Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

กล่องเสียงอักเสบ

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ระวังสับสนกับ คอหอยอักเสบ
กล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis)
Laryngitis gastrica.jpg
ภาพส่องกล้องของกล่องเสียงอักเสบเหตุกรดไหลย้อน
การออกเสียง
สาขาวิชา แพทย์หู คอ จมูก
อาการ เสียงแหบ เป็นไข้ เจ็บที่คอ/บริเวณกล่องเสียง
ระยะดำเนินโรค ปกติน้อยกว่าสองอาทิตย์
สาเหตุ การบาดเจ็บ โรคติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
วิธีวินิจฉัย ตามอาการ หรือส่องกล้องตรวจถ้าน่าเป็นห่วง
โรคอื่นที่คล้ายกัน ฝากล่องเสียงอักเสบ มะเร็งกล่องเสียง กล่องเสียงและท่อลมอักเสบ
การรักษา พักเสียง ทานน้ำ
ความชุก เป็นเรื่องสามัญ

กล่องเสียงอักเสบ (อังกฤษ: Laryngitis) เป็นการอักเสบที่กล่องเสียง อาการบ่อยครั้งรวมเสียงแหบ และอาจมีไข้ ไอ เจ็บคอด้านหน้า และกลืนลำบาก โดยปกติจะเป็นไม่เกิน 2 อาทิตย์

อาการจัดว่าเฉียบพลัน (acute) ถ้าเป็นน้อยกว่า 3 อาทิตย์และเรื้อรัง (chronic) เมื่อเป็นมากกว่า 3 อาทิตย์ แบบฉับพลันปกติเป็นส่วนของการติดเชื้อทางลมหายใจส่วนบนเนื่องกับไวรัส เหตุอื่นรวมทั้งการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น ไวรัสและเชื้อรา และการบาดเจ็บ เช่นที่เกิดจากการไอเป็นต้น อาการเรื้อรังอาจเกิดจากการสูบบุหรี่ วัณโรค ภูมิแพ้ กรดไหลย้อน ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคซาร์คอยด์ กลไกที่เป็นเหตุก็คือความระคายเคืองที่สายเสียง

อาการน่าเป็นห่วงต่าง ๆ ที่ต้องตรวจเพิ่มรวมทั้งหายใจเข้าเสียงฮื๊ด มีประวัติฉายรังสีที่คอ มีปัญหาการกลืน เป็นนานกว่า 3 อาทิตย์ และมีประวัติสูบบุหรี่ ถ้ามีอาการน่าเป็นห่วง สายเสียงควรจะตรวจโดยส่องกล้อง (laryngoscopy) ภาวะอื่น ๆ ที่ก่ออาการเดียวกันรวมทั้งฝากล่องเสียงอักเสบ กล่องเสียงและท่อลมอักเสบ การสูดเอาสิ่งแปลกปลอมเข้า และมะเร็งกล่องเสียง

อาการแบบฉับพลันปกติจะหายเองโดยไม่ต้องรักษา และการพักเสียงประกอบกับทานน้ำให้เพียงพออาจช่วยยาปฏิชีวนะทั่วไปจะไม่ช่วยรักษาอาการรูปแบบนี้ แม้อาการแบบฉับพลันจะสามัญแต่แบบเรื้อรังก็ไม่ปกติ แบบเรื้อรังเกิดขึ้นในวัยกลางคนมากกว่าโดยจะสามัญในชายมากกว่าหญิง

อาการ

อาการหลักของกล่องเสียงอักเสบก็คือเสียงแหบ เพราะภาวะนี้มีหลายสาเหตุ อาการอื่น ๆ ก็อาจต่างกันโดยขึ้นอยู่กับเหตุ ซึ่งรวมทั้ง

ลักษณะเสียง

นอกจากเสียงแหบ ความดังค่อยและความแหลมทุ้มของเสียงก็อาจเปลี่ยนไปด้วย คนไข้อาจพูดเสียงต่ำเสียงสูงกว่าปกติ ขึ้นอยู่กับว่าสายเสียงบวมหรือแข็ง เสียงพูดอาจจะฟังเหมือนลมแทรก เพราะอากาศสามารถวิ่งผ่านช่องระหว่างสายเสียง เสียงอาจค่อยลง และมีพิสัยทุ้มแหลมลดลง

เหตุ

(บน) กล่องเสียงปกติ (ล่าง) กล่องเสียงอักเสบ

กล่องเสียงอักเสบอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือเหตุอื่น ๆ การอักเสบของสายเสียงที่เป็นผลทำให้เสียงเปลี่ยนไป ซึ่งปกติจะเกิดตอบสนองต่อการติดเชื้อ การบาดเจ็บ หรือการแพ้ กล่องเสียงอักเสบเรื้อรังอาจมีเหตุจากปัญหาที่หนักกว่าอื่น ๆ เช่น ความเสียหายทางประสาท แผลเปื่อย ติ่งเนื้อเมือก หรือปุ่มหนาและแข็ง (nodule) ที่สายเสียง

แบบฉับพลัน

ติดเชื้อไวรัส

แบบฉับพลันโดยมากจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่สามัญสุดก็คือ rhinovirus, ไวรัสไข้หวัดใหญ่, parainfluenza virus (HPIV), adenovirus, โคโรนาไวรัส, และ respiratory syncytial virus (RSV) ส่วนคนไข้ที่ภูมิคุ้มกันเสียหาย ไวรัสอื่น ๆ เช่น เริม, เอชไอวี และ coxsackievirus ก็อาจเป็นเหตุด้วยเหมือนกัน

ติดเชื้อแบคทีเรีย

นี่เป็นเหตุหลักอีกอย่างหนึ่งของกล่องเสียงอักเสบฉับพลัน ซึ่งอาจเกิดคู่กับหรือมีเหตุจากการติดเชื้อไวรัสอีกอย่างหนึ่งเชื้อแบคทีเรียที่สามัญรวมทั้ง streptococcus กลุ่ม A, Streptococcus pneumoniae (เหตุของปอดบวม), Corynebacterium diphtheriae (เหตุของโรคคอตีบ), Moraxella catarrhalis, Haemophilus influenzae, Bordetella pertussis (เหตุของโรคไอกรน), Bacillus anthracis (เหตุอย่างหนึ่งของแอนแทรกซ์), และ Mycobacterium tuberculosis (เหตุของวัณโรค) ในประเทศกำลังพัฒนา อาจมีแบคทีเรียที่เป็นเหตุอื่น ๆ เช่น mycobacterium และเชื้อซิฟิลิส แต่ก็เกิดในประเทศพัฒนาแล้วเหมือนกัน

ติดเชื้อรา

ตามงานทบทวนวรรณกรรมของวารสารแพทย์ เดอะ บีเอ็มเจ กล่องเสียงอักเสบเพราะติดเชื้อราก็สามัญแต่วินิจฉัยไม่ค่อยถูกต้อง และอาจเป็นเหตุถึง 10% ของกล่องเสียงอักเสบแบบฉับพลัน คนไข้ทั้งที่มีภูมิคุ้มกันปกติและเสียหายสามารถมีกล่องเสียงอักเสบเหตุเชื้อราได้ ซึ่งอาจเป็นผลของการได้ยาปฏิชีวนะหรือการสูดยา corticosteroids เมื่อเร็ว ๆ นี้ เชื้อราที่อาจเป็นเหตุรวมทั้ง Histoplasma, Blastomyces, Candida (โดยเฉพาะผู้ที่ภูมิคุ้มกันเสียหาย), Cryptococcus และ Coccidioides

บาดเจ็บ

บ่อยครั้ง การบาดเจ็บอาจเกิดเพราะใช้สายเสียงทำงานมากเกินไปเช่น ตะโกน กรีดร้อง หรือร้องเพลง ซึ่งทำให้เยื่อชั้นนอกของสายเสียงเสียหาย และเมื่อหาย ลักษณะทางสรีรภาพของสายเสียงอาจจะเปลี่ยนไป เหตุการอักเสบอีกอย่างก็คือพูดเป็นเวลานานเกิน (เช่นในผู้มีอาชีพเป็นครู พนักงานขาย นักแสดง นักข่าวโทรทัศน์หรือวิทยุ) การบาดเจ็บรวมสิ่งที่หมอทำ (เช่น การสอดท่อลมเข้าในทางลมหายใจ) ก็อาจทำให้สายเสียงอักเสบได้

แบบเรื้อรัง

ภูมิแพ้

ไม่ชัดเจนว่า โรคหืดอาจเป็นเหตุของอาการกล่องเสียงอักเสบได้หรือไม่ นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า กล่องเสียงอักเสบเหตุภูมิแพ้บ่อยครั้งวินิจฉัยว่า เป็นผลของกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน

คำอธิบายที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งของกล่องเสียงอักเสบเรื้อรังก็คือ การอักเสบที่มีเหตุจากการไหลย้อนของสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารขึ้นมาในหลอดอาหาร ซึ่งสร้างความระคายเคืองแก่สายเสียง แต่เหตุนี้ก็วินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากอาการเช่นนี้ เป็นอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง

ภาวะภูมิต้านตนเอง

คนไข้ข้ออักเสบรูมาตอยด์ประมาณ 30-75% จะรายงานอาการกล่องเสียงอักเสบ

ส่วนคนไข้โรคซาร์คอยด์เพียงแค่ 0.5-5% เท่านั้นมีอาการนี้ ตามงานวิเคราะห์อภิมานปี 2007 เพราะโรคนี้เป็นเหตุไม่สามัญแก่อาการต่าง ๆ ในกล่องเสียง บ่อยครั้งจึงวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคเสียงอื่น ๆ

การวินิจฉัย

  • กล่องเสียงอักเสบฉับพลัน (acute laryngitis)
  • กล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง (chronic laryngitis)
  • กล่องเสียงอักเสบแบบแกลนูโลมา (granulomatous laryngitis)
  • Pseudomyxomatous laryngitis

สภาพที่มองเห็น

เมื่อมีภาวะนี้ กล่องเสียงเองบ่อยครั้งก็จะแดง (erythema) และบวม (edema) ซึ่งสามารถดูได้ด้วยกล้องส่องดูกล่องเสียง (laryngoscopy) หรือสตรอโบสโคป ขึ้นอยู่กับการอักเสบแบบต่าง ๆ ลักษณะอื่น ๆ อาจรวม

  • เนื้อเยื่อกล้องเสียงแดง (แบบฉับพลัน)
  • หลอดเลือดขยาย (แบบฉับพลัน)
  • เนื้อเยื่อหนาแต่แห้ง (แบบเรื้อรัง)
  • สายเสียงแข็ง
  • การหลั่งเมือกเหนียวระหว่างสายเสียงบวกกับโครงสร้างใกล้ ๆ กัน (interarytenoid region)

การส่งต่อหาแพทย์เฉพาะทาง

อาการบางอย่างอาจจะต้องส่งไปหาแพทย์เฉพาะทางโดยเร็ว รวมทั้ง

  • กลืนลำบาก
  • หายใจเป็นเสียงฮื๊ด (stridor)
  • เจ็บหู
  • น้ำหนักลดเร็ว ๆ นี้
  • ประวัติการสูบบุหรี่
  • การฉายรังสีในปัจจุบันหรือเร็ว ๆ นี้ที่บริเวณคอ
  • การผ่าตัดที่คอหรือที่ใช้ท่อหลอดลม
  • เป็นผู้มีอาชีพใช้เสียง เช่น ครู นักร้อง นักแสดง พนักงานศูนย์บริการทางโทรศัพท์ เป็นต้น

การรักษา

การรักษาบ่อยครั้งเป็นการบรรเทาอาการ และขึ้นอยู่กับความรุนแรงและรูปแบบของกล่องเสียงอักเสบ เช่น แบบฉับพลันหรือเรื้อรัง

วิธีบรรเทาอาการทั่วไปรวมทั้งเปลี่ยนพฤติกรรม ดื่มน้ำ และอยู่ในอากาศชื้น การระวังใช้เสียงเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งรวมทั้ง

ส่วนข้อระวังการใช้เสียงที่ผู้บำบัดปัญหาทางการพูด-ภาษาอาจแนะนำก็คือ

  • จำกัดระยะการใช้เสียงและรูปแบบของเสียงที่ใช้
  • ลดพฤติกรรมที่ทำสายเสียงให้เสียหาย
  • เพิ่มความชุ่มชื้น
  • เปลี่ยนพฤติกรรม (เช่น จำกัดกาแฟและตามรักษาโรคที่เป็น)

แบบฉับพลัน

โดยทั่วไป กล่องเสียงอักเสบฉับพลันจะรักษาด้วยการระวังใช้เสียง ยาแก้ปวด การรักษาความชุ่มชื้น และยาปฏิชีวนะ

เหตุติดเชื้อไวรัส

วิธีรักษาที่แนะนำสำหรับกล่องเสียงอักเสบเหตุติดเชื้อไวรัสก็คือให้พักเสียง ยาแก้ปวด และยาละลายเมือก (mucolytics) เมื่อไอบ่อย วิธีรักษาแบบชาวบ้านเช่น น้ำชาและน้ำผึ้ง ก็อาจช่วย ยาปฏิชีวนะไม่ควรใช้รักษาอาการแบบนี้

เหตุติดเชื้อแบคทีเรีย

แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวิตนะสำหรับภาวะแบบติดเชื้อ โดยเฉพาะถ้ามีอาการติดเชื้อในทางเดินอาหารส่วนบนอย่างชัดเจน ถึงกระนั้น นักวิชาการก็ไม่มีความเห็นร่วมกันว่า ควรใช้ยาชนิดนี้หรือไม่ เพราะประเด็นทางประสิทธิผล ผลข้างเคียง ค่าใช้จ่าย และโอกาสดื้อยา โดยทั่วไปแล้ว ยาปฏิชีวนะดูจะไม่มีประสิทธิผลที่ดีในการรักษากล่องเสียงอักเสบแบบฉับพลัน

ในกล่องเสียงอักเสบที่รุนแรง เช่น ฝากล่องเสียงอักเสบ มีโอกาสสูงกว่าที่ทางเดินหายใจจะถูกขัดขวาง ดังนั้น อาจต้องส่งตัวไปหาแพทย์เฉพาะทางทันทีเพื่อแก้ปัญหาในทางเดินลมหายใจ การรักษาอาจรวมการทำให้ชื้น, corticosteroid, ยาปฏิชีวนะที่ให้ทางเส้นเลือด, และเอพิเนฟรีนแบบพ่น

เหตุติดเชื้อรา

กล่องเสียงอักเสบเหตุติดเชื้อราสามารถรักษาด้วยยาเม็ดหรือยาน้ำต้านเชื้อรา ซึ่งปกติต้องทานถึง 3 อาทิตย์และอาจจะต้องรักษาซ้ำ ๆ ถ้ากลับเป็นอีก

เหตุการบาดเจ็บ

กล่องเสียงอักเสบเหตุใช้เสียงเกินหรือใช้อย่างไม่ควร สามารถรักษาด้วยการระวังใช้เสียง

แบบเรื้อรัง

เหตุกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนขึ้นกล่องเสียงและคอหอยโดยหลักจะรักษาด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมและทานยา การเปลี่ยนพฤติกรรมอาจรวม

  • ใส่เสื้อผ้าที่ไม่คับ
  • ทานอาหารมื้อละน้อย ๆ แต่หลายมื้อ
  • เลี่ยงอาหารบางประเภท (เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารเผ็ด)

ยาต้านการไหลย้อนอาจให้แก่คนไข้ที่มีกล่องเสียงอักเสบหรือเสียงแหบเรื้อรัง แต่ถ้ารักษาด้วยยาแล้วไม่ทำให้อาการดีขึ้น ก็ควรพิจารณาเหตุอื่น ๆ

ยาที่ซื้อเองได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ เช่นยาลดกรดและสารต้านตัวรับเอช2ก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน ยาลดกรดมักมีฤทธิ์สั้นและอาจไม่พอเพื่อรักษายายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) เป็นยาที่ได้ผลดี แต่ควรใช้เป็นระยะเพียงที่กำหนดไว้ หลังจากนั้นควรตรวจดูอาการอีกที PPI อาจไม่ทำให้ดีขึ้น ยาที่สร้างตัวช่วยกั้นกรดซึ่งลอยกีดขวางการย้อนไหลของกรด (เช่น ยาลดกรดยี่ห้อกาวิสคอน) อาจได้ผลดีกว่าสำหรับบางคน ยาต้านการหลั่งกรดอาจมีผลข้างเคียงหลายอย่าง สำหรับบางคน การผ่าตัดอาจมีผลดี

เหตุภูมิแพ้

เมื่อรักษาอาการแบบภูมิแพ้ ยาเฉพาะที่เช่น สเตอรอยด์ที่พ่นเข้าจมูก และการบำบัดภูมิคุ้มกัน พบว่ามีผลดีต่อเยื่อจมูกอักเสบเหตุภูมิแพ้ (allergic rhinitis)สารต้านฮิสตามีนก็อาจช่วย แต่ก็อาจทำกล่องเสียงให้แห้งด้วย และสเตอรอยด์แบบสูดที่ใช้เป็นระยะเวลายาวอาจทำให้มีปัญหากล่องเสียงและเสียง

เหตุภาวะภูมิต้านตนเอง

โรค Mucous membrane pemphigoid ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเองที่ก่อแผลเป็นในที่ต่าง ๆ สามารรักษาได้ด้วยยา cyclophosphamide และเพรดนิโซโลน

เหตุแกลนูโลมา

โรคซาร์คอยด์ สามารถรักษาได้ด้วย corticosteroid แบบฉีด ส่วนวิธีการรักษาที่ใช้น้อยรวมทั้งฉีดที่แผลหรือผ่าตัดด้วยเลเซอร์

พยากรณ์โรค

แบบฉับพลัน

กล่องเสียงฉับพลันปกติจะหายเองภายในสองอาทิตย์ แต่ก็สามารถคงอยู่ได้เหมือนกัน คนไข้มีโอกาสหายเร็วสูงถ้าทำตามแผนการรักษา ในแบบที่ติดเชื้อไวรัส อาการสามารถคงยืนชั่วระยะหนึ่ง แม้หลังจากการอักเสบของทางเดินลมหายใจส่วนบนได้หายไปแล้ว

แบบเรื้อรัง

อาการที่เป็นนานกว่า 3 อาทิตย์จัดว่าเป็นแบบเรื้อรัง ซึ่งอาจต้องส่งให้แพทย์เฉพาะทางตรวจ เช่น ตรวจโดยกล้องส่อง พยากรณ์โรคแบบเรื้อรังจะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับเหตุ

เชิงอรรถ

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение