี่ยงสูงขึ้นต่อการไม่รู้จักความเจ็บป่วยที่อำพรางในคนไข้ของตน"
การวินิจฉัยผิดพลาดอาจทำให้ไม่ได้การรักษา ได้การรักษาที่ไม่มีผล หรือได้การรักษาที่เป็นอันตรายเพราะอาจทำโรคที่เป็นเหตุให้แย่ลง ค่าประเมินอย่างต่ำก็คือ 10% ของอาการโรคจิตอาจมาจากเหตุการแพทย์อื่น ๆ และมีงานศึกษาหนึ่งที่เสนอว่า 50% ของคนที่ป่วยทางจิตขั้นหนัก "มีภาวะทางการแพทย์ทั่วไปที่โดยมากไม่ได้วินิจฉัยและไม่ได้รักษา และอาจเป็นเหตุต่อหรือทำอาการทางจิตเวชให้แย่ลง"
มีรายงานข่าวบทความหนึ่งในนิตยสารรายสัปดาห์ Newsweek ที่ผู้เขียนได้การรักษาโรคซึมเศร้าเป็นปี ๆ และใน 10 ปีสุดท้าย อาการของเธอก็แย่ลง มีผลเป็นการพยายามฆ่าตัวตายและเข้าโรงพยาบาลเหตุจิตเวชหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อมีการสร้างภาพทางสมองด้วย MRI ก็พบว่ามีเนื้องอกในสมองก้อนหนึ่ง แต่ประสาทแพทย์บอกเธอว่าไม่ใช่เนื้อร้าย แต่หลังจากที่อาการแย่ลง และหลังจากพบประสาทแพทย์อีกคนหนึ่ง เธอก็ผ่าตัดเอาเนื้องอกออก และหลังจากการผ่าตัดนั้น เธอก็ไม่มีอาการ "โรคซึมเศร้า" อีกต่อไป
ภาวะภูมิต้านตนเอง
- Celiac disease เป็นภาวะภูมิต้านตนเองอย่างหนึ่งที่ร่างกายไม่สามารถย่อยโปรตีนกลูเตน ที่พบในข้าวหลายชนิดรวมทั้งข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ หลักฐานปัจจุบันแสดงว่าอาจให้ผลเป็นอาการทางประสาท-จิตเวชโดยไม่มีอาการทางระบบย่อยอาหาร
- "งานวิจัยล่าสุดเน้นว่า มีอาการทางประสาทมากมายมายหลายหลากที่อาจเป็นอาการไวกลูเตนนอกระบบทางเดินอาหาร โดยมีหรือไม่มีอาการทางลำไส้"
- ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง (SLE) เป็นภาวะภูมิต้านตนเองที่เนื้อเยื่อยึดต่อ ซึ่งอาจมีผลต่อส่วนไหนของร่างกายก็ได้ และอาจเป็นเหตุต่อหรือทำอาการซึมเศร้าให้แย่ลง
- โรคไขข้ออักเสบ (Rheumatoid arthritis) ซึ่งเป็นภาวะภูมิต้านตนเองที่คงยืนและมีผลโดยมากต่อไขข้อ
การติดเชื้อ/ปรสิต
- โรคไลม์ เป็นการติดเชื้อ Borrelia burgdorferi ซึ่งเป็นแบคทีเรียรูปเกลียวมีพาหะโรคเป็นเห็บกวางพันธุ์ Ixodes scapularis เป็นโรคในกลุ่มที่ได้ชื่อว่าเป็น "นักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่" เพราะมักจะเลียนอาการโรคทางการแพทย์หรือทางประสาท-จิตเวชต่าง ๆ มากมาย และเป็นโรคที่วินิจฉัยน้อยเกินจริง โดยส่วนหนึ่งมากจากความซับซ้อนและความเชื่อถือไม่ได้ของการตรวจสอบเลือด
- ในประเทศสหรัฐอเมริกา "เพราะการเพิ่มขึ้นของโรคไลม์อย่างรวดเร็วทั่วประเทศ และความจำเป็นต้องได้การรักษาโดยยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันความเสียหายทางประสาทอย่างรุนแรง มืออาชีพทางสุขภาพจิตพึงสำนึกถึงอาการที่อาจปรากฏเป็นโรคทางจิตเวชของมัน"
- ซิฟิลิส เป็นโรคที่ความชุกยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นโรคอีกอย่างหนึ่งที่เป็น "นักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่" และถ้าไม่ได้รักษาอาจกลายเป็นซิฟิลิสประสาท (neurosyphilis) และมีผลต่อสมอง และปรากฏโดยเป็นอาการทางประสาท-จิตเวชเพียงเท่านั้น
- "กรณีนี้เน้นว่า ซิฟิลิสประสาทจะต้องพิจารณาเมื่อวินิจฉัยแยกโรคเมื่อพบอาการหรือโรคทางจิตเวช เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลทางระบาดวิทยาที่ไม่สมบูรณ์และปัญหาในการวินิจฉัยซิฟิลิส การตรวจคัดกรองเป็นกิจวัตร (routine screening) ในสาขาจิตเวชเป็นเรื่องจำเป็น"
- โรคประสาทจากไข่พยาธิตัวตืด (NCC) เป็นการติดเชื้อในสมองหรือในไขสันหลังโดยมีเหตุจากพยาธิตัวตืด Taenia solium ในระยะตัวอ่อน (larva) เป็นโรคที่มีผลต่อระบบประสาทกลางที่สามัญที่สุดในโลก มนุษย์จะเกิดโรคจากไข่พยาธิตัวตืดเมื่อกินไข่ของพยาธิ (ปกติอยู่ในหมู) ที่อยู่ในอุจจาระ หรือผักที่ไม่สะอาด หรือเนื้อหมูที่ไม่สุกดี
- "แม้โรคจากไข่พยาธิตัวตืดจะเป็นโรคประจำถิ่นในลาตินอเมริกา แต่ก็เป็นโรคที่กำลังชุกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในสหรัฐอเมริกา"
- "อัตราความซึมเศร้าของผู้ที่มี NCC สูงกว่าในกลุ่มประชากรปกติ"
- Toxoplasmosis เป็นโรคจากการติดโพรโทซัว Toxoplasma gondii ที่เข้าไปอยู่ในเซลล์ โดยมนุษย์สามารถติดได้ผ่าน 3 วิธี คือ ทานซีสต์ที่อยู่ในเนื้อ (tissue cysts) ทาน oocysts หรือการติดโพรโทซัวในระยะ tachyzoites ในมดลูกแม่ วิธีหลักอย่างหนึ่งที่มนุษย์ติดโรคก็คือถูกอุจจาระของสัตว์ถูกเบียน เช่น แมวบ้าน มนุษย์ในโลกประมาณ 30% ติดเชื้อประเภทนี้ แต่มีส่วนน้อยที่อาการโรคปรากฏในระดับคลินิก การติดโพรโทซัวโดยไม่มีอาการของโรค Toxoplasmosis แต่ตรวจเจอในเลือด พิสูจน์แล้วว่า สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่างของมนุษย์ และเป็นเหตุโรคซึมเศร้าในบางกรณี นอกจากนั้นแล้ว งานศึกษายังสัมพันธ์การตรวจเจอโรคในเลือด กับอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น
- ไวรัสเวสต์ไนล์ (WNV) ซึ่งสามารถทำให้สมองอักเสบ (encephalitis) รายงานว่าเป็นเหตุของอาการซึมเศร้า 31% ของคนที่ติดเชื้อในงานศึกษาที่ทำในเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส แล้วรายงานไปยังศูนย์ควบคุมโรค (CDC) ตัวนำโรคของมนุษย์หลักก็คือ ยุงหลายชนิด WNV เป็นโรคประจำถิ่นของยุโรปใต้ แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย ซึ่งระบุเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี 2542 ระหว่างปี 2542-2549 มีคนไข้ที่ติดโรค 20,000 คนแบบมีอาการที่ได้ยืนยันแล้วรายงานในสหรัฐอเมริกา โดยประเมินว่าอาจมีคนติดเชื้อถึง 1 ล้านคน
- "WNV เป็นเหตุสมองอักเสบเหตุไวรัสแบบระบาดที่สามัญที่สุดในสหรัฐอเมริกา และจะคงยืนเป็นเหตุสำคัญของโรคทางประสาทในอนาคตที่ยังมองเห็นได้"
- glandular fever (infectious mononucleosis) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Epstein-Barr
- เอดส์
- สมองอักเสบ (encephalitis)
- ไข้หวัดใหญ่
- ปอดบวมเหตุไวรัส
โรคเลือด
- โลหิตจาง เป็นการมีเซลล์เม็ดเลือดแดง (RBCs) ลดลง หรือมีเฮโมโกลบินน้อยกว่าปกติในเลือด อาการซึมเศร้าสัมพันธ์กับการมีโลหิตจางในกลุ่มประชากรทั่วไปของคนสูงอายุที่อยู่ในชุมชน
กลุ่มอาการล้าเรื้อรังเหตุไวรัส
ชาวอเมริกันระหว่าง 1-4 ล้านคนเชื่อว่ามี กลุ่มอาการล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome ตัวย่อ CFS) แต่ว่ามีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ปรึกษาแพทย์เพราะอาการ นอกจากนั้นแล้ว บุคคลที่มีอาการ CFS บ่อยครั้งมีความผิดปกติทางการแพทย์หรือทางจิตเวชอื่น ๆ ที่ไม่ได้วินิจฉัย เช่น โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ หรือการเสพสารเสพติด (substance abuse) ในอดีต CFS เคยพิจารณาว่าเป็นโรคที่ออกอาการทางกายเหตุจิตใจ (psychosomatic) แต่ปัจจุบันพิจารณาว่าเป็นโรคทางกายจริง ๆ ซึ่งถ้าได้วินิจฉัยและการรักษาที่ทันการสามารถช่วยบรรเทาหรือแก้อาการทั้งหมด แต่บ่อยครั้งวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า แต่ปรากฏความแตกต่างที่อัตราการเดินโลหิตในสมอง (cerebral blood flow)
ในบรรดาคนที่เป็นโรค 80% จะไม่ได้การวินิจฉัย และบ่อยครั้งได้วินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า
โรคเกี่ยวกับการดูดซึมอาหาร
- การดูดซึมฟรักโทสผิดปกติ (fructose malabsorption) และภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส (lactose intolerance) คือลำไส้เล็กส่วนต้นดูดซึมฟรักโทสได้ไม่ดี หรือการขาดเอนไซม์ lactase ที่เมือกหุ้มลำไส้ เป็นเหตุของโรคทั้งสองตามลำดับ และด้วยเหตุสองอย่างนี้ คาร์โบไฮเดรตจะสามารถดำเนินไปถึงลำไส้ใหญ่ได้ โดยมีแบคทีเรียที่กินแล้วเปลี่ยนแป้งเป็นห่วงโซ่กรดไขมันสั้น (short chain fatty acids) คาร์บอนไดออกไซด์ และ H2 และ 50% ของคนที่เป็นเช่นนี้จะมีกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (irritable bowel syndrome)
- "การดูดซึมฟรักโทสผิดปกติอาจมีบทบาทต่อการเกิดอารมณ์ซึมเศร้า (ดังนั้น) การดูดซึมฟรักโทสผิดปกติควรจะพิจารณาในคนไข้ที่มีโรคซึมเศร้า"
- "การลดฟรักโทสและซอร์บิทอลในอาหารของคนไข้ที่ดูดซึมฟรักโทสผิดปกติ ไม่เพียงแต่ลดอาการทางเดินอาหาร แต่ยังปรับอารมณ์และอาการเบื้องต้นของความซึมเศร้าอีกด้วย"
โรคระบบต่อมไร้ท่อ
การทำงานผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่ออาจทำให้เกิดอาการทางประสาท-จิตเวชต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติของการทำงานในส่วนสมองแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล (HPA) และแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-ไทรอยด์ (HPT) ปรากฏในคนไข้โรคซึมเศร้าบางส่วน
แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP) ปี 2553 ของกรมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยสรุปโรคที่อาจเป็นในหมวดนี้ว่า disorder of cortisol, thyroxin orparathormone production คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, และ hypopituitarism
ความผิดปกติของ HPT and HPA axes ที่พบในคนไข้โรคซึมเศร้า (Musselman DL, Nemeroff CB. 1996) | ||||
ความผิดปกติของ HPT axes:
ความผิดปกติของ HPA axes:
|
ต่อมหมวกไต
- Addison's disease (หรือต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอเรื้อรัง, hypocortisolism, หรือ hypocorticism) เป็นโรคที่มีน้อย เป็นโรคระบบต่อมไร้ท่อที่ต่อมหมวกไตซึ่งอยู่เหนือไต ผลิตฮอร์โมนสเตอรอยด์ไม่เพียงพอ (คือ glucocorticoid และบ่อยครั้ง mineralocorticoid)
- "Addison's disease ที่มีอาการทางจิตเวชในระยะเบื้องต้นมักจะมองข้ามและวินิจฉัยผิด"
- กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing's Syndrome หรือ hypercortisolism) เป็นโรคระบบต่อไร้ท่อที่ผลิตฮอร์โมนกลุ่มสเตอรอยด์ คือ cortisol เกิน ถ้าไม่ใช่กำลังใช้ยาสเตอรอยด์อยู่ จะมีเหตุมาจากเนื้องอกในต่อมใต้สมองหรือต่อมหมวกไต หรือในกรณีที่น้อยกว่า จากเนื้องอกที่หลั่ง ectopic hormone ความซึมเศร้าเป็นลักษณะที่สามัญของคนไข้และบ่อยครั้งจะดีขึ้นเมื่อได้รักษาเหตุของโรค
ต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์
- โรคคอพอกตาโปน เป็นโรคภูมิต้านตนเองที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป มีผลเป็นอาการไฮเปอร์ไทรอยด์และโรคไทรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxicosis)
- Hashimoto's thyroiditis (ต่อไทรอยด์อักเสบแบบภูมิต้านตนเอง หรือเรียกอีกอย่างว่า chronic lymphocytic thyroiditis) เป็นภาวะภูมิต้านตนเองซึ่งต่อมไทรอยด์ค่อย ๆ ถูกทำลายโดยเซลล์และสารภูมิต้านทาน ที่อำนวยโดยระบบภูมิคุ้มกัน และสัมพันธ์กับสารภูมิต้านตนเอง คือ thyroid peroxidase และ thyroglobulin
- Hashitoxicosis
- ภาวะไทรอยต์ฮอร์โมนน้อย (Hypothyroidism)
- ภาวะไทรอยต์ฮอร์โมนเกิน (Hyperthyroidism)
- ภาวะพาราไทรอยต์ฮอร์โมนเกิน (Hypoparathyroidism) สามารถมีผลต่อภาวะธำรงดุลของแคลเซียม มีกรณีโรคซึมเศร้าที่หายโดยสิ้นเชิงเมื่อให้อาหารเสริมคือแคลเซียม ซึ่งเป็นโรคเหตุ Hypoparathyroidism โดยส่วนเดียว
เนื้องอกในต่อมหมวกไต
เนื้องอกในต่อมหมวกไตค่อนข้างจะสามัญในกลุ่มประชากรทั่วไปโดยมีค่าประเมินสูงถึง 25% เนื้องอกโดยมากพิจารณาว่าไม่ร้าย และเป็นสิ่งที่พบโดยบังเอิญเมื่อชันสูตรศพหรือเมื่อสร้างภาพสมอง ซึ่งจะเรียกเนื้องอกว่า incidentaloma แต่ว่าแม้ในกรณีที่ไม่ร้าย เนื้องอกในต่อมหมวกไตอาจมีผลต่อการรู้คิด พฤติกรรม และอารมณ์ เนื้องอกต่อม (microadenoma) ที่เล็กกว่า 10 มม. โดยทั่วไปพิจารณาว่าไม่ร้าย แต่ว่าการมีเนื้องอกเช่นนี้มีหลักฐานว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
- "...มีคนไข้ที่มีโรคต่อหมวกไต แต่วินิจฉัยและรักษาเป็นโรคซึมเศร้าที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา"
ตับอ่อน
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การผลิตอินซูลินเกินเป็นเหตุให้ระดับกลูโคสในเลือดลดลง ในงานศึกษาคนไข้ที่กำลังฟื้นสภาพจากความบาดเจ็บในปอดแบบฉับพลันในห้องไอซียู คนไข้ที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเมื่อยังอยู่ใน รพ. มีอัตราความซึมเศร้าที่สูงขึ้น
โรคทางประสาท
แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP) ปี 2553 ของกรมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยสรุปโรคที่อาจเป็นในหมวดนี้ว่า โรคพาร์คินสัน, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, เนื้องอกในสมอง (meningioma), ความบาดเจ็บทางประสาท (trauma), ลูปัสขึ้นสมอง, โรคสมองเสื่อม, โรคลมชักส่วนสมองกลีบขมับที่อยู่ในระหว่างชัก (interictal phase), โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนหน้าและซีกซ้าย จะเกิดภายในสองปีหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง, โรคเนื้องอกสมองส่วนกลีบขมับและ diencephalon
เนื้องอกในระบบประสาทกลาง
นอกจากเนื้องอกที่ต่อมหมวกไตแล้ว เนื้องอกในส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาทกลางอาจเป็นเหตุอาการซึมเศร้า และเป็นเหตุให้ได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า
กลุ่มอาการหลังสมองถูกกระแทก
Post-concussion syndrome (กลุ่มอาการหลังสมองถูกกระแทก ตัวย่อ PCS), เป็นอาการที่อาจมีเป็นอาทิตย์ ๆ เดือน ๆ หรือปี ๆ หลังจากการกระแทกกระเทือน (concussion) โดยมีอัตราความชุกที่ 38-80% ในการบาดเจ็บทางสมองขั้นอ่อน แต่ก็อาจเกิดขึ้นด้วยในขั้นปานกลางและรุนแรง ถ้ามีอาการจากการถูกระแทกเกินกว่า 3-6 เดือน (ขึ้นอยู่กับเกณฑ์วินิจฉัย) หลังจากการบาดเจ็บ ก็จะผ่านเกณฑ์วินิจฉัยที่เรียกว่าเป็น persistent postconcussive syndrome (PPCS) ในงานศึกษาความชุกของกลุ่มอาการหลังสมองถูกกระแทกในคนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้าโดยใช้แบบวัด British Columbia Postconcussion Symptom Inventory พบว่า "คนไข้ประมาณ 9 ใน 10 คนที่เป็นโรคซึมเศร้าผ่านเกณฑ์วินิจฉัยที่รายงานเองแบบหลวม ๆ ว่ามีกลุ่มอาการหลังสมองถูกกระแทก และมากกว่า 5 ใน 10 คน ผ่านเกณฑ์แบบเข้ม" แต่ว่าอัตราที่รายงานเองเช่นนี้สูงกว่าที่ได้จากการสอบสวนทางคลินิกตามแผนอย่างสำคัญ กลุ่มควบคุมที่ปกติก็รายงานอาการของ PCS เช่นกัน เทียบกับกลุ่มที่สืบหาบริการทางจิต มีข้อขัดแย้งอย่างพอสมควรในการวินิจฉัย PCS โดยส่วนหนึ่งก็เพราะผลทางการแพทย์-ทางกฎหมาย และผลทางการเงินที่มาจากการได้วินิจฉัยเช่นนี้
Pseudobulbar affect
Pseudobulbar affect (PBA) เป็นกลุ่มอาการยับยั้งการแสดงอารมณ์ไม่ได้ ที่มักจะไม่รู้จักในสถานรักษาพยาบาลและดังนั้นบ่อยครั้งจะไม่ได้การรักษาเพราะไม่รู้อาการของโรค และอาจได้วินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า โดยอาจเกิดเป็นภาวะของโรคประสาทเสื่อมอย่างอื่น ๆ เช่น amyotrophic lateral sclerosis และอาจเกิดจากการบาดเจ็บทางสมองได้ด้วย PBA กำหนดโดยการหัวเราะและร้องไห้อย่างควบคุมไม่ได้และไม่สมควร โดยมีอัตราชุกที่สูงโดยประเมินว่ามีคนเป็น 1.5-2 ล้านคนในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมเรื้อรังที่ปลอกไมอีลินของเซลล์ในสมองและไขสันหลังเกิดความเสียหายอย่างฟื้นคืนไม่ได้ อาการซึมเศร้าเป็นเรื่องสามัญมากสำหรับคนไข้ที่มีโรคทุกระยะและอาจแย่ลงด้วยการรักษาโรค ที่เด่นที่สุดก็คือการรักษาด้วยอินเตอร์เฟียรอนแบบ beta-1a
พิษต่อประสาท
สารหลายประเภทมีหลักฐานว่า มีพิษต่อระบบประสาท และหลายอย่างอาจเป็นเหตุเกิดโรคซึมเศร้า
การสูบบุหรี่
มีงานวิจัยที่แสดงสหสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับความซึมเศร้า งานเร็ว ๆ นี้งานหนึ่งแสดงว่า การสูบบุหรี่อาจเป็นเหตุเกิดความซึมเศร้าโดยตรง และก็มีงานศึกษาหลายงานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่ กับความคิดและความพยายามฆ่าตัวตาย
ในงานศึกษานาง/บุรุษพยาบาล ผู้ที่สูบบุหรี่ระหว่าง 1-24 ม้วนต่อวันมีโอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงกว่าถึง 2 เท่า ถ้าสูบมากกว่า 25 ม้วน มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่า 4 เท่า เทียบกับผู้ที่ไม่ได้สูบ ในงานศึกษาทหารบกสหรัฐชายจำนวน 300,000 นาย มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการฆ่าตัวตายกับการสูบบุหรี่โดยผู้ที่สูบมากกว่า 1 ซองต่อวัน มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่า 2 เท่าเทียบกับผู้ที่ไม่สูบ
"อย่างไรก็ดี ดูไม่ชาญฉลาดที่จะปฏิเสธโอกาสว่า การสูบบุหรี่อาจเป็นปัจจัยล่วงหน้าอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับการเกิดขึ้นของโรคซึมเศร้า"
"การอดบุหรี่เป็นระยะเวลายาวอาจสัมพันธ์กับการลดอาการความซึมเศร้า"
"อย่างไรก็ดี แบบจำลองการเหนี่ยวนำความเครียดของการสูบบุหรี่แสดงว่า การสูบบุหรี่เป็นเหตุของความเครียดและผลลบที่เกิดด้วยกัน"ยา
ยาหลายอย่างสงสัยว่าเป็นเหตุเกิดความซึมเศร้า ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "organic mood syndrome" ยาบางกลุ่มดังเช่นที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง รู้กันมานานเป็นทศวรรษ ๆ แล้วว่า มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับการเกิดความซึมเศร้า
การดูแลสอดส่องผู้ที่ใช้ยาที่มีหลักฐานว่าสัมพันธ์กับความซึมเศร้าบ่อยครั้งเป็นเรื่องจำเป็น รวมทั้งการพิจารณาเรื่องนี้เมื่อวินิจฉัยโรคด้วย
- Tretinoin (Retin-A) ยาทาเฉพาะแห่ง ทำมาจากวิตามินเอ ใช้รักษาอาการหลายอย่าง เช่น เป็นยาทาสิว แต่แม้ว่าจะทาผิวข้างนอก แต่ก็อาจจะดูดซึมเข้าไปในเลือดแล้วข้ามส่วนกั้นเลือด-สมองเข้าไปได้ ในที่ที่มันอาจจะมีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxic)
- อินเตอร์เฟียรอน เป็นโปรตีนที่ผลิตในร่างกายมนุษย์ มี 3 อย่างที่ระบุแล้วคือแบบ แอลฟา บีตา และแกมมา มีแบบสังเคราะห์ที่ใช้เป็นยาเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เช่นการใช้อินเตอร์เฟียรอน-แอลฟาเพื่อรักษาโรคมะเร็ง และตับอักเสบซี และทุกแบบอาจเป็นเหตุความซึมเศร้าหรือความคิดพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย
- ยาคุมกำเนิด ชนิด steroidal, reserpine, α-methyldopa
- ยารักษาโรคจิตกลุ่ม phenothiazine, แทลเลียม, ปรอท, cycloserine, และ vincristine
- ยาแก้ความดัน และ corticosteroids ในผู้สูงอายุ
ภาวะที่กำลังถอน
การได้รับสาร Organophosphate บ่อย ๆ
การได้รับสาร organophosphate บ่อย ๆ (chronic exposure) อาจมีผลเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ การคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย ความพิการทางการรู้คิด และการอ่อนเปลี้ยเรื้อรัง organophosphate เป็นเอสเทอร์ต่าง ๆ ของกรดฟอสฟอริก สารเคมี-ชีวภาพที่สำคัญที่สุดหลายอย่างเป็น organophosphate รวมทั้ง ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ cofactor ที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต แต่ organophosphate ก็ยังเป็นส่วนของยาฆ่าแมลงและสารกำจัดวัชพืชด้วย องค์กรป้องกันสิ่งแวดล้อมสหรัฐกำหนด organophosphate ว่ามีพิษในระดับสูงต่อผึ้ง สัตว์ป่า และมนุษย์
โรคทางประสาท-จิตเวช
โรคอารมณ์สองขั้ว
- โรคอารมณ์สองขั้วบ่อยครั้งวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า และดังนั้นจะรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าอย่างเดียวซึ่งนอกจากไม่ได้ผลแล้ว บางครั้งยังเป็นข้อห้ามใช้อีกด้วยเพราะสามารถทำอาการเกือบฟุ้งพล่าน (hypomania) อาการฟุ้งพล่าน (mania) หรือการกลับขั้วไปมาของโรคให้แย่ลง
จนถึงบัดนี้ก็ยังถกเถียงกันว่า นี่ควรจะวินิจฉัยเป็นโรคอีกชนิดหนึ่งเหมือนในปัจจุบันหรือไม่ เพราะว่าบุคคลที่วินิจฉัยว่ามีโรคซึมเศร้าบ่อยครั้งประสบกับอาการเกือบฟุ้งพล่าน ซึ่งแสดงว่าโรคที่จัดเป็นสองอย่างอาจจะมีอาการสืบเนื่องกัน
การขาดสารอาหาร
สารอาหารมีบทบาทกุญแจสำคัญในการรักษาความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางกายใจ การขาดสารอาหารอาจมีผลอย่างลึกซึ้งต่อสุขภาพจิต ศาสตร์ใหม่ที่กำลังพัฒนาขึ้นคือ ประสาทวิทยาศาสตร์โภชนาการ (Nutritional Neuroscience) ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับการทำงานทางประสาทและสุขภาพจิต
- วิตามินบี6 หรือ pyridoxal phosphate (PLP) เป็น cofactor ของวิถีประสาทโดพามีนและเซโรโทนิน ดังนั้น การขาดวิตามินบี6อาจเป็นเหตุของความซึมเศร้า
- กรดโฟลิก (วิตามินบี9) และ วิตามินบี12 หรือ cobalamin - การมีวิตามินบี9 (ในเม็ดเลือดแดง) และวิตามินบี12 ในเลือดต่ำอาจพบได้ในคนไข้โรคซึมเศร้า
- "เราแนะนำให้ทานกรดโฟลิก (800 ไมโครกรัม/วัน) และวิตามินบี12 (1 มิลลิกรัม/วัน) เพื่อทดลองปรับผลการรักษาโรคซึมเศร้า"
- กรดไขมันแบบห่วงโซ่ยาว - การมีระดับกรดไขมันโอเมกา-6 สูงและระดับกรดไขมันโอเมกา-3 ต่ำสัมพันธ์กับอารมณ์ซึมเศร้าและความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม
แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP) ปี 2553 ของกรมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยสรุปโรคที่อาจเป็นในหมวดนี้ว่า การขาดกรดโฟลิก, วิตามินบี12, วิตามินบี1 (ไทอามีน), วิตามินบี6, nicotinamide (pellagra), โรคโลหิตจางชนิด pernicious
ความผิดปกติในการนอนหลับ
- การนอนไม่หลับบ่อยครั้งเป็นอาการของโรคซึมเศร้า แต่ในบางกรณีก็อาจเป็นตัวจุดชนวนการเกิดโรค อาจจะเป็นความผิดปกติแบบชั่วคราว แบบฉับพลัน หรือแบบเรื้อรัง อาจเป็นโรคหลักหรือโรคที่เกิดร่วม (co-morbid)
- กลุ่มอาการขาไม่อยู่นิ่ง (RLS) หรือเรียกชื่ออื่นว่า Wittmaack-Ekbom's syndrome มีอาการเป็นการอดขยับร่างกายเพื่อหยุดความรู้สึกที่ไม่สบายหรือแปลกไม่ได้ โดยมักจะมีผลต่อขา แต่ก็เกิดที่แขนหรือลำตัวได้เหมือนกัน หรือแม้กับแขนขาที่ถูกตัดออกไปแล้ว เป็นโรคที่สัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า (MDD)
- "อัตราส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ปรับแล้ว (Adjusted odds ratio) สำหรับการวินิจฉัย MDD แสดงความสัมพันธ์ที่มีกำลังระหว่าง RLS กับ MDD และ/หรือกับโรคตื่นตระหนก"
- อาการหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) เป็นความผิดปกติที่มีการหยุดหายใจชั่วคราวเมื่อกำลังหลับ การหยุดแต่ละครั้ง ซึ่งเรียกว่า การหยุดหายใจ (apnea) จะยาวพอเวลาที่จะหายใจ 1 ครั้งหรือมากกว่านั้น และเกิดซ้ำตลอดวงจรการนอนหลับ โรคที่ไม่ได้วินิจฉัยอาจเป็นเหตุหรือมีส่วนต่อความรุนแรงของความซึมเศร้า
- ความผิดปกติของการกำหนดการหลับและตื่น (Circadian rhythm sleep disorders) ซึ่งเป็นโรคที่มืออาชีพน้อยคนจะรู้จัก บ่อยครั้งไม่ได้รักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง เช่นวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคนอนไม่หลับหลัก หรือเป็นภาวะของโรคทางจิตเวช
มะเร็ง
แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP) ปี 2553 ของกรมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยสรุปโรคที่อาจเป็นในหมวดนี้ว่า มะเร็งตับอ่อน (pancreatic carcinoma), มะเร็งปอด (Lung carcinoma)
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
-
คณะทำงานจัดทำแนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (2010). "แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP)" (PDF). กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-26. สืบค้นเมื่อ 2016-11-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - Strategies for Reducing the Misdiagnosis of Bipolar Depression-Charles M. Bowden M.D. เก็บถาวร 2003-07-09 ที่ archive.today
- Late-Stage Neuropsychiatric Lyme Borelliosis Differential Diagnosis and Treatment เก็บถาวร 2016-07-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Toxoplasmosis Parasite May Trigger Schizophrenia And Bipolar Disorders