Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ธีโอโบรมีน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่ออื่น | xantheose diurobromine 3,7-dimethylxanthine |
ช่องทางการรับยา | ปาก |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
การเปลี่ยนแปลงยา | ดีเมทิลเลชันและออกซิเดชันในตับ |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 7.1±0.7 ชั่วโมง |
การขับออก | ไต (10% unchanged, rest as metabolites) |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
DrugBank |
|
ChemSpider |
|
UNII | |
KEGG |
|
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.001.359 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C7H8N4O2 |
มวลต่อโมล | 180.164 g/mol |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
(verify) | |
ธีโอโบรมีน (อังกฤษ: theobromine) เดิมเรียก แซนทีโอส (xantheose) เป็นสารแอลคาลอยด์ประเภทแซนทีน มีสูตรเคมีคือ C7H8N4O2 พบในผลโกโก้ (Theobroma cacao), ช็อกโกแลต, ใบชา, ผลโคล่า, มาเต, ผลกวารานา (Paullinia cupana) และกาแฟอาราบิกา (Coffea arabica) ชื่อ "ธีโอโบรมีน" ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธาตุโบรมีน แต่มาจากชื่อสกุลของโกโก้คือ Theobroma
ธีโอโบรมีนมีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาวหรือไม่มีสี แต่ในทางพาณิชย์อาจมีสีเหลือง รสขม ละลายน้ำได้บ้าง ค้นพบครั้งแรกในเมล็ดโกโก้โดยอเล็กซานเดอร์ วอสเครเซนสกีในปี ค.ศ. 1841แฮร์มันน์ อีมีล ฟิสเชอร์สังเคราะห์ธีโอโบรมีนจากแซนทีนได้ในปี ค.ศ. 1882
ธีโอโบรมีนส่งผลต่อร่างกายคล้ายกาเฟอีน แต่ให้ผลน้อยกว่า ในทางการแพทย์ใช้เป็นสารขยายหลอดเลือด สารขับปัสสาวะและสารกระตุ้นหัวใจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ ตัวยับยั้งเอนไซม์ฟอสฟอไดเอสเทอเรสและตัวยับยั้งตัวรับอะดีโนซีนอย่างอ่อน ในอดีตเคยใช้รักษาโรคทางระบบไหลเวียนโลหิตอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดแดงแข็งและอาการปวดเค้นหัวใจ นอกจากการรับประทาน ร่างกายได้รับธีโอโบรมีนจากการสังเคราะห์กาเฟอีนในตับ
ธีโอโบรมีนมีค่า LD50 สำหรับมนุษย์ (ทางปาก) ประมาณ 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมและเป็นพิษต่อสุนัขเช่นกัน โดยมีค่า LD50 ทางปากคือ 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงและปัสสาวะบ่อย ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชัก เลือดออกภายใน หัวใจล้มและอาจเสียชีวิต
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ธีโอโบรมีน
- MSDS for Theobromine - ScienceLab เก็บถาวร 2016-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Chocolate: Food Hazards: Merck Veterinary Manual
ซัลโฟนาไมด์ (และกรดอีทาไครนิก) |
|
||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
โพแทสเซียมสแปริง (ที่ CD) |
|
||||||||
ออสโมติก (ที่ PT, DL) | |||||||||
ยับยั้งตัวรับวาโสเพรสซิน (ที่ DCT และ CD) |
|||||||||
อื่นๆ | |||||||||
ทางเดินอาหาร/ เมแทบอลิซึม (A) |
กรดกระเพาะ (ยาลดกรด, สารต้านตัวรับ H2 , ยายับยั้งการหลั่งกรด) • ยาแก้อาเจียน • ยาระบาย • ยาแก้ท้องร่วง • ยาลดความอ้วน • ยาต้านเบาหวาน • วิตามิน • เกลือแร่
|
---|---|
เลือดและอวัยวะ สร้างเลือด (B) |
|
ระบบหัวใจ และหลอดเลือด (C) |
ยารักษาโรคหัวใจ/ยาแก้อาการปวดเค้นหัวใจ (คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ , ยาต้านภาวะหัวใจเสียจังหวะ , ยากระตุ้นหัวใจ) • ยาลดความดัน • ยาขับปัสสาวะ • สารขยายหลอดเลือด • เบต้า บล็อกเกอร์ • แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ • ระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน (เอซีอีอินฮิบิเตอร์ , แองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล๊อคเกอร์ , เรนินอินฮิบิเตอร์) • ยาลดไขมันในเส้นเลือด (สแตติน , ไฟเบรต , ไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์) |
ผิวหนัง (D) | |
ระบบสืบพันธุ์ (G) | |
ระบบต่อมไร้ท่อ (H) | |
การติดเชื้อและ การติดเชื้อปรสิต (J, P, QI) |
|
มะเร็ง (L01-L02) | |
โรคทางระบบ ภูมิคุ้มกัน (L03-L04) |
|
กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ (M) | |
สมองและระบบประสาท (N) | |
ระบบทางเดินหายใจ (R) | |
อวัยวะรับความรู้สึก (S) | |
อื่น ๆ (V) |